Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27029
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุมน มาลาสิทธิ์ | |
dc.contributor.author | สุณี วุฒิเวคินสกุล | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-29T11:35:57Z | |
dc.date.available | 2012-11-29T11:35:57Z | |
dc.date.issued | 2526 | |
dc.identifier.isbn | 9745621382 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27029 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 | en |
dc.description.abstract | การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภคที่มุ่งให้บริการแก่สังคมด้านการขนส่ง แต่ในขณะเดียวกันก็ควรจะมีกำไรจากการดำเนินงาน เพื่อขยายขอบเขตการให้บริการ ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการของการรถไฟฯ เพิ่มขึ้นทุกปี ปีละประมาณ 8% โดยเฉลี่ย แต่จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในระยะ 3-4 ปีนี้ปรากฏว่ามีอัตราการเพิ่มของรายได้น้อยกว่ารายจ่ายมาก จึงต้องประสบกับสภาวะการขาดทุนตลอดเวลา ทำให้มีข้อที่น่าศึกษาว่าการจัดการด้านการขนส่งผู้โดยสารเป็นสาเหตุหนึ่งของการขาดทุนด้วยหรือไม่ ในการศึกษาเรื่องการจัดการด้านการขนส่งผู้โดยสารของการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้มุ่งศึกษาถึงการจัดการในด้านการให้บริการด้านการขนส่งผู้โดยสารของการรถไฟฯ โดยการออกแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้บริการเพื่อให้ทราบถึงคุณภาพของบริการ ศึกษาถึงปัญหาและการดำเนินงานในหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการขนส่งผู้โดยสาร โดยการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ระดับบริหาร เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอุปสรรคและข้อขัดข้องต่าง ๆที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน จากการศึกษา พบว่าการจัดการในด้านการให้บริการขนส่งผู้โดยสารเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การรถไฟฯ ประสบภาวะขาดทุน กล่าวคือ ประชาชนผู้ใช้บริการด้านการโดยสารของการรถไฟฯ ส่วนใหญ่ยังไม่พอใจต่อบริการที่การรถไฟฯ บริการให้ เช่น บริการด้านรถเสบียงยังไม่ดีพอ อุปกรณ์เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ บนรถไฟชำรุด รถไฟเดินไม่ตรงตามกำหนดเวลา พนักงานรถไฟบางคนมารยาทไม่ดี เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริการของการรถไฟฯ ยังมีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีผู้ใช้บริการน้อยกว่าที่ควรจะเป็น อันเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงขีดความสามารถในการจัดการของฝ่ายบริหาร โดยเฉพาะหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ ฝ่ายการพาณิชย์ ฝ่ายการเดินรถ และการฝ่ายการช่างกล และเมื่อได้ศึกษาถึงปัญหาในการดำเนินงานของทั้ง 3 ฝ่ายดังกล่าว พบว่าเหตุที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานด้านการขนส่งผู้โดยสารของการรถไฟฯ ได้แก่การขาดระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร การขาดอุปกรณ์ในการดำเนินงาน การขาดแคลนเงินงบประมาณ พนักงานยังปฏิบัติงานไม่เต็มที่ ทั้งยังมีอิทธิพลทางการเมืองเข้ามาแทรกแซง จนไม่อาจจะดำเนินการในด้านต่าง ๆได้อย่างคล่องตัวเท่าที่ควร โดยเฉพาะการปรับเพิ่มอัตราค่าโดยสารเพื่อที่จะให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น สิ่งที่การรถไฟฯ ควรจะรีบดำเนินการแก้ไขคือ จะต้องเพิ่มการพัฒนาฝึกฝนอบรมผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้ความสามารถยิ่งขึ้น ปรับปรุงเกี่ยวกับระบบการให้ค่าตอบแทนที่จะช่วยสนับสนุนให้พนักงานเกิดการแข่งขันกันทำงานตามความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ การบรรจุหรือแต่งตั้งควรคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้าทำงานให้มากขึ้น การดำเนินงานบางอย่างไม่เกี่ยวข้องกับการเดินรถโดยตรง เช่น กิจการโรงแรม รถเสบียง การทำความสะอาด การผลิตและการซ่อมอุปกรณ์บางประเภท เป็นต้น ควรให้เอกชนที่ชำนาญงานเข้ามารับช่วงการดำเนินการแทนให้มากขึ้นเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายทางด้านบุคคล ทั้งยังจะช่วยให้การรถไฟฯ สามารถควบคุมการทำงานสะดวกขึ้น และมีคุณภาพอยู่ในระดับที่ต้องการได้ นอกจากนี้ทางรัฐบาลควรจะให้การรถไฟฯ มีความคล่องตัวในการกำหนดอัตราค่าโดยสารมากกว่าที่เป็นอยู่และควรจะจัดสรรเงินงบประมาณให้การรถไฟฯ ไว้ใช้จ่ายในการดำเนินงานส่วนที่เป็นการจัดบริการเพื่อสังคม เพื่อการรถไฟฯ จะได้มีโอกาสนำกำไรจากการจัดบริการทางด้านการค้าไปขยายการลงทุนหรือปรับปรุงคุณภาพบริการให้ดีขึ้น | |
