Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27183
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจีน แบรี
dc.contributor.authorศศิกานต์ ธนะโสธร
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-30T06:19:25Z
dc.date.available2012-11-30T06:19:25Z
dc.date.issued2529
dc.identifier.isbn9745665886
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27183
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าห้องต่อความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีสมมติฐานว่า 1) นักเรียนชายที่ได้รับเลือกและปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าห้องเป็นเวลาประมาณ 1 ภาคการศึกษา จะมีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่านักเรียนชายที่ไม่ได้รับเลือกและปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าห้อง 2) นักเรียนหญิงที่ได้รับเลือกและปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าห้องเป็นเวลาประมาณ 1 ภาคการศึกษา จะมีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่านักเรียนหญิงที่ไม่ได้รับเลือกและปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าห้อง 3) นักเรียนชายและหญิงที่ได้รับเลือกและปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าห้อง จะมีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ชายล้วนและหญิงล้วนในเขตกรุงเทพมหานครรวม 28 ห้องเรียน จาก 5 สถาบัน กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 56 คน โดยใช้คะแนนการเลือกจากเพื่อนเป็นเกณฑ์และต้องไม่เคยเป็นหัวหน้าห้องมาก่อน แบ่งเป็นเพศชาย 28 คน เพศหญิง 28 คน จัดนักเรียนชาย 14 คน หญิง 14 คน ที่ได้คะแนนการเลือกสูงสุดเข้ากลุ่มทดลอง และจัดนักเรียนชาย 14 คน หญิง 14 คน ที่ได้คะแนนการเลือกรองลงมาเป็นลำดับแรกจากกลุ่มการทดลองของแต่ละห้องเข้ากลุ่มควบคุม ให้ประชากรทุกคนตอบแบบวัดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของคูเปอร์สมิธ ฉบับใช้กับเด็กนักเรียน (Coopersmith Self-Esteem Inventory – School Form) ทั้งก่อนการทดลองและหลังการทดลอง การทดลองใช้เวลานานประมาณ 1 ภาคการศึกษา โดยให้กลุ่มทดลองเข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าห้องส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าที (t-test) ทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยในการทดสอบก่อนการทดลองและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นในการทดลองหลังการทดลองของกลุ่มทดลองเพศชายและกลุ่มทดลองเพศหญิง ผลการวิจัยปรากฏว่าทั้งเพศชายและหญิงที่ได้รับเลือกและปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าห้อง มีคะแนนความรู้สึก เห็นคุณค่าในตนเองไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากผู้ที่ไม่ได้รับเลือกและปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าห้อง และกลุ่มทดลองเพศชายและหญิงมีคะแนนความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the effect of being a classroom leader on self-esteem of Mathayom Suksa one students. The hypothesis tested were that 1) the boys who were chosen and on duty as classroom leaders for about one semester would have higher self-esteem than the boys who were not 2) the girls who were chosen and on duty as classroom leaders for about one semester would have higher self-esteem than the girls who were not 3) there would be no significant difference in the increase of self-esteem of both boys and girls who were chosen. The population included Mathayom Suksa one students in a total of 28 classrooms from two special large schools for boys and three for girls in Bangkok Metropolis. The sample included a total of 56 subjects, 28 boys and 28 girls, who had never been classroom leaders before, and who were chosen on the basis of votes casted by their peers. The 14 boys and 14 girls who received the highest rating were assigned to the experimental group and the 14 boys and 14 girls who received the next highest ratings were assigned to a control group. All the students in the population were administered the Coopersmith Self-Esteem Inventory (SEI, School Form) before and after the experiment. During the experiment for about one semester the experimental group assumed their duties as classroom leaders; score differences on the SEI before and after the experiment for boys and girls and between boys and girls were tested by the t-test. The results showed that both boys and girls who had been chosen and on duty as classroom leaders did not have a significant higher self-esteem than those who had not been chosen. There was no significant difference between the increase of self-esteem of the boys and girls of the experimental group.
dc.format.extent2513038 bytes
dc.format.extent11398868 bytes
dc.format.extent1968876 bytes
dc.format.extent1712234 bytes
dc.format.extent2503585 bytes
dc.format.extent1082583 bytes
dc.format.extent5624516 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleผลของการมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าห้องต่อความรู้สึกเห็นคุณค่าในเตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1en
dc.title.alternativeThe effect of being a classroom leader on self-esteem of mathayom suksa one studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineจิตวิทยา
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasikarn_th_front.pdf2.45 MBAdobe PDFView/Open
Sasikarn_th_ch1.pdf11.13 MBAdobe PDFView/Open
Sasikarn_th_ch2.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
Sasikarn_th_ch3.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Sasikarn_th_ch4.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open
Sasikarn_th_ch5.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Sasikarn_th_back.pdf5.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.