Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27361
Title: An analysis of social studies supplementary books at the lower secondary education level
Authors: พรพิมล เจริญสุข
Email: การวิเคราะห์หนังสืออ่านประกอบวิชาสังคมศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Advisors: ลาวัณย์ วิทยาวุฑฒิกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อวิเคราะห์หนังสืออ่านประกอบวิชาสังคมศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 5 เล่ม ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ – ด้านผู้เขียน – ด้านช่วงเวลาที่แต่งและพิมพ์ – ด้านรูปเล่ม – ด้านเนื้อหา – ด้านลีลาการเขียน วิธีดำเนินการวิจัย 1. สำรวจหนังสืออ่านประกอบวิชาสังคมศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 5 เล่ม จาก 20 เล่ม ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ให้ครูสังคมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา 60 โรงเรียน ซึ่งเลือกมาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายและให้เลือกเล่มที่ใช้มากที่สุดตามลำดับ ปรากฏว่าหนังสือ 5 เล่มที่ได้จากการสำรวจได้แก่ - การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - การปกครองระบอบประชาธิปไตย - เที่ยวอเมริกาเหนือ สหรัฐอเมริกา – หนุ่มชาวนา – ชาวน้ำชาวทะเลในเมืองไทย 2. นำหนังสืออ่านประกอบ 5 เล่ม ที่ได้จากการสำรวจมาวิเคราะห์ด้วยตัวผู้วิจัยเองในเชิงพรรณนา ตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3. ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถาม 1 ชุด ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า ให้ครูสังคมศึกษาผู้ใช้จำนวน 70 คน ใน 23 โรงเรียน ซึ่งใช้หนังสืออ่านประกอบ 5 เล่ม ตามลำดับที่ได้สำรวจไว้ แสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ ต่อหนังสือ 5 เล่มด้วย 4. วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ โดยการหาค่าร้อยละและค่ามัชฌิมเลขคณิต แล้วนำเสนอเป็นตารางและความเรียง สรุปผลการวิจัย 1. ผลการวิเคราะห์เชิงพรรณนาของผู้วิจัย ตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นปรากฏดังนี้ – ด้านผู้เขียน ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาถึงระดับปริญญาตรี มีคุณวุฒิ มีความรู้และความเชี่ยวชาญในเรื่องที่แต่ง เกี่ยวข้องกับวงการการศึกษา และมีประสบการณ์ในการแต่งหนังสือ – ด้านช่วงเวลาที่แต่งและพิมพ์ หนังสือทุกเล่มไม่ปรากฏปีที่แต่ง หนังสือที่พิมพ์ไม่เกินกว่า 10 ปี มีจำนวน 4 เล่ม ได้แก่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การปกครองระบอบประชาธิปไตย หนุ่มชาวนา ชาวน้ำชาวทะเลในเมืองไทย ส่วนเล่มที่พิมพ์เกินกว่า 10 ปีมีเพียงเล่มเดียว คือ เที่ยวอเมริกาเหนือ สหรัฐอเมริกา - ด้านรูปเล่ม หนังสือแต่ละเล่ม มีลักษณะรูปเล่มแตกต่างกันในด้านลักษณะเล่ม ปก คุณภาพของกระดาษ ขนาดตัวอักษร การพิมพ์ การเข้าเล่ม - ด้านเนื้อหา หนังสือที่มีเนื้อหาตามความหมายของหนังสืออ่านประกอบ ได้แก่ หนังสือเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การปกครองระบอบประชาธิปไตย หนุ่มชาวนา หนังสือที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับจุดประสงค์ของวิชาสังคมศึกษา ได้แก่ หนังสือเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การปกครองระบอบประชาธิปไตย หนุ่มชาวนา ชาวน้ำชาวทะเลในเมืองไทย - ด้านลีลาการเขียน หนังสือทุกเล่มมีคุณลักษณะลีลาการเขียนคล้ายคลึงกันในเรื่องการใช้ภาษา การจัดเรื่องและการเรียบเรียง วิธีการเขียน 2. ผลการแสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ของครูสังคมศึกษาผู้ใช้ ตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ปรากฏดังนี้ – ด้านรูปเล่ม ครูสังคมศึกษาผู้ใช้ แสดงความคิดเป็นว่า หนังสือที่มีคุณภาพด้านรูปเล่มอยู่ในระดับดีมีจำนวน 3 เล่ม ได้แก่ หนังสือเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การปกครองระบอบประชาธิปไตย เที่ยวอเมริกา เหนือ สหรัฐอเมริกา หนังสือที่มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ มีจำนวน 2 เล่ม ได้แก่ หนังสือเรื่องหนุ่มชาวนา และ ชาวน้ำชาวทะเลในเมืองไทย - ด้านเนื้อหา ครูสังคมศึกษาผู้ใช้ แสดงความคิดเป็นว่า หนังสือที่มีคุณภาพด้านเนื้อหาตามความหมายของหนังสืออ่านประกอบอยู่ในระดับดี มีจำนวน 3 เล่ม ได้แก่ หนังสือเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การปกครองระบอบประชาธิปไตย หนุ่มชาวนา ส่วนหนังสือที่มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้มีจำนวน 2 เล่ม ได้แก่ หนังสือเรื่องเที่ยวอเมริกา เหนือ สหรัฐอเมริกา และชาวน้ำชาวทะเลในเมืองไทย สำหรับหนังสือที่มีคุณภาพด้านเนื้อหากับความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของวิชาสังคมศึกษาอยู่ในระดับดี มีจำนวน 4 เล่ม ได้แก่ หนังสือเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การปกครองระบอบประชาธิปไตย หนุ่มชาวนา ชาวน้ำชาวทะเลในเมืองไทย ส่วนหนังสือที่มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้มีเพียงเล่มเดียวคือ หนังสือเรื่อง เที่ยวอเมริกา เหนือ สหรัฐอเมริกา - ด้านลีลาการเขียน ครูสังคมศึกษาผู้ใช้ แสดงความคิดเห็นว่า หนังสือที่มีคุณภาพด้านลีลาการเขียนอยู่ในระดับดี มีจำนวน 2 เล่ม ได้แก่ การปกครองระบอบประชาธิปไตย หนุ่มชาวนา ส่วนหนังสือที่มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้มีจำวน 3 เล่ม ได้แก่ หนังสือเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เที่ยวอเมริกาเหนือ สหรัฐอเมริกา ชาวน้ำชาวทะเลในเมืองไทย
Other Abstract: Purpose: The purpose of this research was to analyse five social studies supplementary books mostly used by the social studies teachers at the Lower Secondary Education Level in the following aspects : - Author - Time of Writing and Print - Format - Content - Style of Writing Procedures 1. The researcher surveyed and determined five social studies supplementary books at the Lower Secondary Level mostly used by social studies teachers in 60 lower secondary schools selected by random sampling. The five social studies supplementary books were :- - GARN-ANURAK-SUBPAYAKORN-THAMMACHAT-LAE-SING-WADLOM (The National Resource and Environment Conservation) – GARN-POKRONG-RABOB-PRACHA-TIPATAI (The Democracy) – TIEW-AMERICA-NUA, TON-TIEW-SAHARAT-AMERICA (The Tour of North America “U.S.A.”) -NOOM-CHAO-NA (The Young Farmer) - CHAO-NAM-CHAO-TA-LAE-NI-MUANG-THAI (Sea Dyaks Sea Gypsies in Thailand) 2. The researcher analysed descriptively five selected social studies supplementary books based on criteria set up by the researcher. 3. A set of questionnaire consisted of ration scale items, and constructed by the researcher was sent to 70 social studies teachers who used those five selected supplementary books in 23 schools. 