Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27566
Title: การมอบอำนาจในฝ่ายบริหารของไทย
Other Titles: Delegation of Power in the Thai Executive
Authors: อภิรดี พงษ์ดนตรี
Advisors: บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เมื่อการมอบอำนาจในฝ่ายบริหารนั้นกลายเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง ในสังคมทุกวันนี้ ซึ่งนับวันแต่จะเป็นสังคมที่เปลี่ยนแปลงจากสังคมที่มีโครงสร้างง่าย ๆ มาเป็นสังคมที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อนมากขึ้นทุกขณะ ประชาชนมีความต้องการที่จะได้รับบริการจากสังคมในฐานะรัฐสวัสดิการ ในเมื่อการบริหารราชการนั่นเป็นที่ยอมรับกันว่า ประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคลนั้นมีขอบเขตจำกัด ไม่ได้สัดส่วนที่พอเหมาะกับภาระหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในหน่วยงานต่าง ๆของรัฐและเพิ่มมากขึ้นตามโครงสร้างของสังคมที่สลับซับซ้อน ดังนั้นบทบาทของการมอบอำนาจในฝ่ายบริหารจึงทวีความสำคัญขึ้น ประกอบกับทั้งเหตุผลที่ว่า หากไม่มีการมอบอำนาจในฝ่ายบริหารแล้ว จะมีผลให้การแบ่งสรรอำนาจในหน่วยงานของรัฐจำเป็นต้องมีการแบ่งกันอย่างละเอียด ขั้นตอนการปฏิบัติงานก็จะยุ่งยากซับซ้อน แต่ในขณะเดียวกัน ถ้ายอมให้มีการมอบอำนาจในฝ่ายบริหารกันอย่างไม่มีขอบเขตแล้วย่อมจะก่อให้เกิดสภาพที่การแบ่งอำนาจในหน่วยงานแต่ละหน่วยงานไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นการเสี่ยงต่อการเกิดสิ่งที่เรียกกันในกฎหมายปกครองว่า การทำคำสั่งโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจ และอาจมีการพยายามที่จะมอบอำนาจต่อกันอย่างกว้างขวางจนกระทั้งมีการมอบอำนาจให้แก่ข้าราชการระดับต่ำที่ไม่น่าจะมอบได้ถึงขนาดนั้น โดยอาศัยโอกาสจากการที่ตัวบทกฎหมายบัญญัติไว้ไม่ชัดเจนนัก จึงมีการตีความจนเกินขอบเขตให้มีการมอบอำนาจต่อได้ อันเป็นการสร้างความไม่สะดวกแก่ประชาชนผู้มาติดต่อกับทางราชการโดยประชาชนอาจจะไม่สามารถทราบได้เลยว่า เรื่องที่ตนต้องการมารับบริการจากรัฐนั้นอยู่ในอำนาจและความรับผิดชอบของผู้ดำรงตำแหน่งใด ฉะนั้นถ้าเราสามารถสร้างระบบการมอบอำนาจในฝ่ายบริหาร ที่ประสานแนวความคิดในเรื่องของความจำเป็นในการมอบอำนาจในฝ่ายบริหาร ให้เข้ากับแนวความคิดเรื่องขอบเขตจำกัดของการมอบอำนาจได้อย่างเหมาะสมกับระบบราชการของไทย ก็ย่อมจะเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารของราชการได้เป็นอย่างดียิ่ง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งที่จะทำการศึกษาการมอบอำนาจในฝ่ายบริหารของไทย ด้วยการศึกษา หลักกฎหมายและแนวความคิดเกี่ยวกับการมอบอำนาจในฝ่ายบริหารของฝรั่งเศสและอังกฤษเพื่อเป็นพื้นฐาน ในการวิเคราะห์หลักกฎหมายและแนวความคิดเกี่ยวกับการมอบอำนาจในฝ่ายบริหารของไทยพร้อมทั้งเสนอสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารราชการของไทยอันเนื่องมาจากการมอบอำนาจในฝ่ายบริหาร ตลอดจนจัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาต่าง ๆ นั้นด้วย การมอบอำนาจในฝ่ายบริหารของไทย อาจจะพอสรุปได้ว่า สภาพปัญหาต่าง ๆที่ เกิดขึ้นเนื่องมากจากการมอบอำนาจนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของปัญหา 2 ประการ กล่าวคือ 1) ปัญหาการขาดความเข้าใจในหลักการที่แท้จริงของการมอบอำนาจในฝ่ายบริหาร โดยที่ไม่มีการนำเอาหลักของเรื่องการมอบอำนายในฝ่ายบริหารมาทำการศึกษาวิเคราะห์กันอย่างจริงจังแพร่หลายในวงราชการไทยเท่าที่ควร จึงมีผลให้ข้าราชการไทยส่วนใหญ่และนักกฎหมายทั่วไปหาได้มีความเข้าใจถึงลักษณะ แนวความคิดเกี่ยวกับการมอบอำนาจในฝ่ายบริหารอย่างถูกต้อง 2) ปัญหาที่เกิดเนื่องมาจากการที่อิทธิพลของกฎหมายเอกชนมีอยู่เหนือระบบกฎหมายไทยซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดการเรียน การสอนในหลักสูตรการศึกษาวิชานิติศาสตร์ในมาหาวิทยาลัยต่าง ๆ และสถาบันศึกษากฎหมายอื่นของไทย และจากผลประการนี้เองทำให้ข้าราชการไทยส่วนใหญ่ไม่ยอมรับถึงการที่กฎหมายปกครองมีหลักกฎหมายแตกต่างไปจากกฎหมายอื่น และมีการนำเอาแนวความคิดในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวการตัวแทนมาใช้เป็นกรณีเดียวกันกับการมอบอำนาจในฝ่ายบริหาร ซึ่งเป็นเนื้อหาสาระในกฎหมายปกครอง อาทิเช่น การโยงเอาความรับผิดในฐานะตัวการตัวแทนใช้กำหนดความรับผิดอันมาจากการมอบอำนาจในฝ่ายบริหารของข้าราชการ ผู้เขียนเห็นว่า การจะแก้ปัญหาเกี่ยวกับการมอบอำนาจในฝ่ายบริหารไทยได้นั้นคงจะต้องทำควบคู่กันไป 2 ทาง 1) ด้วยการปรุงแต่งแนวความคิดในทางกฎหมายของข้าราชการส่วนใหญ่ให้ถูกต้องเป็นไปตามแนวทางของกฎหมายปกครอง โดยอาศัยกลไกทางกฎหมายปกครอง 2) ในขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงกฎหมายที่กำหนดการมอบอำนาจ เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะที่เกิดขึ้นจากบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวนั้นเอง ให้ครอบคลุมถ้วนทุกประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในวงราชการ แต่เนื่องจากการสร้างกลไกทางกฎหมายปกครองโดยสถาบันฝ่ายกฎหมายปกครองของไทยนั้นยังคงอยู่ในขั้นก่อตั้ง ความหวังที่จะเห็นสถาบันฝ่ายกฎหมายปกครองสร้างและพัฒนาระบบกฎหมายปกครองอย่างมีประสิทธิภาพ คงเป็นสิ่งที่หวังผลได้ในหนทางอันยาวนาน ฉะนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้จัดทำข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่กำหนดการมอบอำนาจ ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะช่วยบรรเทาปัญหาอันสืบเนื่องมาจากการมอบอำนาจ ที่สามารถจะทำได้ในขณะนี้ และผู้เขียนขอให้พึงระลึกว่าปัญหาการมอบอำนาจในฝ่ายบริหารนั้น เป็นเพียงปัญหาประการหนึ่งในหลายประการในระบบบริหารราชการแผ่นดินไทยเท่านั้น
