Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26758
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อุทัย ทุติยะโพธิ | - |
dc.contributor.advisor | ชลทิชา สุทธินิรันดร์กุล | - |
dc.contributor.author | สุปริญา รู้ตระกูล | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-28T11:34:07Z | - |
dc.date.available | 2012-11-28T11:34:07Z | - |
dc.date.issued | 2527 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26758 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รายงานประจำปีของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2518-2523 ในด้านรูปแบบ วิธีการ และเนื่อหา เพื่อให้ทราบถึงการนำรายงานประจำปีของห้องสมุดมาใช้ประโยชน์ตามที่บรรณารักษ์เคยปฎิบัติมา ตลอดจนปัญหาในการจัดทำ เพื่อเสนอรูปแบบ วิธีการ และเนื้อหาที่เหมาะสมของรายงานประจำปีสำหรับเป็นแนวทางให้บรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจัดทำหรือปรับปรุงรายงานประจำปีของห้องสมุด วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย การวิเคราะห์รายงานประจำปีจำนวน 39 ฉบับที่รวบรวมมาจากห้องสมุดมหาวิทยาลัย 8 แห่ง โดยวิเคราะห์ในด้านรูปแบบ วิธีการ และเนื้อหาตามแบบวิเคราะห์ที่ได้สร้างขึ้นและมีความตรงซึ่งได้ตัดสินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และการส่งแบบสอบถามจำนวน 65 ชุด ไปยังหัวหน้าบรรณารักษ์ 8 คน อดีตหัวหน้าบรรณารักษ์ 3 คน บรรณารักษ์หัวหน้าแผนก 6 คน ผู้รับผิดชอบและผู้ร่วมจัดทำรายงาน 48 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 63 ชุด ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านรูปแบบ รายงานประจำปีของห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ (30 ฉบับ 6 แห่ง ) นำเสนอเป็นรายงานของห้องสมุดโดยเฉพาะ รายงานประจำปีทั้ง 39 ฉบับมีชื่อรายงาน แต่มีการเข้าเล่มหรือเย็บเล่มและมีปกเพียง 17 ฉบับจาก 5 แห่ง ภาพประกอบส่วนใหญ่ ( 21 ฉบับจาก 5 แห่ง ) เป็นตารางตัวเลขสถิติ 2. ด้านวิธีการจัดทำ สรุปได้ดังนี้ 2.1 ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทุกแห่งได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดทำรายงานประจำปีไว้เหมือนกัน 1 ข้อ คือ เพื่อเป็นบันทึกข้อเท็จจริงของการดำเนินงานห้องสมุด และส่วนใหญ่ ( 6 แห่ง ) จัดทำเป็นรายงานทางการบริหารงานซึ่งจะรายงานผลงานตามปีงบประมาณ ( 7 แห่ง ) 2.2 ผู้รับผิดชอบในการจัดทำรายงานประจำปีของห้องสมุดแต่ละแห่งจะมีเพียง 1 คนในแต่ละปี ส่วนใหญ่จะเป็นบรรณารักษ์หัวหน้าแผนก ( 8 คน ) ผู้รับผิดชอบและผู้ร่วมจัดทำรายงานมีการเตรียมตัวโดยส่วนใหญ่ศึกษารายงานในปีก่อน ๆ ของห้องสมุด 42 คน คำนึงถึงความถูกต้องของข้อมูลและสถิติ 41 คน และส่วนใหญ่พบปัญหาในด้านข้อมูลที่ได้รับจากแผนกต่าง ๆ ไม่ครบถ้วน (40 คน ) ผู้รับผิดชอบในการจัดทำรายงานประจำปี มีขั้นตอนการทำรายงานที่เหมือนกันทุกแห่งเพียง 4 ขั้นตอน คือ กำหนดโครงร่างของรายงาน แจ้งให้ทุกแผนกงานทราบรายลุเอียดและกำหนดเวลาที่จะต้องส่งข้อมูลและสถิติ รวบรวมข้อมูลและสถิติให้ได้ครบตามโครงร่าง และเรียบเรียงข้อมูลและสถิติต่าง ๆ ลงในรายงาน 2.3 รายงานประจำปีของห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ( 4 แห่ง ) จัดพิมพ์โดยวิธีอัดโรเนียว มีเพียงแห่งเดียวที่พิมพ์ และห้องสมุด 2 แห่งจาก 8 แห่งเผยแพร่รายงานประจำปีโดยพิมพ์รวมไว้ในรายงานประจำปีของมหาวิทยาลัยหรือสถาบัน และห้องสมุด 1 แห่ง จำนวน 1 ฉบับ เผยแพร่รายงานประจำปีโดยลงพิมพ์ในวารสารที่ออกโดยห้องสมุด ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ( 7 แห่ง ) เผยแพร่รายงานแก่ผู้บริหารมหาวิทยาลัย มีเพียง 3 แห่งเท่านั้นที่เผยแพร่แก่ผู้ใช้ห้องสมุดด้วย 3. ด้านเนื้อหาของรายงานประจำปีของห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ( 21 ฉบับจาก 6 แห่ง ) เสนอเนื้อหาภาคบรรยายและสถิติรวมกัน หัวข้อเนื้อหาภาคบรรยายที่พบมากที่สุด ( 17 ฉบับ ) คือ บทนำ ในหัวข้อสรุปผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ที่สำคัญในรอบปีมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับงานบริการมากที่สุด ( 14 ฉบับ ) ส่วนเนื้อหาภาคสถิติมีในรายงานประจำปีทุกฉบับ หัวข้อเนื้อหาภาคสถิติที่พบมากที่สุด ( 25 ฉบับจาก 6 แห่ง ) คือ สถิติโดยละเอียดของงานห้องสมุด 4. หัวหน้าบรรณารักษ์ อดีตหัวหน้าบรรณารักษ์ บรรณารักษ์หัวหน้าแผนก ผู้รับผิดชอบและผู้ร่วมจัดทำรายงานส่วนใหญ่จำนวน 61 คน เห็นความจำเป็นในการทำรายงานประจำปีเพราะมีประโยชน์ในการรายงานความก้าวหน้าของการปฎิบัติงานและเป็นหลักฐานในการประเมินผลงาน และได้นำรายงานประจำปีไปใช้ประโยชน์ในการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงงานมากที่สุด ( 58 คน ) และเห็นว่ารายงานประจำปีของห้องสมุดมหาวิทยาลัยไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่เพราะไม่มีการเผยแพร่ ( 59 คน ) นอกจากนี้หัวหน้าบรรณารักษ์ของห้องสมุด 7 แห่งได้นำข้อมูลจากรายงานประจำปีมาใช้เป็นเครื่องสนับสนุนการเสนอของบประมาณซึ่งได้รับการสนันสุน 6 แห่ง ข้อเสนอแนะ 1. หัวหน้าบรรณารักษ์ ควรกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดทำรายงานประจำปีไว้เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานและประชาสัมพันธ์ห้องสมุด 2. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยควรจัดทำรายงานประจำปีทั้งที่เป็นรายงานทางการบริหารงานและรายงานแก่ผู้ใช้ห้องสมุด 3. ในการจัดทำรายงานประจำปี ควรมีบรรณารักษ์หัวหน้าแผนกที่มีหน้าที่ประชาสัมพันธ์ห้องสมุดเป็นผู้รับผิดชอบ 4. ผู้รับผิดชอบในการจัดทำรายงานควรกำหนดขั้นตอนต่าง ๆ ไว้ให้ ครบถ้วนและควรศึกษาวิธีการจัดทำรายงานจากหนังสือและบทความต่าง ๆ ตลอดจนหลักการเขียนรายงานประจำปี 5. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยควรตั้งงบประมาณส่วนหนึ่งไว้สำหรับการจัดพิพ์รายงานประจำปีที่โรงพิมพ์ เพื่อเผยแพร่แก่บุคคลทั่วไป โดยนำเสนอเป็นรายงานของห้องสมุดโดยเฉพาะ มีการเย็บเล่ม และมีภาพประกอบทั้งที่เป็นแผนผัง แผนภูมิ ตาราง และภาพถ่าย 6. เนื้อหาของรายงานประจำปีควรมีทั้งภาคบรรยายและสถิติประกอบ | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research were : To study and analyse annual reports of university libraries in Thailand issued during 2518-2523 B.E. (1975-1980) with focus on forms, methods and contents; To find how librarians sued their annual reports including problems in preparing annual reports, To form guidelines in preparing and adapting annual reports. The procedures of the research were : 1. Collecting 39 annual reports from 8 university libraries in order to analyse particularly their forms, methods and contents according to the analytical tables formed. 2. Sending 65 questionnaires to 8 chief librarians, 3 former chief librarians, 6 departmental librarians and 48 persons preparing annual reports which 63 completed questionnaires were returned ( 96.92% ) The results could be concluded as the followings: 1. Form : Most of university library annual reports always presented especially as library reports. There were 17 annual reports from 5 universities having titles and cover binding. Most of illustrations were statistical tables. 2. Method : 2.1 All university libraries had defined their objectives for preparing annual reports. The one which is the same is to record the facts of library operations. Annual reports of 6 universities were administrative reports. Seven university libraries reported their activities during the budgetary year (October-September ). 2.2 Each university library had only one compiler for each year. Most of them ( 8 persons ) were departmental librarians. Most compilers and the assistant compilers prepared annual reports by study the previous annual reports ( 42 persons ) and realized the correctness of facts and statistical data ( 41 persons ). Most of them ( 40 persons ) had problems of receiving incomplete data from various library departments. In addition, all compilers prepared their annual reports with four similar procedures: defining outline of the annual