Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27730
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มาโนธ พรพิบูลย์ | |
dc.contributor.author | อรัญญา เฉลิมพรวโรดม | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-12-15T08:18:09Z | |
dc.date.available | 2012-12-15T08:18:09Z | |
dc.date.issued | 2517 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27730 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์เรื่องนี้เป็นการศึกษาการควบคุมของรัฐบาลเกี่ยวกับบริษัทเงินทุนในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาปัญหาที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน และนำเอาวิธีการที่เหมาะสมมาปรับปรุงแก้ไข เพื่อเป็นประโยชน์แก่รัฐบาล เอกชนผู้เป็นเจ้าของบริษัทเงินทุนและผู้ใช้บริการของบริษัทเงินทุนตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น การศึกษาวิจัยนี้ได้มาจากการศึกษาบทบัญญัติของกฎหมาย เอกสาร บทความ และประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับควบคุมดูแลบริษัทเงินทุน ตลอดจนสอบถามบุคคลผู้มีประสบการณ์ในวงการธุรกิจเงินทุนและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการกำกับควบคุมดูแลบริษัทเงินทุนตามกฎหมาย ด้วยการควบคุมของรัฐบาลเกี่ยวกับบริษัทเงินทุนในประเทศไทยขณะนี้ยังอยู่ในระยะเริ่มแรก ฉะนั้นเพื่อให้เป็นแนวทางที่จะนำมาใช้พิจารณาถึงความเหมาะสมของบริษัทเงินทุนในประเทศไทย จึงได้เริ่มศึกษาถึงลักษณะการดำเนินงานและการควบคุมของบริษัทเงินทุนในบางประเทศที่น่าสนใจ โดยศึกษาทั้งประเทศที่มีการควบคุมที่ค่อนข้างจะเข้มงวด มีการตราบท กฎหมายเฉพาะสำหรับบริษัทเงินทุน อาทิ เช่น สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และมาเลเซีย และบางประเทศที่มีการควบคุมไม่สู้จะเข้มงวดนัก โดยการควบคุมเป็นเพียงการควบคุมตามบทกฎหมายทั่วไปที่มีอยู่เท่านั้น ได้แก่ นอรเว และฮ่องกง บทที่ 3 ศึกษาถึงบริษัทเงินทุนในประเทศไทย กล่าวถึงความเป็นมาโดยเริ่มตั้งแต่ลักษณะการดำเนินงานในระยะเริ่มแรก ซึ่งมีเพียงการประกอบธุรกิจการจัดหาเงินทุนให้แก่ผู้บริโภคด้วยวิธีการให้เช่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทรถยนต์เท่านั้น จนกระทั่งได้มีการขยายขอบเขตการดำเนินงานที่กว้างขวางออกไปภายในระยะเวลาอันรวดเร็วและได้บริษัทเงินทุนจัดตั้งขึ้นเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งศึกษาสาเหตุที่ทำให้เกิดมีการจัดตั้งบริษัทเงินทุนดังกล่าวศึกษาถึงลักษณะและการดำเนินงานของบริษัทเงินทุนในปัจจุบันซึ่งมีลักษณะโดยทั่วไปแตกต่างจากของต่างประเทศ กล่าวคือ มีลักษณะเป็นทั้งบริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจทั้งทางด้านธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ควบคู่กันไป ศึกษาถึงการดำเนินงานของบริษัทเงินทุนทั้งทางด้านแหล่งที่มาของเงินทุนซึ่งนอกจากจะได้มาจากเงินทุนส่วนของเจ้าของแล้ว ยังได้จากการระดมเงินทุน หรือการกู้ยืมจากประชาชนเป็นสำคัญ ส่วนทางด้านการใช้ไปของเงินทุนนั้น ส่วนใหญ่จะใช้ไปในทางการให้กู้ยืมแก่ธุรกิจและส่วนบุคคลเพื่อนำไปใช้ในการพาณิชย์ การพัฒนา การจัดจำหน่ายและบริโภค และการเคหะ นอกจากนั้นบริษัทเงินทุนที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จะใช้ไปในทางประกอบธุรกิจหลักทรัพย์อีกด้วย จากลักษณะและขอบเขตการดำเนินงานที่ค่อนข้างกว้างนี้เองทำให้บริษัทเงินทุนมีบทบาทสำคัญต่อประเทศไทยในปัจจุบัน เช่นมีบทบาทในการระดมเงินทุนจากประชาชน เป็นแหล่งกระจายเงินทุน โดยทำหน้าที่ให้กู้ยืมแก่เอกชนและรัฐบาลทั้งในระยะสั้นระยะปานกลางและระยะยาว ทำหน้าที่ช่วยในการลงทุนให้แก่ประชาชน มีบทบาทในการกู้ยืมเงินแก่ประชาชนเพื่อซื้อสินทรัพย์ประเภทถาวร นอกจากนั้นยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาตลาดทุนในประเทศไทยอีกด้วย บทที่ 4 ศึกษาถึงการควบคุมของรัฐบาลเกี่ยวกับบริษัทเงินทุนในประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะมีการควบคุมในลักษณะทั่วไป โดยอาศัยบทกฎหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทเงินทุน อาทิเช่น บทกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับบริษัทจำกัด ตั๋วเงิน เช่าซื้อ จำนำ จำนอง ค้ำประกัน ตลอดจนการกู้ยืมแล้วยังมีการควบคุมในลักษณะเฉพาะสำหรับบริษัทเงินทุน โดยรัฐบาลได้เริ่มเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีบทกฎหมายเฉพาะสำหรับบริษัทเงินทุนซึ่งเป็นธุรกิจที่ประกอบธุรกิจเงินทุน อันเป็นกิจการค้าที่กระทบถึงความปลอดภัยและความผาสุกแห่งสาธารณชน โดยจะเริ่มศึกษาถึงความเป็นมาในการดำเนินการกำกับควบคุมบริษัทเงินทุน จนกระทั่งได้มีการตราบทกฎหมายเฉพาะสำหรับบริษัทเงินทุน จากการปรับปรุงเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 และ 2476 โดยรวมเข้าเป็นฉบับเดียวกัน และออกมาในรูปของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ต่อจากนั้นก็ได้มีการออกประกาศต่างๆตามความในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวเพื่ออกบังคับใช้แก่บริษัทเงินทุน