Other Abstract: In the society of today, delegation of power is vital for two reasons:- First, to build up efficiency of state officials on whom is bestowed legal power but who are overloaded with responsibilities. And, secondly, to avoid an excess of division of power among officers in different agencies. However, if delegation of power goes beyond (appropriate) limits, there would be ambiguity in the division of power in each agency. Power may sometimes be unsuitably delegated to low-ranking officers to the extent that neither the public nor the supervisors of the official concerned are able to distinguish who truly yeids power Consequently, if we are able to create a law and a system of delegation of administrative power which can properly reconcile with the idea of the necessity of delegation of power and that of its limits, it will help increase the efficiency of the administrative system. This thesis, thus, aims at studying the question of delegation of power in Thailand emphasizing principally its legal aspect. The British and the French system of law in this respect will be analyzed to serve as a bans to examine the Thai case. Problems arising from delegation of power under the Thai system will be exposed and their solution suggested. According to our research, the present Thai system of delegation of power is entremely varied, thus incoherent. Delegation can exist in various forms: such as laws, regulations, orders or cabinet resolutions which are all based on the Order of the Revolutionary Party No. 218 dated September 29th, 1972. Even under the said Order, delegation of power is made in a written from in such a way that the people’s right to know is denied, and in such a way that it does not favour the power of the Parliament to control the administration. The scope of powers of the delegated is not even clearly stated. Strict interpretation of the power delegation statement can be misleading. The Thai administration has not laid down clear criterias on this question. The only criterion is in the form of a memorandum of the Juridical Council which stipulates that the power to be delegated under the Order no 218 of the Revolutionary Party must belong to the delegater. However, in practice, the Finance Ministry officials, for example, have delegated, by force of necessity, power among themselves. Moreover, the problem of delegation of power is related to a lack of unity in the provincial administration. We could say that the concept of delegation of power in the Thai administration is still not clear. Also, various administrative methods can be characterized a delegation of power. These two factors explain the ambiguity of different orders on delegation of power. As we are all aware, an order to delegate power at different administrative echelons has a double character delegation of power and distribution of works. The above-mentioned Order of the Revolutionary Party is also ambiguous: whether it is delegation of power or, merely, distribution of works. The problems of delegation of power can thus be summarized into two main point: 1) Lack of true understanding of the principles of delegation of administrative power due to absence of serious analysis of the question. 2) Private Law dominates the Thai legal system. This is the consequence of the present curricula of law in Thailand. The Thai government official can not differentiate administrative law from other laws. Moreover, the concept of Civil and Commercial Code concerning Law of Agency is applied to the delegation of administrative power. The author is opinion that this problem can be solved by using a two-fold remedy; 1) Educate the majority of Thai official on the true concept of the Administrative Law 2) Amend the laws concerning delegation of power in order to solve all problems arising therefrom
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27566
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apiradee_Ph_front.pdf503.05 kBAdobe PDFView/Open
Apiradee_Ph_ch1.pdf426.75 kBAdobe PDFView/Open
Apiradee_Ph_ch2.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
Apiradee_Ph_ch3.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open
Apiradee_Ph_ch4.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open
Apiradee_Ph_ch5.pdf741.31 kBAdobe PDFView/Open
Apiradee_Ph_back.pdf6.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.