Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26593
Title: การพัฒนาแบบสอบชุมความถนัดจำแนก ด้านความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย
Other Titles: Development of a that language reading comprehension test of the differential aptitude test battery
Authors: สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล
Advisors: สวัสดิ์ ประทุมราช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบสอบชุดความถนัดจำแนกด้านความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย เพื่อใช้ในการแนะแนวการศึกษาและแนะแนวอาชีพแก่นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา พร้อมทั้งหาปรกติวิสัยเปอร์เซ็นต์ไตล์ของแบบชุดความถนัดจำแนกด้านความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชายหญิงในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนสังกัดกองการมัธยมศึกษาประจำปีการศึกษา 2520 ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1,410 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1,083 คน ในการพัฒนาแบบสอบได้ดำเนินการโดยการสร้างแบบสอบถามซึ่งเป็นแบบสอบที่ประกอบด้วยบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ในแต่ละบทความมีคำถามประมาณ 6 ถึง 9 ข้อ แล้วนำแบบสอบไปทดลองสอบเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องและปรับปรุงแบบสอบ จากนั้นได้นำแบบสอบที่ปรับปรุงและคัดเลือกข้อที่เหมาะสมแล้ว จำนวน 40 ข้อ ใช้เวลาในการสอบ 40 นาที ไปสอบนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อพร้อมตัวเลือก เพื่อหาระดับความยากและอำนาจจำแนกในแต่ละข้อของแบบสอบ หาความเที่ยงของแบบสอบโดยใช้สูตรของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน สูตรที่ 20 และสูตรที่ 21 หาความตรงของแบบสอบถามโดยหาความตรงร่วมสมัยด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันโปรดัก โมเมนต์ ผลการวิจัย 1.ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปรากฏว่าข้อสอบมีระดับความยาก .205 ถึง .733 อำนาจจำแนก .140 ถึง .628 2.ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปรากฏว่าข้อสอบมีระดับความยาก .233 ถึง .765 อำนาจจำแนก .155 ถึง .628 3.ค่าความเที่ยงของแบบสอบที่คำนวณโดยสูตรคูเดอร์ ริชาร์ดสัน สูตรที่ 20 และสูตรที่ 21 ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็น .783 และ 762 ตามลำดับ ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการวัดเท่ากับ ± 2.897 และ ± 3.035 ตามลำดับ 4.ค่าความเที่ยงของแบบสอบที่คำนวณโดยสูตรคูเดอร์ ริชาร์ดสัน สูตรที่ 20 และสูตรที่ 21 ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็น .774 และ 752 ตามลำดับ ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการวัดเท่ากับ ± 2.901 และ ± 3.040 ตามลำดับ 5. ค่าความตรงร่วมสมัยของแบบสอบ โดยใช้คะแนนในหมวดวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นเกณฑ์ต่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความตรงร่วมสมัยสูงที่สุดสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เมื่อใช้ภาษาอังกฤษและภาษาไทยเป็นเกณฑ์ตามลำดับ 6.ปรกติวิสัยสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 คะแนนมีพิสัยจาก 0 ถึง 35 ปรกติวิสัยสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 คะแนนมีพิสัยจาก 4 ถึง 36
Other Abstract: The purposes of this research were to develop a Thai Language Reading Comprehension Test from the Differential Aptitude Test Battery for educational and vocational guidance to the Thai students in the Mattayomsuksa level and to establish the percentile norms for boys and girls in Mattayomsuksa III and Mattayomsuksa V. The samples composed of 1,410 students in Mattayomsuksa III students and 1,083 students in Mattayomsuksa V from the secondary schools in the year 1977. The passages selected from the test concerning scientific and social studies issues. Each article consisted of 6 to 9 test items. The whole test composed of 40 items. The time allowed for the test was 40 minutes. The difficulty levels and the power of discrimination of each item were calculated. Kuder Richardson Formula 20 and 21 were used to determine the reliability of the test. The validities of the test were also calculated. The results of the studies were as follows: 1.For Mattayomsuksa III, the difficulty levels were between .205 and .733. The power of discrimination were between .140 and .628 2.For Mattayomsuksa V, the difficulty levels were between .233 and .765. The power of discrimination were between .155 and .628. 3.The coefficient of reliability of the test, calculated by Kuder Richardson Formula 20 and 21 for Mattayomsuksa III were .783 and .762, respectively. 4.The coefficient of reliability of the test, calculated by Kuder Richardson Formula 20 and 21 for Mattayomsuksa V were .774 and .752, respectively. The standard error of measurement were ± 2.901 and ± 3.004, respectively. 5.The concurrent validity of the tests, using English Language, Thai Language, Social Student, Mathematics and Science as criteria, are all significant at .01 level. The concurrent validity of the test with English Language as criteria got maximum value for Mattayomsuksa III. The concurrent validity of the test with Thai Language as criterion got maximum value for Mattayomsuksa V. 6.Percentile norms range from 0 to 35 for Mattayomsuksa III and from 4 to 36 for Mattayomsuksa V.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26593
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supim_Sr_front.pdf478.84 kBAdobe PDFView/Open
Supim_Sr_ch1.pdf518.76 kBAdobe PDFView/Open
Supim_Sr_ch2.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Supim_Sr_ch3.pdf566.56 kBAdobe PDFView/Open
Supim_Sr_ch4.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Supim_Sr_ch5.pdf343 kBAdobe PDFView/Open
Supim_Sr_back.pdf673.33 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.