Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27307
Title: นวัตกรรมการใช้โคฮีชั่นในภาษาเอชทีเอ็มแอลสำหรับเว็บไซต์ในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า
Other Titles: The use of cohesion as an innovative approach to enhance web-based html for electric energy saving
Authors: วิภารัตน์ พิศภูมิวิถี
Advisors: พีระพนธ์ โสพัศสถิตย์
อัจฉรา จันทร์ฉาย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Peraphon.S@chula.ac.th
chandrachai@yahoo.com
Subjects: เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
นวัตกรรมทางเทคโนโลยี
การพัฒนาเว็บไซต์ -- การอนุรักษ์พลังงาน
เอชทีเอ็มแอล
การประสานกัน -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ -- แง่สิ่งแวดล้อม
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยชิ้น คือการลดพลังงานไฟฟ้าจากการประมวลผลหน้าเว็บไซต์ในแต่ละครั้ง โดยนำหลักการของโคฮีชั่น เข้ามาช่วยในการพัฒนาโปรแกรมซึ่งจะเน้นไปในการพัฒนาการจัดเรียงภาษาเอชทีเอ็มแอล ให้ถูกต้องตาม มาตรฐานของ W3C เพื่อช่วยลดอัตราการประมวลผลของเว็บไซต์ ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้เป็นต้นแบบในการจัดเรียงภาษาเอชทีเอ็มแอล ให้ถูกต้องโดยหลักการของ โคฮีชั่น จะเข้ามาช่วยในเรื่องของการออกแบบระบบให้มีความสัมพันธ์กันของโมดูลที่เกี่ยวข้องกันเฉพาะหน้าที่การทำงานของโมดูลนั้น โดยให้ความสำคัญกับหลักการและโครงสร้างของภาษา เอชทีเอ็มแอล และลดการสร้างสไตล์ชีส ลงในบรรทัดของภาษาเอชทีเอ็มแอลในภาษาเอชทีเอ็มแอล จากผลการวิจัยแนะว่า “การพัฒนาภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเรียงได้อย่างถูกต้องตามวจีวิภาคของภาษาเอชทีเอ็มแอล จะมีผลต่อการใช้พลังงานในการประมวลผลแต่ละครั้ง และพลังงานที่เกิดขึ้นนั้นจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของการประมวลผล” หากนำอัตราการเข้าใช้งานของเว็บไซต์มาคิดเป็นอัตราการค่าไฟฟ้าที่เสียไปโดยเฉลี่ยในหนึ่งวันจากการเข้าใช้งานเว็บไซต์ที่นิยมสิบอันดับแรก มีอัตราค่าไฟฟ้าที่เสียไปต่อวันโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1,972.35 บาทต่อวัน ต่อสิบเว็บไซต์ ซึ่งส่วนนี้อาจมองว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่มาก หากนำอัตราค่าไฟฟ้าของแต่ละเว็บไซต์โดยเฉลี่ยมาคิดรวมกัน จะทำให้เห็นถึงอัตราค่าไฟฟ้าที่จะต้องเสียไป ซึ่งเป็นอัตราค่าไฟฟ้าที่ประเทศจะต้องสูญเสียไป ดังนั้นแนวคิดหลักของงานวิจัยจึงได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการลดการใช้พลังงานจากการประมวลผลเว็บไซต์โดยใช้หลักการจัดเรียงภาษาเอชทีเอ็มแอลให้ถูกต้อง ซึ่งช่วยให้อัตราค่าไฟฟ้าที่เกิดจากการใช้งานเว็บไซต์ลดลงถึง 747.98 บาท หรือคิดเป็น 62% ของค่าไฟฟ้าที่ใช้งาน ซึ่งวิธีนี้สามารถช่วยลดอัตราการใช้ไฟฟ้าจากเดิมลงได้
Other Abstract: The objective of this research is to minimize the electricity consumed by individual web site using cohesion technique. The underlying principle lies in rearrangement of web-based HTML code in compliance with W3C and cohesion principles. As such, this research exemplifies good programming discipline in system design which yields considerable energy saving. The result suggests a simple approach for energy consumption environmental green computing system that depends on how efficient one manages the supporting processing environment. Consider energy conserving HTML page processing by categorizing commands into sub-module to reorder HTML code structure based on cohesion principles. The amount of page views of the most viewed website were 16 million page views, the most viewed website usage is around 16 million Pageview per day per website. This translates into high processing time and amount of electricity consumption. the average daily cost of energy is 1,972.35 baht per day per ten website. The rationale behind such rearrangements is evident from researches on the environment of code processing. The result of better code organization is compliance with complier mandate and amount of electricity consumption cost of energy is 747.98 baht or equivalent to 62% of electricity use. This inspires innovative ideas for lesser energy consumption.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27307
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1962
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1962
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wipharat_pi.pdf3.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.