Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27680
Title: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการณ์ลักษณะทางไวยากรณ์และการณ์ลักษณะประจำคำ: การศึกษาแบบอิงคลังข้อมูลภาษา
Other Titles: Interactions between grammatical aspect and lexical aspect in Thai : a corpus-based study
Authors: คเชนทร์ ตัญศิริ
Advisors: กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Kingkarn.T@chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทย -- การณ์ลักษณะ
ภาษาศาสตร์คลังข้อมูลภาษา
การวิเคราะห์ทางด้านภาษา
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาอรรถศาสตร์ของระบบการณ์ลักษณะในภาษาไทยโดยใช้ข้อมูลจากคลังข้อมูลภาษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างการณ์ลักษณะประจำคำกับคำบ่งชี้การณ์ลักษณะทางไวยากรณ์จำนวน 6 คำในภาษาไทย ได้แก่ “กำลัง” “ยัง” “อยู่” “แล้ว” “เคย” และ “จะ” และเพื่อระบุรูปแบบการปรากฏร่วมระหว่างคำบ่งชี้การณ์ลักษณะทางไวยากรณ์ดังกล่าว และวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคำบ่งชี้การณ์ลักษณะทางไวยากรณ์ 6 คำ เมื่อปรากฏร่วมกันตามรูปแบบที่พบ ผลการวิจัยพบว่า คำว่า “กำลัง” จัดเป็นคำบ่งชี้การณ์ลักษณะทางไวยากรณ์กำลังดำเนิน เนื่องจากคำว่า “กำลัง” ทำหน้าที่เลือกเน้นส่วนกลางที่มีลักษณะพลวัตและแสดงความหมายเชิงการณ์ลักษณะว่า เหตุการณ์ที่อ้างถึงกำลังเกิดขึ้น ณ เวลาอ้างอิง คำว่า “อยู่” จัดเป็นคำบ่งชี้การณ์ลักษณะมีอยู่ เนื่องจากคำว่า “อยู่” ทำหน้าที่เลือกเน้นส่วนกลางของเหตุการณ์ และแสดงความหมายเชิงการณ์ลักษณะว่า เหตุการณ์ที่อ้างถึงมีอยู่หรือปรากฏอยู่ ณ เวลาอ้างอิง คำว่า “ยัง” จัดเป็นคำบ่งชี้การณ์ลักษณะคงอยู่ เนื่องจากทำหน้าที่เลือกเน้นส่วนกลางของเหตุการณ์ที่อ้างถึงและแสดงความหมายเชิงการณ์ลักษณะว่า เหตุการณ์ที่อ้างถึงยังคงดำเนินอยู่ ณ เวลาอ้างอิง นอกจากนี้ คำว่า “ยัง” ยังแสดงความหมายเหตุการณ์คู่ตรงข้ามกับเหตุการณ์ที่อ้างถึง ซึ่งอาจจะเป็นเหตุการณ์คู่ตรงข้ามที่ปรากฏก่อน หรือเหตุการณ์คู่ตรงข้ามที่ควรจะปรากฏ ณ เวลาอ้างอิง คำว่า “แล้ว” จัดเป็นคำบ่งชี้การณ์ลักษณะเหตุการณ์ก่อน เนื่องจากคำว่า “แล้ว” สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับการณ์ลักษณะประจำคำได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ ก) เลือกเน้นส่วนกลางของเหตุการณ์และแสดงความหมายเชิงการณ์ลักษณะว่า เหตุการณ์ที่อ้างถึงเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนเวลาอ้างอิง และดำเนินมาจนถึงเวลาอ้างอิง หรือ ข) เลือกเน้นบริเวณสภาพหลัง และแสดงความหมายเชิงการณ์ลักษณะว่า เหตุการณ์ที่อ้างถึงได้จบสิ้นลงก่อนเวลาอ้างอิง แต่มีความสัมพันธ์กับสถานการณ์ ณ เวลาอ้างอิง นอกจากนี้ คำว่า “แล้ว” ยังแสดงความหมายเหตุการณ์คู่ตรงข้ามกับเหตุการณ์ที่อ้างถึง ซึ่งอาจจะเป็นเหตุการณ์คู่ตรงข้ามที่ปรากฏก่อน หรือเหตุการณ์คู่ตรงข้ามที่ควรจะปรากฏ ณ เวลาอ้างอิง คำว่า “เคย” จัดเป็นคำบ่งชี้การณ์ลักษณะเชิงประสบการณ์ เนื่องจากทำหน้าที่เลือกเน้นบริเวณสภาพหลังและแสดงความหมายเชิงการณ์ลักษณะว่า เหตุการณ์ที่อ้างถึงเป็นเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงก่อนเวลาอ้างอิงอย่างน้อยหนึ่งครั้ง คำว่า “จะ” จัดเป็นคำบ่งชี้เหตุการณ์ที่ไม่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากสามารถแสดงความหมายได้หลากหลายทั้งที่เป็นความหมายเชิงการณ์ลักษณะ ความหมายความตั้งใจ และความหมายเชิงทัศนภาวะ เมื่อแสดงความหมายเชิงการณ์ลักษณะ คำว่า “จะ” จัดเป็นคำบ่งชี้การณ์ลักษณะคาดหวัง เนื่องจากทำหน้าที่เลือกเน้นบริเวณสภาพก่อน และแสดงความหมายเชิงการณ์ลักษณะว่า เหตุการณ์ที่อ้างถึงมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากเวลาอ้างอิง คำบ่งชี้การณ์ลักษณะทางไวยากรณ์ทั้ง 6 คำนี้สามารถปรากฏร่วมกันได้ตั้งแต่ 2 คำไปจนถึง 4 คำ เมื่อปรากฏร่วมกันในประโยค คำบ่งชี้การณ์ลักษณะทางไวยากรณ์ที่ปรากฏหน้ากริยาจะเข้าขยายความหมายก่อนคำบ่งชี้การณ์ลักษณะทางไวยากรณ์ที่ปรากฏหลังกริยา และคำบ่งชี้การณ์ลักษณะทางไวยากรณ์ที่ปรากฏใกล้กับคำกริยามากที่สุดจะขยายความหมายก่อนคำบ่งชี้การณ์ลักษณะทางไวยากรณ์ที่ปรากฏห่างออกไปตามลำดับ
