Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26689
Title: | ชาวมอญในประเทศไทย : วิเคราะห์ฐานะและบทบาทในสังคมไทย ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น |
Other Titles: | The mons in Thailand : an analysis of their status and role in Thai society form the mid Ayudhya to the early Ratanakosin period |
Authors: | สุภรณ์ โอเจริญ |
Advisors: | วไล ณ. ป้อมเพชร บุษกร กาญจนจารี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2519 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาเรื่องราวของชาวมอญในประเทศไทยในด้านต่างๆ ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง เมื่อเริ่มมีหลักฐานว่ามีชาวมอญอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกจนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นฐานะและสภาพความเป็นอยู่ของชาวมอญในประเทศไทย ตลอดจนบทบาทและความสำคัญของชาวมอญในสังคมไทย รวมทั้งการปรับตัวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย วิทยานิพนธ์นี้แบ่งออกเป็น 5 บท โดยมีบทนำและบทสรุปต่างหาก บทนำกล่าวถึงความสำคัญของเรื่อง วัตถุประสงค์และขอบเขตของการวิจัย วิธีดำเนินการค้นคว้าและวิจัย ปัญหาหรืออุปสรรคในการค้นคว้าและวิจัย และประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัย บทที่ 1 ได้วิเคราะห์คำที่ใช้เรียกชาวมอญ ซึ่งมีทั้ง มอญ รามัญ และตะเลง และกล่าวโดยย่อถึงเรื่องราวของชาวมอญในพม่าตอนล่าง ก่อนที่จะอพยพเข้าสู่ประเทศไทย ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรมอญกับประเทศไทยในสมัยต่างๆ ตลอดจนความสำคัญของหัวเมืองมอญที่มีต่อไทยและพม่า บทที่ 2 กล่าวถึงการอพยพของชาวมอญเข้าสู่ประเทศไทย ตั้งแต่เริ่มมีหลักฐานเป็นครั้งแรกในสมัยอยุธยาตอนกลางจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เท่าที่มีการบันทึกเป็นหลักฐานในประวัติศาสตร์ ในบทนี้ได้วิเคราะห์ถึงภูมิหลังในการอพยพ สาเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ชาวมอญพากันอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งในประเทศไทย ลักษณะของการอพยพตลอดจนรายละเอียดในการอพยพแต่ละครั้ง พร้อมทั้งวิเคราะห์นโยบายของรัฐบาลไทย ทั้งในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ต้อนต้นที่มีต่อชาวมอญอพยพ บทที่ 3 กล่าวถึงสภาพความเป็นอยู่ของชาวมอญในประเทศไทยและความสัมพันธ์กับคนไทย วิเคราะห์ฐานะของชาวมอญในสังคมไทย หน้าที่และการรับราชการในกรมกองต่างๆ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตลอดจนเรื่องราวของชาวมอญในหัวเมืองชายแดนไทยที่ต่อกับพม่า ซึ่งเรียกรวมกันว่า “รามัญ 7 เมือง” บทที่ 4 เป็นการวิเคราะห์บทบาทและความสำคัญของชาวมอญในประเทศไทย ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง บทที่ 5 กล่าวถึงการปรับตัวของชาวมอญเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย วิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้มีการปรับตัว โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสุ่มตัวอย่าง ในหมู่บ้านมอญ 3 ตำบล คือ ตำบลทรงคะนอง ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ตำบลคลองควาย ในอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี และตำบลบ้านม่วง ในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มาเป็นตัวอย่างประกอบการวิเคราะห์ พร้อมทั้งได้ประเมินผลการปรับตัวในหมู่บ้านมอญทั้ง 3 แห่งนั้นด้วย |
Other Abstract: | The purpose of this thesis is to make a detailed and analytical study of the Mons in Thailand from the Mid-Ayudhya period when there is first evidence of their migrations into Thailand, down to the reign of King Rama V of the Ratanakosin period. This research will explore their status and ways of living, their significant role in Thai society as well as their assimilation into Thai society. This thesis is divided into 5 chapters, excluding the introduction and the conclusion. The introduction states the significance of the topic, the purpose, the scope and the research method as well as the problems and the benefit gained from the study. The first chapter analyses the terms used to signify the Mons, which include Mon, Raman and Talaing, gives a brief account of the Mons in Lower Burma prior to their migrations into Thailand, describes the relations between the kingdoms of Mon and Thailand, and discusses the significance of the Mon State both to Thailand and Burma. The second chapter deals with different Mon migrations, from the Mid-Ayudhya up to the Early Ratanakosin period according to available historical records. This chapter analyses the background and the details of these migration as well as the policy of the Thai government toward the Mon immigrants. The third chapter surveys the Mon community in Thailand and its relationship with Thai people. This chapter also analyses the legal and social status of the Mons in Thai society. The fourth chapter discusses the significant role of the Mons in Thailand in social, economic and political aspects. The fifth chapter deals with their assimilation into Thai society. The analysis of the factors leading to their assimilation is based on random sampling in 3 Mon villages: Tambon Songkanong, Amphur Prapradang, Samutprakarn Province; Tambon Klongkwai, Amphur Sam Kok, Pathumthani Province and Tambon Ben Muang, Amphur Ban Pong, Ratchburi Province. The analysis is followed by the evaluation of the degrees of their assimilation in each village. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประวัติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26689 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suporn_Oc_front.pdf | 883.86 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suporn_Oc_ch1.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suporn_Oc_ch2.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suporn_Oc_ch3.pdf | 2.64 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suporn_Oc_ch4.pdf | 3.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suporn_Oc_ch5.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suporn_Oc_back.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.