Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27046
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวชิราพร อัจฉริยโกศล
dc.contributor.authorสุรศักดิ์ ลิขิตตระกูลรุ่ง
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-29T21:24:16Z
dc.date.available2012-11-29T21:24:16Z
dc.date.issued2529
dc.identifier.isbn9745665231
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27046
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเสนอภาพและแบบการคิดที่มีต่อการเรียนรู้กฎของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 180 คน จากโรงเรียนแม่ริมวิทยาคม และโรงเรียนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2528 ซึ่งได้จำแนกนักเรียนตามลักษณะของแบบการคิด คือแบบฟอลด์ดีเพนเดนซ์ ฟิลด์ อินดีเพนเดนซ์ และแบบกลางระหว่างฟิลด์ ดีเพนเดนซ์กับฟิลด์ อินดีเพนเดนซ์ ด้วยแบบทดสอบ เดอะ กรุ๊ป เอมเบดเดด ฟิกเกอร์ เทสต์ (Withkin, Oltman, Raskin and Karp 1971) สุ่มนักเรียนทั้ง 3 กลุ่มโดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น กลุ่มละ 60 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม ออกเป็นกลุ่มละ 2 กลุ่มย่อย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เพื่อเข้ารับการทดลองตามรูปแบบการเสนอภาพ 2 รูปแบบ คือการเสนอภาพแบบเดี่ยว และแบบพร้อมกัน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นภาพสไลด์ชุด 15 ชุด สำหรับการเสนอกฎ 15 กฎ ภาพสไลด์แต่ละชุดมี 4 ภาพ แต่ละภาพฉายให้ปรากฏบนจอเป็นเวลา 7 วินาที ส่วนเครื่องมือที่ใช้วัดการเรียนรู้กฎเป็นแบบทดสอบปรนัยแบบ 4 ตัวเลือก ให้เวลาในการทำแบบทดสอบข้อละ 30 วินาที แบบทดสอบนี้ใช้ควบคู่กับการฉายสไลด์เพื่อเสนอกฎแต่ละกฎ นำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 2 ทางและเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเซฟเฟ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่มีแบบการคิดต่างกัน (แบบฟิลด์ ดีเพนเดนซ์ ฟิลด์ อินดีเพนเดซ์ และแบบกลางระหว่างฟิลด์ ดีเพนเดนซ์กับฟิลด์ อินดีเพนเดนซ์)เมื่อเรียนด้วยภาพที่เสนอแบบเดี่ยวและแบบพร้อมกัน เรียนรู้กฎได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. นักเรียนที่เรียนโดยการเสนอภาพแบบเดี่ยว และแบบพร้อมกัน เรียนกฎได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนที่มีแบบการคิดต่างกัน เรียนรู้กฎได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. นักเรียนที่มีลักษณะการคิดแบบฟิลด์ ดีเพนเดนซ์ ที่เรียนโดยการเสนอภาพทั้งแบบเดี่ยวและแบบพร้อมกัน เรียนรู้กฎได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5. นักเรียนที่มีลักษณะการคิดแบบกลางระหว่างฟิลด์ ดีเพนเดนซ์กับฟิลด์ อินดีเพนเดนซ์ ที่เรียนโดยการเสนอภาพแบบพร้อมกันเรียนรู้กฎได้ดีกว่าที่เรียนโดยการเสนอภาพแบบเดี่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. นักเรียนที่มีลักษณะการคิดแบบฟิลด์ อินดีเพนเดนซ์ ที่เรียนโดยการเสนอภาพแบบพร้อมกัน เรียนรู้กฎได้ดีกว่าที่เรียนโดยการเสนอภาพแบบเดี่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 7. ในการเรียนเรียนรู้กฎโดยการเสนอภาพแบบพร้อมกัน นักเรียนที่มีลักษณะการคิดแบบฟิลด์ อินดีเพนเดนซ์ เรียนรู้กฎได้ดีกว่านักเรียนที่มีลักษณะการคิดแบบฟิลด์ ดีเพนเดนซ์และแบบกลางระหว่างฟิลด์ ดีเพนเดนซ์กับฟิลด์ อินดีเพนเดนซ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to examine an interaction of visual presentation formats and cognitive styles on the rule learning of Mathayom Suksa three students. The subjects were one hundred and eighty Mathayom Suksa three students of Maerimwitayakom school and Sunkumpang school, Chiengmai Province. The cognitive styles of the subjects were determined by the Group Embedded Figures Test and labeled as field-dependence, field-independence and the middle between field-dependence and field-independence. Sixty subjects were randomly selected for each cognitive styles group. The subjects in each group, then, were randomly divided into two sub-groups for two treatments of presentation formats : sequential-image and simultaneous-image. The material used in this study was fifteen sets of slides carrying fifteen rules. Each set composed of four pictures. The presentation time for each set of pictures was 28 seconds. The subjects were allowed to have 30 seconds to check the correct rule on the answer sheets provided. The data were analyzed by Two-Way Analysis of Variance. The pairwise differences were tested by Scheffe Method. The results of the study were as followings : 1. There was no significant interaction between visual presentation formats and cognitive styles on rule learning. 2. There was significant differences between sequential-image presentation and simulataneous-image presentation on rule learning at the .01 level of confidence. 3. There was significant differences among field-dependence, field-independence and the middle between field-dependence and field-independence on rule learning at the .01 level of confidence. 4. There was no significant differences between sequential-image presentation and simultaneous-image presentation on rule learning of the field dependent subjects. 5. The simultaneous-image presentation was found to be superior to sequential-image presentation on rule learning of the subjects whose cognitive style were in between field-dependence and field-independence at the .05 level of confidence. 6. The simultaneous-image presentation was found to be superior to sequential-image presentation on rule learning of the field-independent subjects at the .01 level of confidence. 7. By using simultaneous-image presentation, the field-independent subjects performed the rule task significantly higher than the field-dependent and the middle group subjects at the .01 level of confidence.
dc.format.extent441883 bytes
dc.format.extent400668 bytes
dc.format.extent1235489 bytes
dc.format.extent424993 bytes
dc.format.extent371898 bytes
dc.format.extent569008 bytes
dc.format.extent443394 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเสนอภาพและแบบการคิด ที่มีต่อการเรียนรู้กฎของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3en
dc.title.alternativen interaction of visual presentation formats and cognitive styles on rule learning of mathayom suksa three studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surasak_Li_front.pdf431.53 kBAdobe PDFView/Open
Surasak_Li_ch1.pdf391.28 kBAdobe PDFView/Open
Surasak_Li_ch2.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Surasak_Li_ch3.pdf415.03 kBAdobe PDFView/Open
Surasak_Li_ch4.pdf363.18 kBAdobe PDFView/Open
Surasak_Li_ch5.pdf555.67 kBAdobe PDFView/Open
Surasak_Li_back.pdf433 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.