เช่น เกี่ยวกับหน่วยงานที่ควบคุม ลักษณะและขอบเขตในการควบคุม นอกจากนั้นยังได้ศึกษาเปรียบเทียบถึงลักษณะการควบคุมในต่างประเทศ กับประเทศไทยว่ามีลักษณะสำคัญที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันอย่างไร พร้อมทั้งศึกษาถึงข้อดีข้อเสียของลักษณะเหล่านั้น บทที่ 5 เมื่อนำลักษณะการควบคุมมาปรับเข้ากับข้อเท็จจริงในการปฏิบัติงานของบริษัทเงินทุนในปัจจุบัน ทำให้เกิดมีปัญหาบางประการขึ้น ฉะนั้น บทนี้จะศึกษาปัญหาและประเด็นพิจารณาในการควบคุมบริษัทเงินทุนตามบทกฎหมาย เฉพาะสำหรับบริษัทเงินทุนเท่าที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน เช่นปัญหาในการร่างกฎหมาย ปัญหาในการตีความกฎหมาย ปัญหาเกี่ยวกับวิธีการควบคุมและหน่วยงาที่ควบคุม และปัญหาเกี่ยวกับความเหมาะสมของข้อกำหนดและกฎเกณฑ์ต่างๆ โดยการสอบถามจากเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุม ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเงินทุนบางแห่งและจากความคิดเห็นของผู้เขียน บทที่ 6 จากผลของการศึกษาวิจัยปัญหาในเรื่องนี้ เห็นว่าบทกฎหมายเฉพาะสำหรับบริษัทเงินทุนในปัจจุบันมีข้อกำหนดบางข้อที่ก่อให้เกิดปัญหาในการควบคุม จึงเห็นควรที่กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย จะได้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าว และควรตรากฎหมายใหม่ออกมาใช้บังคับแทน เพื่อให้การควบคุมเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ปราศจากช่องโหว่ ให้ความเป็นธรรมแก่บริษัทเงินทุน ตลอดจนเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยส่วนรวม อนึ่งในการเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ ผู้เขียนเขียนในฐานะนิสิตคนหนึ่งที่ต้องการแสดงความคิดเห็นโดยเสรี ความคิดเห็นต่างๆที่ปรากฏในวิทยานิพนธ์เรื่องนี้เป็นของผู้เขียนโดยส่วนตัวทั้งสิ้น | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this thesis is to study the government regulatory procedures in controlling the operations of finance companies, mainly on various problems existed, while good and well thought out measures are introduced, to ensure effectiveness of government control and operations of finance companies as well as to protect public interest, and to stimulate the economic growth of the country. Sources of studies are obtainable from various provisions of the law, documents, articles and government announcements in regard to the controlling of finance companies. Other reliable references are made on interviewing financial experts and officers authorized to control the operating of finance companies. Since the introduction of the regulations is still at the initial stage, it is necessary to study the nature of operation as well as legislations designed to regulate the operations of finance companies in some other countries as of the United State, Philippines, Singapore and Malaysia whose nature of controlling is rather restricted with the issuance of special legislation, and in some other countries as of Norway, Hongkong whose regulations are less restricted. The third chapter is to study about finance companies early emerging with the operations of procuring funds from the public and lending them out in the form of hire purchase credit on business of automobiles, and later extending the operations to other lines of business. Further studies will be on the rapid increase as well as on the establishment of finance companies. Their nature of doing business which differs from those of other countries‘ on their operations of both engaging in business of financing and securities underwriting. Operations of finance companies, in fact, are explicit on their sources and uses of funds. Sources of funds, in addition to funds financing by owners in the form of equities, funds attracting from public in the form of borrowing are also essential. Lending to persons and business is one of the essential part of finance companies‘ uses of funds. Funds lending out are utilized in the business of finance for commerce, business of finance for development, business of finance for deposition and consumption and business of finance for housing. As for finance companies authorized to engage in securities business, their main uses of funds include funds utilized on the trading of securities. The boarding concepts of operation of finance companies in fact have significant impact on the Thai economy. They have mobilized otherwise idle funds by procuring funds from the public and lending them out to both public and governmental units in short-term, medium-term