Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27563
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กิติยวดี บุญชื่อ | |
dc.contributor.advisor | ประคอง สุทธสาร | |
dc.contributor.author | วิภา ศิริสวัสดิ์ | |
dc.date.accessioned | 2012-12-11T18:44:25Z | |
dc.date.available | 2012-12-11T18:44:25Z | |
dc.date.issued | 2526 | |
dc.identifier.isbn | 9745627542 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27563 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 | en |
dc.description.abstract | จุดมุ่งหมายของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อประมวลความเป็นมาของปริศนาคำทายของไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งการนำปริศนาคำทายไทยมาใช้ในการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาของปริศนาคำทายไทย จากหนังสือ เอกสาร วารสาร และสิ่งตีพิมพ์อื่นๆทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2. สัมภาษณ์บุคคลต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปริศนาคำทายไทย ได้แก่ นักการศึกษา นักคติชาวบ้าน ผู้สูงอายุ ครู นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักเรียน เกี่ยวกับการนำปริศนาคำทายไปใช้ 3. ประมวลข้อมูลที่ได้ และนำเสนอในรูปของความเรียง ปริศนาคำทายในสมัยสุโขทัยและสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นการถามตอบปัญหาทางธรรมะ และมีเล่นในพระราชวังก่อน ต่อมาก็ได้เผยแพร่ออกสู่ประชาชน การทายปริศนาของไทยนิยมเล่นกันมากในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เช่นในงานวัด งานศพ และในเวลาว่าง เป็นการเล่นในหมู่ญาติมิตร การเผยแพร่ปริศนาคำทายในช่วงแรกเป็นการถ่ายทอดทางวาจา เมื่อมีการพิมพ์เกิดขึ้นในประเทศไทย จึงทำให้ปริศนาคำทายแพร่หลายในหมู่ประชาชนมากขึ้น ในรูปของสิ่งพิมพ์ ปัจจุบันนี้มีการนำปริศนาคำทายไปเล่นในโอกาสต่างๆเป็นจำนวนมาก เช่นในหนังสือพิมพ์ ในหนังสืออ่านสำหรับเด็ก ในรายการทายปัญหาของโทรทัศน์ และได้มีการบันทึกในแถบเสียงด้วย วิธีการเล่นทายปริศนา ผู้เล่นมักจะแบ่งเป็นสองฝ่าย ผลัดกันถามและตอบ หรือเล่นทายกันเป็นกลุ่ม ปริศนาคำทายไทย ประกอบด้วย คำประพันธ์หลายประเภท ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ในการเล่นทายปริศนาประเภทร้อยกรองนั้น จะมีวิธีตอบ 4 แบบคือ คำตอบที่มีคำขึ้นต้นเหมือนกัน คำตอบที่มีคำลงท้ายเหมือนกัน คำตอบที่เป็นคำผวน และคำตอบที่เป็นการผันวรรณยุกต์ ส่วนคำทายที่เป็นร้อยแก้วหรือคำถามธรรมดาก็จะตอบเป็นคำๆหรือเป็นประโยค ปัจจุบันนี้ปริศนาคำทาย ได้เข้ามามีบทบาทในห้องเรียนมากขึ้น โดยเฉพาะในการจัดการเรียนการสอนตามแนวหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ซึ่งอาจแบ่งได้ตามกลุ่มประสบการณ์เรียน โดยยึดคำถามคำตอบของปริศนาเป็นหลักในการจัดหมวดหมู่ โดยเน้นเฉพาะใน กลุ่มทักษะ กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย และกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ปริศนาคำทายเป็นข้อความที่ซ่อนเงื่อน และท้าทายให้ผู้เล่นคิดและหาคำตอบวัตถุประสงค์ของการนำปริศนาคำทายมาใช้ประกอบการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาคือ เพื่อสร้างบรรยากาศในห้องเรียน ให้ผู้เรียนสนุกสนาน และเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการคิดเป็น และแก้ปัญหาเป็น ซึ่งตรงตามคุณลักษณะของเด็กที่หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ต้องการ | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were to study the evolution' of Thai Riddles from Sukhothai Region to the present, and their usage in teaching and learning at the Elementary Level. This historical research was conducted under the following procedures: 1. Studying and collecting of concerning data about the evolution of Thai Riddles from books, magazines and the other related papers both in Thai and in English. 2.Interviewing the educators, folklorexperts.,old people teachers, students and the students teacher from the facualty of Education Chulalongkorn Univercity v/ho had experiences in playing these riddles. 3.Organizing and presenting the data in descriptive form. Most of Thai Riddles in Sukhothai Region and Ayuthaya Region concerned about re.ligioun . It took place first in the palace and was spread out to people later on. Thai Riddle games were very popular in Ratanakhosin Region. It was played during the temple's festival, cremation and in the leisure time among the family members and friends. Thai Riddles were first known through verbal communication. Later on it was spreading out by printing techniques. Nowadays , there are many kinds of Thai Riddles shown in variety of presentation such as in newspaper, children’s magazines, television competition program and also in tape cassettes. The players would be devided into two sides and took turn to be the asking and the answering sides or they may play in big group with .one’s raising questions and the others finding the answers. Thai Riddles were constructed into variety both in poem and poetry. If it's poem the answer would be in four ways: the same begining word, the same ending word, tile conundrum words and the toning sound words. At present, riddles played active role in the classroom especially in the learning situation according to Elementary Curriculum B.E.2521. It can be classified in four areas , accordiny to the questions or the answers: Riddles in Basic Skill area , Riddles in Life Experiece area , Riddles in Charactor Development, area and Riddles in Work Oriented Education area . Most Riddles are the ambiguous questions, which challenge the answers to find the exact answers. The aims of introducing riddles in instruction activity are to lift up the atmosphere and to make the classroom more lifely and enjoyable, with the supreme expectation of cultivating" the students to be smart thinkers, and reasonable problem solvers which were part of the desirable characteristics of young children" written in the Elementary Curriculum B.E 2521 | |
dc.format.extent | 323574 bytes | |
dc.format.extent | 381251 bytes | |
dc.format.extent | 1639719 bytes | |
dc.format.extent | 1194403 bytes | |
dc.format.extent | 1874571 bytes | |
dc.format.extent | 896617 bytes | |
dc.format.extent | 513204 bytes | |
dc.format.extent | 1011564 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ปริศนา | |
dc.subject | การสอน | |
dc.subject | การศึกษาขั้นประถม | |
dc.title | วิวัฒนาการของปริศนาคำทายไทย และการนำมาใช้ในการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา | en |
dc.title.alternative | The evolution of Thai riddles and their usage in teaching and learning at the elementary level | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ประถมศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wipa_Si_front.pdf | 315.99 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wipa_Si_ch1.pdf | 372.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wipa_Si_ch2.pdf | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wipa_Si_ch3.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wipa_Si_ch4.pdf | 1.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wipa_Si_ch5.pdf | 875.6 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wipa_Si_ch6.pdf | 501.18 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wipa_Si_back.pdf | 987.86 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.