report; informing descriptively to all departments and fixing time to receive facts and data; gathering thoroughly needed facts and data; then, compiling and editing all facts and data. 2.3 Four university libraries published their annual reports by mimeograph. Only one library published annual reports by printer. Two from eight libraries publicized their annual reports as partial of university reports. Only one annual report publicized in the journal issued by the library. Seven libraries distributed their annual reports to university administrators and only three libraries publicized to library users too. 3. Contents: Most of annual reports (21 volumes from 6 libraries) presented descriptive contents assembled with statistics. Most of discovered descriptive contents were introductions (17 volumes). As for the summation of the important outcome of library operations, the most founded were library services. All annual reports had statistical contents. Most of them were statistics in detail (25 volumes from 6 libraries ). 4. Chief librarians, former chief librarians, departmental librarians and other compilers (61 persons) realized the necessity of compiling annual reports because of their utilization of reporting library progress, and evaluating library work. Most of them (58 persons) used annual reports for improving library operations. Also, most of them (59 persons) believed that annual reports had rarely been used in public because university libraries did not widely distributed their annual reports. Moreover, seven chief librarians used facts and data from annual reports for demanding more budget and six of them were approved. Recommendations are as follows: 1. Chief librarians should define the purpose of compiling annual reports for administrative utilization and library public relations. 2. University libraries should compile both administrative annual report and public information report. 3. Compilers should be departmental librarians who take care of library public relations. 4. Compilers should define completely all procedures and should study various methods and principles to prepare the annual report from books and articles. 5. University libraries should provide particular budget for publishing annual report by printers for public and presented especially as library report with cover binding and having various illustrations consisting of flowcharts, tables and photographs. 6. Contents of annual report should consist of descriptive text and statistics. | - |
dc.format.extent | 552392 bytes | - |
dc.format.extent | 462834 bytes | - |
dc.format.extent | 1758207 bytes | - |
dc.format.extent | 541966 bytes | - |
dc.format.extent | 1202442 bytes | - |
dc.format.extent | 964954 bytes | - |
dc.format.extent | 730981 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การวิเคราะห์รายงานประจำปีห้องสมุดมหาวิทยาลัย ในประเทศไทย | en |
dc.title.alternative | An analysis of annual reports of university libraries in Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supariya_Ru_front.pdf | 539.45 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supariya_Ru_ch1.pdf | 451.99 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supariya_Ru_ch2.pdf | 1.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supariya_Ru_ch3.pdf | 529.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supariya_Ru_ch4.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supariya_Ru_ch5.pdf | 942.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supariya_Ru_back.pdf | 713.85 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.