Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27650
Title: เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์เกี่ยวกับอัตราค่าระวางขนส่งทางทะเล ของชมรมเดินเรือ : ศึกษาเฉพาะกรณีการขนส่งสินค้าออกของประเทศไทย
Other Titles: An economic analysis of the conference liner freight rates : a case study of the Thai exports shipment
Authors: สมชาย คงเทวินสุทธิ
Advisors: ประจักษ์ ศกุนตะลักษณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การขนส่งสินค้าออกของประเทศไทยส่วนใหญ่นั้นกระทำทางทะเล โดยที่กองเรือพาณิชย์ของประเทศมีขนาดเล็กมาก จึงจำต้องอาศัยบริการขนส่งของเรือต่างประเทศในการบรรทุกสินค้าออกดังกล่าวประมาณร้อยละ 95 ปัญหาที่เกิดขึ้นในการอาศัยบริการก็คือการรวมกลุ่มเป็นชมรมเรือของบรรดาเรือต่างประเทศเพื่อผูกขาดในการกำหนดอัตราค่าระวางผลประการหนึ่งที่ตามมาก็คือการเปลี่ยนแปลงในระดับของอัตราค่าระวางที่มักจะสูงกว่าที่ควรซึ่งกลายเป็นภาระหนักตกอยู่กับผู้ส่งสินค้าออก เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านค่าระวางเป็นสัดส่วนที่สูงเมือเทียบกับราคาส่งออก (f.o.b.) กลุ่มผู้ส่งสินค้าออก จึงพยายามหามาตรการที่จะใช้ในการต่อรองกับชมรมเรือ เพื่อขอให้ลดอัตราค่าระวางลงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม การต่อรองเพื่อขอลดหย่อนอัตราระวางกับชมรมเรือ จะกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มผู้ส่งสินค้าออก จำเป็นต้องทราบถึงปัจจัยต่างๆ ที่คาดว่าจะมีอิทธิพลกำหนดโครงสร้างและระดับอัตราค่าระวางโดยชมรมเรือต่างๆ สำหรับกรณีประเทศไทยยังไม่ได้มีการศึกษาถึงเรืองนี้อย่างสมบูรณ์มาก่อน ดังนั้น วิทยานิพนธ์เรื่องนี้จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะทำการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ที่คาดว่ามีต่อการกำหนดโครงสร้างและระดับอัตราค่าระวางโดยชมรมเรือต่างๆในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าออกของประเทศไทยโดยได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 5 บทดังนี้ บทที่ 1 เป็นการกล่าวถึงบทนำทั่วๆ ไปเกี่ยวกับโครงสร้างการขนส่งทางทะเลตลอดจนความสำคัญของการขนส่งทางทะเล บทที่ 2 เป็นการศึกษาถึงอุปสงค์ที่มีต่อการขนส่งทางทะเลและอุปทานของเรือของโลกเปรียบเทียบกับการขนส่งทางทะเลของไทยตลอดจนลักษณะและการดำเนินงานของชมรมเรือที่ขนส่งสินค้าออกจากประเทศไทย บทที่ 3 เป็นการศึกษาแนวทฤษฎีเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าระวางของชมรมโดยใช้หลักการกำหนดอัตราค่าระวางเท่าที่จะทำให้การขนส่งดำรงอยู่ได้ นอกจากนี้ยังศึกษาการเคลื่อนไหวของอัตราค่าระวางและราคาค่าระวาง ซึ่งราคาค่าระวางประกอบด้วยอัตราค่าระวางและค่าธรรมเนียมต่างๆ บทที่ 4 เป็นการวิเคราะห์ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดระดับและโครงสร้างอัตราค่าระวางตัวแปรที่ใช้นี้แบ่งออกเป็นปัจจัยด้านอุปสงค์ ปัจจัยด้านต้นทุนและลักษณะสินค้า การวิเคราะห์นี้ใช้วิธีการ Ordinary Least Squares (OLS) ซึ่งได้ใช้ข้อมูลการขนส่งรายปีของประเทศไทยปี พ.ศ. 2521ตลอดจนการศึกษาถึงผลกระทบของอัตราค่าระวางและค่าธรรมเนียมที่มีต่อราคาค่าระวางและความมีเสถียรภาพของอัตราระวางและราคาค่าระวาง บทที่ 5 เป็นบทสรุปและแสดงข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา ซึ่งกล่าวได้โดยย่อดังต่อไปนี้ :- (1) ระดับอัตราค่าระวาง ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดระดับอัตราค่าระวางได้แก่ระยะทาง ปริมาณการขนส่ง จำนวนเรือนอกชมรมที่เข้ามาทำการแข่งขันและการรวมกลุ่มกันตั้งชมรมขึ้นมา สินค้าที่นำมาใช้ในการศึกษามีทั้งหมด 16 ชนิด (2) โครงสร้างอัตราค่าระวางตัวแปรที่มีความสำคัญต่อการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าระวางได้แก่ stowage factor มูลค่าต่อหน่วยของสินค้าที่ทำการขนส่ง และสินค้าแช่เย็น ส่วนตัวแปรที่มีความสำคัญรองลงไปได้แก่ ปริมาณสินค้าที่ทำการขนส่งและตัวแปรที่มีอำนาจในการอธิบายอัตราค่าระวางได้ค่อนข้างต่ำ คือ ลักษณะของสินค้าในการเก็บบรรทุกและอัตราส่วนของสินค้าออกชนิดหนึ่ง ต่อสินค้าชนิดเดียวกันที่มาจากแหล่งอื่น (3) ผลกระทบของอัตราระวางที่มีต่อราคาค่าระวางเมื่อค่าธรรมเนียมคงที่จะมากกว่าผลกระทบที่เกิดจากค่าธรรมเนียมเมื่ออัตราค่าระวางคงที่ (4) ราคาค่าระวางจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกันกับอัตราค่าระวาง (5) อัตราค่าระวางมีเสถียรภาพมากกว่าราคาค่าระวาง อย่างไรก็ดีการศึกษานี้จะเห็นว่าเกิดมี Rate discrimination เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ในแง่ที่มูลค่าต่อหน่วยมีความสัมพันธ์กับอัตราค่าระวาง และอีกประการหนึ่งค่าธรรมเนียมมีบทบาทที่สำคัญต่อราค่าค่าระวาง ดังนั้น รัฐบาลควรจะกำหนดนโยบายพาณิชยนาวีขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้
