Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27466
Title: | สภาพการอยู่อาศัยในโครงการเช่าพักอาศัยของชาวญี่ปุ่น : กรณีศึกษาสุขุมวิทซอย 41, กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | A dwelling of Japanese living in rental apartments : a case study of Sukhumvitsoi 41, Bangkok Metropolis |
Authors: | สุรวุฒิ วัฒนพรพรหม |
Advisors: | ไตรรัตน์ จารุทัศน์ จาตุรนต์ วัฒนผาสุก |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Trirat.J@chula.ac.th chaturon_vad@yahoo.com |
Subjects: | ชาวญี่ปุ่น -- ไทย -- กรุงเทพฯ ชาวญี่ปุ่น -- ที่อยู่อาศัย ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- กรุงเทพฯ ไทย -- ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ -- ญี่ปุ่น |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่ผ่านมาไทยและญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและราบรื่น ความร่วมมือของทั้งสองประเทศรอบคลุมทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประเทศ และความร่วมมือกับญี่ปุ่นให้พัฒนาไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ อีกทั้งญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะย้ายฐานการ ผลิตและการตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะความน่าสนใจของประเทศไทยที่เป็นพื้นที่ประกอบการลงทุน ทำให้มีจำนวนชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่มากเมื่อเทียบกับชาติอื่น และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นทุกปี วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาสภาพสังคม เศรษฐกิจ และพฤติกรรมการอยู่อาศัยของชาวญี่ปุ่นและสภาพการอยู่อาศัยในโครงการเช่าพักอาศัยของชาวญี่ปุ่น รวมไปถึงปัญหาในการอยู่อาศัยในโครงการเช่าพักอาศัยของชาวญี่ปุ่น โดยเลือกศึกษาพื้นที่สุขุมวิทซอย 41 เนื่องมาจากชาวญี่ปุ่นที่ชอบใช้ชีวิตใกล้กับย่านที่มีชุมชนชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่ ใกล้กับสวนสาธารณะ และมีการคมนาคมที่สะดวกสบาย การดำเนินงานวิจัย เก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรตัวอย่าง ทั้งสิ้น 157 ชุด ตามสูตรของยามาเน่ โดยใช้วิธีการแจกแบบสอบถาม และทำการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการเช่าพักอาศัย และทำการสำรวจโครงการเช่าพักอาศัย ซึ่งผลการศึกษา สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่พักอาศัยในอนาคตของชาวญี่ปุ่น และยังใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยเดิมให้ตอบสนองความต้องการของชาวญี่ปุ่นในปัจจุบัน จากการศึกษาพฤติกรรมการอยู่อาศัย พบว่า เป็นผู้ที่มีการศึกษาดีและรายได้ที่แน่นอนในแต่ละเดือน และส่วนมากอาศัยอยู่คนเดียว โดยกลุ่มชาวญี่ปุ่นวัยทำงานเข้ามาพักที่ประเทศไทยเนื่องมาจากเหตุผลทางธุรกิจ และกลุ่มชาวญี่ปุ่นวัยเกษียณอายุเลือกจะอยู่ที่ประเทศไทยเนื่องจากครองชีพค่อนข้างต่ำซึ่งสอดคล้องกับเงินบำเหน็จที่ได้รับหลังเกษียณ โดยกลุ่มคนที่เข้ามาพักอาศัยในพื้นที่ศึกษาส่วนใหญ่จะออกไปทำงาน ส่วนกลุ่มคนที่เกษียณแล้วส่วนใหญ่จะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในที่พัก ส่วนทำเลที่ตั้งของโครงการในพื้นที่ตัวอย่างมีความเหมาะสมกับชาวญี่ปุ่น แต่ยังมีพื้นที่ในโครงการเช่าพักอาศัยบางส่วนยังไม่ตอบสนองการอยู่อาศัยของชาวญี่ปุ่น ปัญหาที่พบในการปรับตัวในการอยู่อาศัย และปัญหาในโครงการเช่าพักอาศัย คือ พื้นที่ใช้สอยภายในห้องพักยังไม่เหมาะสมกับวิถีชีวิตชาวญี่ปุ่น ข้อเสนอแนะ ควรปรับปรุงโครงการเช่าพักอาศัยให้เหมาะสมกับชาวญี่ปุ่นที่เป็นชนชาติที่มีความเป็นชาตินิยมสูงให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมการอยู่อาศัยของชาวญี่ปุ่น ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าชาวญี่ปุ่นชอบสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครันและใช้เวลาส่วนมากในโครงการเช่าพักอาศัยอยู่ในห้องพัก ดังนั้นการปรับปรุงควรเน้นไปที่การปรับปรุงภายในห้องพัก ได้แก่ ทางเข้าบ้านแบบญี่ปุ่น ห้องครัวที่มีลักษณะเปิดโล่งเป็นห้องเดียวกันกับห้องนั่งเล่น และห้องน้ำที่ต้องแยกบริเวณฝักบัวกับอ่างอาบน้ำ และยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของกลุ่มผู้สูงอายุอีกด้วย |
Other Abstract: | This research has as its objective to study the social and economic conditions, lifestyle, and living conditions in rental apartments occupied by Japanese residents, as well as problems they experience living there. The Sukhumwit Soi 41 area was chosen for the study as the Japanese like to live in a peaceful environment close to the Japanese community which has public parks and convenient transport. In conducting the research, data was collected from a sample population of 157 people involved with the rental projects according to the Yamane formula by distributing questionnaires and conducting interviews, along with the projects themselves of which the characteristics being surveyed. Research results reflect the future needs for accommodation of the Japanese living in the area. They can also be used as guidelines for improving the existing functional area of the dwellings to really meet the needs of the residents, enhancing Thailand’s reputation in the process. The study of the Japanese residents’ lifestyles found that they generally have a good education with a regular monthly income and most live by themselves. Those of working age live in Thailand for business reasons while those of retirement age choose to live in Thailand as the cost of living here is low, corresponding to their pension. The former group mostly goes out to work during the day while the retired group mostly stays home in their residences.The locations of the projects in the sample area were found to be suitable for the Japanese, but some areas in the rental projects did not meet their needs. As regards living adjustment problems and rental project problems, it was found that the functional area in the apartments was not adequate for the Japanese lifestyle. It is recommended that rental projects should be improved to better suit the Japanese residents, who like to maintain their native cultural lifestyle. Research results also found that the residents like to have a full range of facilities and spend the majority of their time in their apartments. Therefore, improvements should focus on the apartments themselves, including having a Japanese style entrance hall and an open kitchen connecting to the living room to form one room. Moreover, the shower and the bathtub should be in separate areas. Safety concerns for the elderly must also be considered. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27466 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1978 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1978 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
surawut_wa.pdf | 2.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.