Other Abstract: This present research is a study of the aspectual system in Thai based on attested language data. It aims at analyzing interactions between six grammatical aspect markers, namely, “kamlang”, “juu”, “jang”, “laew”, “khoej”, and “ca” on the one hand, and lexical aspect on the other hand. Specifically, this study identifies co-occurring patterns of these grammatical aspect markers, and analyzing interactions between the grammatical aspect markers that co-occur in the same sentence. It is found that the marker “kamlang” can be analyzed as a progressive aspect marker because it functions to highlight the dynamic phase of a situation and contrues it as an on-going process. The marker “juu” can be considered an existential aspect marker because it can highlight either a dynamic or static phase of a situation. The juu-marked situation is presented as existing at the reference time. The marker “jang” can be analyzed as a continuative aspect marker because it functions to highlight either a dynamic or static phase of a situation and construes it as a continuing situation at the reference time. Besides the aspectual meaning, the marker “jang” also carries a presupposition of an opposite situation to the one described by a sentence. The opposite situation could be either posterior to or simultaneously counterfactual with the one described by the sentence. The marker “laew” can be considered a marker of anteriority because it can function to highlight either an immediate phase of a situation or a post-state. Highlighting an immediate phase, it construes a situation as a prior situation which continues to the reference time. Highlighting a post-state, it conveys the aspectual meaning of a prior situation with current relevance. Like “jang”, the marker “laew” also carries a presupposition of an opposite situation to the one described by a sentence. However, as for “laew”, the opposite situation could be either anterior to or simultaneously counterfactual with the one described by a sentence. The marker “khoej” can be analyzed as a marker of experiential perfect in that it highlights a post-state and conveys the meaning that the situation described by a sentence had occurred at least once before the reference time. The marker “ca” can be analyzed as an irrealis marker which subsumes three main semantic facets of intention, prospective aspect, and epistemic possibility. As a prospective aspect marker, the marker “ca” highlights a pre-state and conveys the meaning that the situation being described has a tendency to occur after the reference time. It is also found that these six aspect markers can co-occur from 2 to 4 markers in the same sentence. Co-occurring in the same sentence, the preverbal markers aspectually modify the sentence prior to the postverbal ones.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27680
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1425
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1425
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kachen_ta.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.