Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27357
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวไลรัตน์ บุญสวัสดิ์-
dc.contributor.authorสุนีย์ เอี่ยมอดุลย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-12-06T07:19:10Z-
dc.date.available2012-12-06T07:19:10Z-
dc.date.issued2523-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27357-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1. เพื่อศึกษาวิธีการจัดการนิเทศภายในวิทยาลัยครูภาคเหนือ 2. เพื่อเปรียบเทียบการปฎิบัติจริงในการนิเทศภายในของผู้บริหารกับความคาดหวังของอาจารย์ในวิทยาลัยครูภาคเหนือ 3. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการนิเทศภายในวิทยาลัยครูภาคเหนือ วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยกลุ่มผู้บริหารและกลุ่มอาจารย์ในวิทยาลัยครูภาคเหนือ 8 แห่ง กลุ่มผู้บริหารประกอบด้วย อธิการ รองอธิการ หัวหน้าคณะวิชาทุกคนโดยไม่มีการสุ่มตัวอย่าง และหัวหน้าภาควิชาดดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ( Stratified Random Sampling ) วิทยาลัยครูละ 50 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มอาจารย์ได้แก่ อาจารย์ผู้ปฎิบัติหน้าที่การสอนวิทยาลัยครูภาคเหนือ วิทยาลัยครูละ 15 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งสิ้น 316 คน แยกเป็นผู้บริหาร 136 คน อาจารย์ 180 คน ได้รับแบบสอบถามคืน 264 ฉบับ คิดเป็น 83.54 เปอร์เซ็นต์ เป็นคำตอบของผู้บริหาร 112 ฉบับ คิดเป็น 82.35 เปอร์เซ็นต์ เป็น คำตอบของอาจารย์ 152 ฉบับ คิดเป็น 84.44 เปอร์เซ็นต์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประเมินค่าและแบบปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ค่าอัตราส่วนวิกฤต สรุปผลการวิจัย 1. ในด้านวิธีการจัดการนิเทศภายในวิทยาลัยครูภาคเหนือ ผู้บริหารและอาจารย์มีความเห็นสอดคล้องกันว่ามีการปฎิบัติในการจัดการนิเทศภายในทั้ง 8 ด้านคือ ในด้านกระบวนการในการจัดการนิเทศ ในด้านโครงการต่าง ๆ ในด้านการจัดกิจกรรมการนิเศการศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรในด้านการนิเทศการสอน ในด้านส่งเสริมทางวิชาการแก่อาจารย์ ในด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร ในด้านการใช้โสตทัศนศึกษา และในด้านการประเมินผล อยู่ในเกณฑ์น้อย 2. ในการเปรียบเทียบการปฎิบัติจริงในการนิเทศภายในของผู้บริหารกับความคาดหวังของอาจารย์ในวิทยาลัยครูภาคเหนือปรากฏว่า การปฎิบัติจริงของผู้บริหารแตกต่างจากความคาดหวังของอาจารย์ทุกข้อ ทุกด้าน โดยที่ผู้บริหารปฎิบัติอยู่ในเกณฑ์น้อย แต่อาจารย์มีความคาดหวังให้ผู้บริหารปฎิบัติอยู่ในเกณฑ์มาก และมากที่สุดใน 2 ข้อคือ คาดหวังให้ห้องสมุดมีหนังสือหรือวารสารที่มีคุณค่าทางวิชาการ และแผนกโสตวัสดุอุปกรณ์ในวิทยาลัยทันสมัยและมีประสิทธิภาพ 3. ในด้านปัญหาและอุปสรรค ในการจัดการนิเทศภายในวิทยาลัยครูภาคเหนือ ผุ้บริหารและอาจารย์มีความเห็นโดยส่วนรวมว่า มีปัญหาและอุปสรรคมากทุกข้อ โดยเฉพาะในข้อต่อไปนี้ คือ ผู้บริหารระดับอธิการและรองอธิการ ขาดการติดตามผลว่าอาจารย์ได้นำความรู้ที่ได้รับจาการนิเทศภายในไปปฎิบัติเพียงใด งบประมารไม่เพียงพอ ผู้บริหารระดับอธิการและรองอธิการไม่ให้ความสำคัญแก่งานวิชาการในการพิจารณาความดีความชอบ และไม่มีระบบในการจัดการนิเศการศึกษาภายใน-
dc.description.abstractalternativePurposes of study 1. To study the supervisory process in teachers colleges in Northern Teachers Colleges. 2. To compare the actual supervisory performances of administrators and the expectation of instructors in Northern Teachers colleges. 3. To study the problems and obstacles for the performances of supervisory management in Northern Teachers Colleges. Procedures of the study The samples involved in the study were administrators and instructors in 8 Teachers Colleges in Northern Teachers Colleges. Administrators were composed of 100 percent Rectors, Vice Rectors, Deans and 50 percent of Heads of Department in every college which were selected by stratified random sampling technique. The instructors were 15 percent in each college. The questionnaires in the form of rating scale and open-ended, were. Sent to 136 administrators, 180 instructors and 112 from administrators or 82.35 percent, 152 from the instructors or 84.44 percent were returned. Percentage, arithmetic mean, standard diviation and t-test were used to analyse the data. The research findings 1. The administrators and the instructors agreed that the performances in supervisory management in teachers colleges were in low level in the process and the projects of supervision, the activities for curriculum development, the teaching, supervision, the process supporting the academic growth of instructors, the co-curriculum activities, the use of audio-visual aids and the evaluation. 2. The actual supervisory performances of administrators and expectation of the instructors were different in every item. The actual performances of the administrators were in low level but the instructors expected those at high level, especially about instructors’ libraries and audio-visual aids. 3. Both administrators and the instructors agree that, Rectors and Vice Rectors did not follow up supervisory management, did not give suitable reward to the instructors who had paid the most attention upon the academic work, there were not any effective supervisory system in the teacher s colleges, the lack of budget supply were the problems in high level.-
dc.format.extent1682598 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectวิทยาลัยครู -- การบริหาร-
dc.titleการจัดการนิเทศภายในวิทยาลัยครูภาคเหนือen
dc.title.alternativeSupervisory management in Northern teachers collegesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunee_Ei_front.pdf324.08 kBAdobe PDFView/Open
Sunee_Ei_ch1.pdf396.69 kBAdobe PDFView/Open
Sunee_Ei_ch2.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_Ei_ch3.pdf253.71 kBAdobe PDFView/Open
Sunee_Ei_ch4.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_Ei_ch5.pdf659.36 kBAdobe PDFView/Open
Sunee_Ei_back.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.