Other Abstract: Thai exports are mostly transported by sea, which the pattern of carrying cargo is dependent very much on foreign vessels as formed conference. In this connection, the shippers do not have the authority to participate in fixing the rates. A major problem therefore, being faced by the country is that the changing level of freight rates set by conferences are higher than necessary. Freight costs thus form relatively large proportion of the f.o.b. value of exports. Shippers have been trying to acquire countervailing power in a variety of ways to negotiate with the conferences to lower the freight rate. The objective of the study of "An Economic Analysis of the Conference Liner Freight Rates : A Case Study of The Thai Exports Shipment" is to compare various important variables which are supposed to explain the variation of level and structure of liner freight rates. The study is divided into 5 chapters. Chapter1 states the general background relating to problem studies, general structure and importance of shipping. Chapter 2 investigates demand for-and supply of shipping services of the world compared to those of Thailand. Also included in this chapter are the functions and characteristics of shipping conferences operating outbound from Thailand. Chapter 3 studies the theory of Conference Freight Rates Fixation by using "what the traffic will bear" principle. Besides, the study is made on comparing movements of freight rates and freight charges, whereas freight charges are comprised of freight rates and surcharges. Chapter 4 analyses the variables which are supposed to explain the variation of the level and structure of liner freight rates. Those variable are classified into 3 groups, say demand-based factors, supply or cost-based factors, and physical characteristics of cargo. The method employed in the study is Ordinary Least Squares Analysis which is performed on samples of cross-sectional data of the year 1978. This chapter also studies the impact of freight rates and surcharges on freight charges, and the stability of freight rates and freight changes during the period 1974-1981. Chapter 5 summarizes the main findings of the study and presents recommendations based on those findings. The main finding can be summarized as follows : (1) Variables which influence the level of freight rates fixations are distance, quantity, number of non-conferences lines on there routes and agreements between shipowners. Sixteen commodities are included in this analysis. (2) Empirical results shows that the variables i.e. stowage factor, unit value, and refrigerate cargo play important role in fixing the rates. The less important variables found are quantity carried, characteristics of goods and the ratio of exports to the same commodities exported from the other sources (3) The effect of freight rates when surcharges are constant, on freight charges is more than that of surcharges when freight rates are constant (4) the movements of freight rates and freight charges are in the same direction, but freight rates are less volatile than freight charges. Besides, the study reveals that there exists rate discrimination practice by almost all outbound conferences such that rates vary considerably with until value of commodity shipped; and that the surcharges play a vital role in freight charge to determination. It is, Therefore an urgent need for Thai Government to design shipping policies to tackle these problems.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2525
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27650
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchai_Co_front.pdf711.73 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Co_ch1.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_Co_ch2.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_Co_ch3.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_Co_ch4.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_Co_ch5.pdf469.3 kBAdobe PDFView/Open
Somchai_Co_back.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.