Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28091
Title: การดำเนินกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Other Titles: Corporate social responsibility strategy implementation of listed companies in the Stock Exchange of Thailand
Authors: วรพรรณ เอื้ออาภรณ์
Advisors: ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Yubol.B@chula.ac.th
Subjects: การวางแผนเชิงกลยุทธ์
ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ
บริษัทมหาชน
Strategic planning
Social responsibility of business
Public companies
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษามิติ กระบวนการ ทิศทางและแนวโน้มการดำเนินกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคม ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และนำมาเปรียบเทียบความสอดคล้องและความแตกต่างกับ แนวคิดและกระบวนการดำเนินกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมตามมาตรฐานโลก โดยผู้วิจัยดำเนินการวิจัยทั้ง 2 วิธีการ คือ การวิจัยเชิงปริมาณโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2552 และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งนักวิชาการทางด้านต่างๆ สื่อมวลชนและองค์กรไม่แสวงหากำไร จำนวน 15 คน เพื่อให้ได้ภาพรวมการดำเนินกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทฯ และการวิจัยเอกสาร (Documentary analysis) จากงานวิจัยทั่วโลก เพื่อนำมาเปรียบเทียบความสอดคล้องและความแตกต่างของ การดำเนินกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กับแนวคิดและกระบวนการดำเนินกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมตามมาตรฐานโลก ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสำมะโน (Census) จากทุกหน่วยประชากรทั้งหมดในการวิจัย พบว่า การดำเนินกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2552 จำนวน 497 บริษัทใน 27 กลุ่มอุตสาหกรรม พบว่ามีบริษัทที่รายงานการดำเนินกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทบนเว็บไซต์จำนวนเพียง 137 แห่ง โดยมุ่งเน้นมิติด้านสังคม มิติด้านสิ่งแวดล้อม มิติด้านการศึกษาและมิติด้านเศรษฐกิจ ตามลำดับ และมีกระบวนการดำเนินกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมหลังกระบวนการธุรกิจ (CSR-after-process) มากที่สุด นั่นคือ การบริจาคหลังจากที่บริษัทมีผลกำไร รองลงมาคือ ในกระบวนการธุรกิจ (CSR-in-process) และเสมือนเป็นกระบวนการธุรกิจ (CSR-as-process) รวมทั้งจากผลการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติไคสแควร์ พบว่า วิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร (Corporate Vision/Mission) ไม่สอดคล้องกับการดำเนินกลยุทธ์การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR strategy implementation) ในขณะที่วิสัยทัศน์ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR vision) สอดคล้องกับการดำเนินกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR strategy implementation) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพทั้งจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิจัยเอกสารพบว่า การดำเนินกลยุทธ์ CSR ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นที่พัฒนาจากการบริจาคในอดีต ไปสู่การประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม (Social responsibility business practices) โดยมีทิศทางและแนวโน้มพัฒนาการดำเนิน CSR สอดคล้องตามมาตรฐานโลก เพราะประเทศไทยรับความรู้มาจากต่างประเทศ มีการออกกฎบังคับต่างๆ ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกลยุทธ์ CSR ในไทยมากขึ้น มีการทำ CSR ในมิติทางด้านสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นตามกระแสโลกร้อน มีการเพิ่มสูงขึ้นทั้งงบประมาณ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน การทำ CSR annual report การสร้างความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล (ISR) และการลงทุนความรับผิดชอบต่อสังคม (SRI) ในไทยและทั่วโลก
Other Abstract: To study and investigate the concept of corporate social responsibility (CSR) strategies implemented by listed companies in the Stock Exchange of Thailand (SET). The study includes the analysis of CSR inside-out and outside-in process, resources used in CSR activities, CSR types and corporate intention in doing CSR activities. Moreover, this research also investigates issues related to CSR activities, stakeholder’s participation and the benefits of CSR on each stakeholder group. Finally, CSR activities implemented in Thailand were compared with those implemented worldwide. Data were collected using quantitative and qualitative methods. The content analysis of websites of listed companies in SET in the year 2009 was conducted for the quantitative analysis while the in-depth interviews of experts including academics, NGOs and reporters and the documentary analysis were done for the qualitative part. Findings show that, from all 497 SET listed companies in 27 industries, there were only 137 companies reported CSR activities on their websites. These activities focused on social, environmental, educational and economic dimensions. Regarding CSR process, it was found that most companies performed CSR-after-process more than the CSR-in-process or CSR-as-process. In addition, the hypotheses test using Chi-squares statistics revealed that there is relationship between having CSR vision and the implementation of CSR among the SET listed companies. Findings from in-depth interviews and documentary analysis show that the CSR implementations in Thailand were still in their initial phases. The practices of CSR in Thailand have just developed from corporate philanthropy into social responsibility and business practice types. However, the direction, outlook and trends of CSR in Thailand are moving towards the same as those practiced by international standard with the use of regulating new rules and increasing of budget.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28091
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1464
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1464
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
voraparn_eu.pdf5.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.