dc.description.abstractalternative | The state Railway of Thailand is one of the state enterprises with the objective of providing public with transportation services. In order to insure the improvement of such services, the state Railway of Thailand should be able to generate profits for future expansion. It is known that the number of passenger has increased on an average of 8% per annum. However for the past 3-4 years, total expenses has been increased much more than total income which resulted in a consecutive losses. Since then the question, has arises whether the loss incure is due to management of passenger transportation problems. Hence, this study has been designed to concentrate in the passenger transportation services. Therefore, the interview with various executives in the State Railway of Thailand has been conducted, in order to find out about problems and various obstacles within the organization, with regard to the major function areas pertaining to the passenger transportation services. From these finding, it could be concluded that management of passenger transportation services is one of the area of such loss because passengers are not satisfied with the services, such as poorly services of bogie restaurant car, inadequate facilities, frequent delay, impoliteness and improper services, which are factors causing the passengers to change their demand to other way of transportation. These answers relax the level of efficiency of the management especially those concerned with marketing, traffic and mechanical engineering departments. A further probe into the mention department revealed factors of inefficiency, such as, lack of information for effective decision, lack of proper budgeting, poor contribution from employees and political interference. These factors hinders flexibility and especially when the fare has to be raised, to earn enough profit to cover additional expenses. It is recommended here, for the State Railway of Thailand, to train its employees to a higher standard, improve the incentive system that may exploit the full capacity of its employees. Employment and personal promotion should be executed with more justification. To reduce cost and improvement of productivity, services which are not directly in line with transportation, such as hotels, bogie restaurant car, cleaning and maintenance should be subcontracting to private sector. Furthermore, the government should authorized the State Railway of Thailand to fix its own fare and should be allocate budgets compensates for social services. So that the state Railway of Thailand may earn enough profit for further investment and improvement of its services. | |
dc.format.extent | 493932 bytes | |
dc.format.extent | 523770 bytes | |
dc.format.extent | 838653 bytes | |
dc.format.extent | 1193658 bytes | |
dc.format.extent | 930646 bytes | |
dc.format.extent | 408063 bytes | |
dc.format.extent | 322117 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การจัดการด้านการขนส่งผู้โดยสาร ของการรถไฟแห่งประเทศไทย | en |
dc.title.alternative | Management of passenger transportation of the State Railway of Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sunee_Vo_front.pdf | 482.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunee_Vo_ch1.pdf | 511.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunee_Vo_ch2.pdf | 819 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunee_Vo_ch3.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunee_Vo_ch4.pdf | 908.83 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunee_Vo_ch5.pdf | 398.5 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunee_Vo_back.pdf | 314.57 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.