Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26988
Title: การสร้างแบบฝึกหัดทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง "ตัวสะกดมาตราแม่กด" สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Other Titles: Construction of a Thai exercise on "Mae Kod Ending Sound" for prathom suksa four
Authors: สมศรี เพ็ชรยิ้ม
Advisors: กิติยวดี บุญซื่อ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความมุ่งหมาย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบฝึกหัดวิชาภาษาไทยเรื่อง “ตัวสะกดมาตราแม่กด” สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และหาประสิทธิภาพของแบบฝึกหัดตามเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 90/90 วิธีดำเนินการวิจัย 1. สร้างแบบฝึกหัดทักษะภาษาไทยเรื่อง “ตัวสะกดมาตราแม่กด” สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2. สร้างแบบสอบจำนวน 50 ข้อ เพื่อใช้ทดสอบก่อนและหลังทำแบบฝึกหัด แบบสอบสัมประสิทธิ์แห่งความเที่ยง .83 3.นำแบบฝึกหัดไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม โดยทดลองทำตามลำดับขั้นดังนี้ 3.1 ขั้นกลุ่มเล็ก ทดลองกับนักเรียนจำนวน 35 คน 3.2 วิเคราะห์แบบฝึกหัดแล้วปรับปรุงแก้ไข 3.3 ขั้นกลุ่มใหญ่ทดลองกับนักเรียนจำนวน 100 คน ผลการวิจัย แบบฝึกหัดทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง “ตัวสะกดมาตราแม่กด” มีประสิทธิภาพ 92.73/84.00 หมายถึงนักเรียนสามารถทำแบบฝึกหัดได้ถูกต้องโดยเฉลี่ยร้อยละ 92.73 และสามารถทำข้อสอบหลังจากทำแบบฝึกหัดได้ถูกต้องโดยเฉลี่ยร้อยละ 84.00 แบบฝึกหัดนี้มีประสิทธิภาพต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แต่คะแนนเฉลี่ยของคะแนนทดสอบหลังทำแบบฝึกหัดมากกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนทำแบบฝึกหัดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 แสดงว่านักเรียนทำแบบฝึกหัดนี้แล้วมีความรู้เพิ่มขึ้น
Other Abstract: Purpose The purpose of this research was to construct a set of exercises for the studying of Thai on the “Mae Kod Ending Sound” for Prathom Suksa Four and to evaluate the Effectiveness of this set of Exercises based on the 90/90 standard. Procedure 1. A Thai Exercise on “Mae Kod Ending Sound” for Prathom Suksa four was constructed. 2. Fifty items each were constructed as a pre-test and a post-test. The reliability was .83 3. The set of Thai Exercise was pilot tested with Prathom Suksa Four students of Demonstration School of chulalongkorn University, in the following sequence of three steps: 3.1 Small – group testing for which the sample was thirty – five students. 3.2 Item analysis and revision of exercise set was carried out. 3.3 Large – group testing for which the sample was one hundred students. Results. The effectiveness of the Thai Exercise was determined, in comparison with 90/90 standard, to be 92.73/84.00. This means that the students average score on answering the questions in the Thai Exercise was 92.73 percent, and the average score on the post-test was 84.00 percent. However, the average score of the post – test, at the significance level of .01. This shows that the set of Exercise designed in this study has significantly improved the knowledge of the students.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26988
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsri_Pe_front.pdf397.35 kBAdobe PDFView/Open
Somsri_Pe_ch1.pdf470.09 kBAdobe PDFView/Open
Somsri_Pe_ch2.pdf806.42 kBAdobe PDFView/Open
Somsri_Pe_ch3.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_Pe_ch4.pdf303.34 kBAdobe PDFView/Open
Somsri_Pe_ch5.pdf373.39 kBAdobe PDFView/Open
Somsri_Pe_back.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.