and long-term period loans. They also helped to channel capital into new and vital areas of investment, extended consumer credit to public for durable goods. Moreover, they have played a vital role in the economic development of the country. The fourth chapter has attempted to illustrate, among other things, the public laws and regulations in controlling the operations of finance companies. Generally, their operations are regulated under the Provision of civil and commercial codes in accordance to sections of limited companies, notes, hire purchase, pledging, mortgaging, guaranty and loans. However, other measures have been made available for the controlling, as the government deemed it necessary to stimulate special legislation to control these finance companies engaging in commercial undertakings affecting public safety and welfare. Studies will be made firstly on the development of government control from the early stage, to the stage that special legislation has been stimulated with the amendment and consolidation of the Acts for the control of commercial undertakings affecting public safety or welfare B.E. 1928 and 1933, and came out in the form of a Notification of the Ministry of Finance under NEC Announcement No. 58. Other announcement subsequently issued in accordance to the NEG Announcements, is the Announcement for the appointment of competent officers on their natures and scopes of controlling. In additions, comparison has been made between government control on financing business in Thailand and those of other countries’ on their similarities and their differences as well as on the pros and cons. The fifth chapter began with the studies on the nature of regulating as practically applied to the operations of finance companies which in fact causes various problems. Discussions will be on various problems and issues of consideration, in accordance to the legislation specially designed to control the finance companies, problems on drafting and interpreting of the law, problems on the controlling procedures and officers in charge, as well as problems on the appropriateness of all provisions and regulations concerned. References throughout the chapter are obtainable from interviewing the officers in charge of controlling, from the executives of certain finance companies and from the writer's personal views. The sixth chapter concludes results of the research studies which clearly illustrate various problems presently caused by the special legistion controlling finance companies. It is highly recommended that the Ministry of Finance and the Bank of Thailand reconsider the amendment of the laws mentioned. New regulations should be set forth in order that the government's control will be effectively directed, giving fairness to all finance companies as well as contributing growth to the economics and social development of the country. All criticism and evaluation of the problems presented in this thesis are liberately expressed by the writer as being a post-graduate student. | |
dc.format.extent | 675506 bytes | |
dc.format.extent | 623757 bytes | |
dc.format.extent | 1910546 bytes | |
dc.format.extent | 2863543 bytes | |
dc.format.extent | 2268363 bytes | |
dc.format.extent | 2581603 bytes | |
dc.format.extent | 1219516 bytes | |
dc.format.extent | 1443490 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การควบคุมของรัฐบาลเกี่ยวกับบริษัทเงินทุน | en |
dc.title.alternative | Government's control on finance companies | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | บัญชีมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การบัญชี | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Aranya_Ch_front.pdf | 659.67 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Aranya_Ch_ch1.pdf | 609.14 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Aranya_Ch_ch2.pdf | 1.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aranya_Ch_ch3.pdf | 2.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aranya_Ch_ch4.pdf | 2.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aranya_Ch_ch5.pdf | 2.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aranya_Ch_ch6.pdf | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aranya_Ch_back.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.