Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28135
Title: | การใช้คอมพิวเตอร์กับระบบบัญชีระหว่างธนาคาร |
Other Titles: | The use of computer in bank clearing system |
Authors: | รัตนา พงศ์พุทธิพูน |
Advisors: | ประจวบ พันธุมจินดา กฤษณพันธุ์ สุพรรณโรจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ระบบการหักบัญชีระหว่างธนาคาร เป็นระบบที่กำหนดขึ้นเพื่อให้การเรียกเก็บเงินระหว่างธนาคารเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว จึงนับเป็นระบบที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบการธนาคาร ประสิทธิภาพของระบบงานดังกล่าวมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยส่วนรวม การศึกษาถึงวิธีการพัฒนาระบบการหักบัญชีระหว่างธนาคาร จึงเป็นเรื่องที่ควรกระทำอย่างยิ่ง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงแนวทางในการพัฒนาระบบการหักบัญชีระหว่างธนาคาร จากระบบที่ใช้บุคคลปฏิบัติมาสู่ระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ การศึกษาค้นคว้าได้กระทำโดยศึกษาจากวิธีการปฏิบัติงานของสำนักหักบัญชีกรุงเทพมหานคร ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง หนังสือ บทความ และเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้เริ่มต้นศึกษาจากความเป็นมาของระบบการหักบัญชีระหว่างธนาคารและสำนักหักบัญชี ทำการศึกษาถึงวิธีดำเนินการหักบัญชีของสำนักหักบัญชีกรุงเทพมหานคร ตามระบบงานที่ใช้บุคคลปฏิบัติในปัจจุบัน ซึ่งพบว่ากำลังประสบปัญหาหลายประการ เนื่องจากปริมาณเช็คเรียกเก็บเงินผ่านระบบได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ช่วงเวลาของการดำเนินการหักบัญชีมีจำกัด ขั้นตอนการคำนวณยอดจำนวนเงินตามเช็ค และการนับจำนวนฉบับของเช็คจะต้องกระทำทุกครั้งที่มีการรับส่งเช็คผ่านมือ ความผิดพลาดเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องจากพนักงานต้องทำงานแข่งกับ เวลา ปัญหาเหล่านี้นับวันมีแต่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต จึงมีความจำเป็นอย่างรีบด่วนที่ระบบงานดังกล่าวจะต้องได้รับการพัฒนาไปสู่ระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้วิธีการพิมพ์รหัสข้อมูลด้วยหมึกแม่เหล็กบนเช็ค ใช้เครื่องอ่านและแยกเช็ค และเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผล ระบบการหักบัญชี บัญชีระหว่างธนาคารโดยใช้คอมพิวเตอร์อาจแบ่งเป็น 2 ระบบ คือระบบรวมดำเนินการ ณ ศูนย์หักบัญชี และระบบกระจายการดำเนินการสู่ธนาคารสมาชิก ทั้งสองระบบมีความเหมาะสมในการเลือกใช้ต่างกันตามสภาวการณ์ จากการศึกษาพัฒนาการของระบบการหักบัญชีระหว่างธนาคารในประเทศต่างๆซึ่งได้แก่ ประเทศอังกฤษ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเกาหลี พบว่าส่วนใหญ่ได้พัฒนาไปสู่ระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว จากข้อพิจารณาต่างๆ ในการเลือกระบบงานระหว่างระบบรวมดำเนินการ ณ ศูนย์หักบัญชี และระบบกระจายการดำเนินการสู่ธนาคารสมาชิก แสดงให้เห็นว่าระบบรวมดำเนินการ ณ ศูนย์หักบัญชีเหมาะสมมากกว่าสำหรับการนำมาใช้กับสำนักหักบัญชีกรุงเทพมหานคร การพัฒนาดังกล่าวย่อมต้องประสบปัญหาและอุปสรรคต่างๆเป็นธรรมดา จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจังของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการแก้ปัญหา ผลจากการพัฒนาดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆคือ สามารถลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานโดยบุคคลและลดข้อผิดพลาด เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการหักบัญชีระหว่างธนาคารให้มากขึ้น และสามารถนำมาใช้กับปริมาณงานที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต |
Other Abstract: | Bank clearing system is a system designed to facilitate and speed up collections among banks. Therefore, it is very important for Banking System and its efficiency can affect the whole economic system, as well. The study of the means to improve and develop this clearing system is encouraged. This thesis aims at studying the way to develop clearing system among banks from manual system to computer one. The study is based on such sources as the clearing practices of the Bangkok Clearing House, information from interviewing relevant persons, related books, articles, and other relevant documents. The study begins with examining the clearing system among banks and the clearing house. From studying the procedures used in the Bangkok Clearing House, it is found that a lot of problems exist. The volume of cheques have been increasing day by day but the time provided for clearing is constantly limited. The step of calculating amount and volume of cheques has to take place every time when the cheques are delivered. Errors also often happen. These problems are increasing more and more so that the development to computer system is urgently needed. It is by the way of encoding magnetic ink on the code line of cheques and using the reader & sorter and the computer to process the clearing data. Computer clearing system among banks can be divided into two systems: the Centralization and the Decentralization. Each system is suitable for each different environment. From studying the development of clearing system among banks in other countries such as England, Singapore, Malaysia, Phillipines, Japan, Australia, and Korea, it is found that clearing system in most of these countries have already been developed to a computerized one. Considering factors needed to make a decision to choose the systems between Centralization and Decentralization, the writer finds that Centralization is more appropriate for the Bangkok Clearing House. However, the development will generally face some problems and obstacles. The co-operation from all of the related persons to overcome those problems and obstacles are necessary. The advantages from the stated development are to reduce steps of manual work and human-errors and increase the efficiency of the clearing system. Computer clearing system can also solve the problems in long run because it can be applied in those work the volume of which will increase in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | บัญชีมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบัญชี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28135 |
ISBN: | 9745665096 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rattana_ph_front.pdf | 4.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rattana_ph_ch1.pdf | 1.64 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rattana_ph_ch2.pdf | 13.62 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rattana_ph_ch3.pdf | 9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rattana_ph_ch4.pdf | 21.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rattana_ph_ch5.pdf | 14.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rattana_ph_ch6.pdf | 5.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rattana_ph_ch7.pdf | 2.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rattana_ph_back.pdf | 681.17 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.