4. The obtained data were analysed by means of percentage, arithmetic means and presented in tables with explanations. Results: 1. As analysed descriptively by the researcher based on the constructed criteria: - Author Most authors possessed academic degree level education, with adequate knowledge and experience in writing books. – Time of Writing and Print None of the writing date was found in any of the five supplementary books but four books were printed within not more than ten years namely: GARN-ANURAK-SUBPAYAKORN-THAMMACHAT-LAE-SING-WADLOM, GARN-POKRONG-RABOB-PRACHA-TIPATAI, NOOM-CHAO-NA, CHAO-NAM-CHAO-TA-LAE-NI-MUANG-THAI, and only one book namely: TIEW-AMERICA-NUA, TON-TIEW-SAHARAT-AMERICA was printed more than ten years. – Format All of them differed in shape of books, covers, quality of paper, size of alphabets, printing, and the body arranging of the book. – Content The content of three out of the five social studies supplementary books supplemented social studies curriculum and textbooks namely : GARN-ANURAK-SUBPAYAKORN-THAMMACHAT-LAE-SING-WADLOM, GARN-POKRONG-RABOB-PRACHA-TIPATAI, NOOM-CHAO-NA. The content of four out of the five supplementary books were compatible to the objectives of the social studies namely: GARN-ANURAK-SUBPAYAKORN-THAMMACHAT-LAE-SING-WADLOM, GARN-POKRONG-RABOB-PRACHA-TIPATAI, NOOM-CHAO-NA, CHAO-NAM-CHAO-TA-LAE-NI-MUANG-THAI. – Style of Writing All of the five supplementary books were similar in style of writing, language used, sequencing and organization of content. 2. As opined and analysed by the social studies teachers who used them based on the constructed criteria : - Format Social studies teachers opined that the format of three out of the five supplementary books namely : GARN-ANURAK-SUBPAYAKORN-THAMMACHAT-LAE-SING-WADLOM, GARN-POKRONG-RABOB-PRACHA-TIPATAI, TIEW-AMERICA-NUA-TON-TIEW-SAHARAT-AMERICA were at a good level, while the other namely : NOOM-CHAO-NA, CHAO-NAM-CHAO-TA-LAE-NI-MUANG-THAI were at fair level. – Content: 1. Social studies teachers opined that the content of three supplementary books namely: GARN-ANURAK-SUBPAYAKORN-THAMMACHAT-LAE-SING-WADLOM, GARN-POKRONG-RABOB-PRACHA-TIPATAI, NOOM-CHAO-NA supplemented social studies curriculum and textbooks were at a good level, while the other namely : TIEW-AMERICA-NUA-TON-TIEW-SAHARAT-AMERICA, CHAO-NAM-CHAO-TA-LAE-NI-MUANG-THAI were at fair level. 2. Social studies teachers opined that the content of four supplementary books namely: GARN-ANURAK-SUBPAYAKORN-THAMMACHAT-LAE-SING-WADLOM, GARN-POKRONG-RABOB-PRACHA-TIPATAI, NOOM-CHAO-NA, CHAO-NAM-CHAO-TA-LAE-NI-MUANG-THAI were compatible to the objectives of the social studies at a good level, while the other namely: TIEW-AMERICA-NUA-TON-TIEW-SAHARAT-AMERICA was at a fair level. – Style of Writing Social studies teachers opined that the quality of two supplementary books namely : GARN-POKRONG-RABOB-PRACHA-TIPATAI, NOOM-CHAO-NA were at a good level, while the other namely : GARN-ANURAK-SUBPAYAKORN-THAMMACHAT-LAE-SING-WADLOM, TIEW-AMERICA-NUA-TON-TIEW-SAHARAT-AMERICA, CHAO-NAM-CHAO-TA-LAE-NI-MUANG-THAI were at fair level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27361
ISBN: 9745639273
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ponpimon_Ch_front.pdf584.18 kBAdobe PDFView/Open
Ponpimon_Ch_ch1.pdf703.31 kBAdobe PDFView/Open
Ponpimon_Ch_ch2.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
Ponpimon_Ch_ch3.pdf436.1 kBAdobe PDFView/Open
Ponpimon_Ch_ch4.pdf6.72 MBAdobe PDFView/Open
Ponpimon_Ch_ch5.pdf878.61 kBAdobe PDFView/Open
Ponpimon_Ch_back.pdf812.42 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.