Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28213
Title: การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้สุนทรียสนทนาและการสื่อสารอย่างสันติเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารภายในครอบครัวของผู้ปกครองเยาวชนผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด
Other Titles: Development of a non-formal education activity model based on bohm’s dialogue and nonviolent communication to enhance intra-familial communication ability of drug rehabilitation youth’s parents
Authors: ชไมพร ดิสถาพร
Advisors: วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา
พงษธร ตันติฤทธิศักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: wirathep.p@chula.ac.th, wirathep@yahoo.com
opptt@mahidol.ac.th
Subjects: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
ผู้ปกครองของผู้ติดยาเสพติด
การสื่อสารในครอบครัว
ผู้ติดยาเสพติด -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้สุนทรียสนทนาและการสื่อสารอย่างสันติเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารภายในครอบครัวของผู้ปกครองเยาวชนผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด (2) ทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน (3) ศึกษาปัจจัย และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในการนำกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองเยาวชนผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด ณ สถาบันธัญญารักษ์จำนวน 15 ท่าน โดยเข้าร่วมกิจกรรมเชิงปฏิบัติการต่อเนื่อง 10 วัน หลังจากนั้นจึงปฏิบัติการการเรียนรู้ด้วยตนเองจากคู่มือเป็นเวลา 21 วัน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์การฝึกปฏิบัติ รวมระยะเวลาของกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งสิ้น 100 ชั่วโมง หรือ 33 วัน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) รูปแบบกิจกรรมที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ คือ 1) วัตถุประสงค์ 2) เนื้อหาสาระ 3) กิจกรรมการเรียนรู้ 4) ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 5) กระบวนกร/วิทยากร 6) ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม 7) บรรยากาศในการเรียนรู้ 8) สื่อประกอบกิจกรรม 9) การวัดและประเมินผล จากการทดลองและสังเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดสุนทรียสนทนาและการสื่อสารอย่างสันติ พบว่ากิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วย 1. การหยุดไว้ก่อน 2. การทบทวนและทำความเข้าใจตนเอง 3. การทบทวนและทำความเข้าใจผู้อื่น 4. การสื่อสารจากใจ โดยมีหัวใจของการเรียนรู้ 1) ด้านการจัดกิจกรรมให้เข้าใจง่ายและสนุก เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใคร่ครวญในการสื่อสารกับบุคคลในครอบครัว 2) ด้านกระบวนกร ต้องให้การสนับสนุน ช่วยเหลือผู้เข้าร่วมกิจกรรมในการเรียนรู้ มีความยืดหยุ่นในเรื่องของเวลาในการจัดกิจกรรม และการเปิดใจรับฟังผู้เข้าร่วมกิจกรรม นอกจากนี้กระบวนกรควรเรียนรู้และฝึกปฏิบัติทักษะการเป็นกระบวนกรที่ดี (2) ผลการทดลองใช้รูปแบบกิจกรรม พบว่า ผู้ปกครองมีความสามารถด้านการสื่อสารภายในครอบครัว และมีทักษะสุนทรียสนทนาและการสื่อสารอย่างสันติสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ซึ่งพัฒนาความสามารถด้านการสื่อสารภายในครอบครัวของผู้ปกครอง คือ 1. ด้านพื้นฐานการเข้าใจบุคคล 2. ด้านการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ 3. ด้านการสื่อสารความรู้สึกนึกคิดของตนเอง 4. ด้านการสื่อสารความรู้สึกและร่วมแก้ปัญหา และ (3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน คือ 1. การสนับสนุนจากองค์กร 2. เนื้อหาสาระ 3. กิจกรรมการเรียนรเงื่อนไขของการใช้รูปแบบกิจกรรม คือ 1. ความสามารถในการอ่านเขียน 2. ความตั้งใจฝึกทักษะสุนทรียะสันติสนทนาอย่างต่อเนื่อง 3. ความไว้วางใจซึ่งกันและกันทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถร่วมเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน
Other Abstract: The purposes of this research were to: (1) develop a non-formal education activity model based on Bohm’s dialogue and Nonviolent communication (NVC) for enhancing intra-familial communication ability of drug rehabilitation youths’ parents; (2) implement a developed non-formal education activity model; and (3) study factors and conditions related to the implementation of the developed model. The research samples were 15 youths’ parents who participated in 10 days continuing performance activity and 21 days for self study based on the developed manual and opinion sharing session. Thus, the program period is totally 100 hours or 33 days. The findings were (1) the components of the developed model included 1) objects, 2) contents, 3) learning activities, 4) learners, 5) facilitator, 6) time duration; 7) learning atmosphere; 8) learning materials/resources, and 9) assessment and evaluation. The learning activities consisted of 1) pause, 2) understand yourselves, 3) understand others, and 4) speaking. The heart of learning of this model were 1) simple and fun activities arrangement and the opportunity to introspect before speaking out; and 2) flexible, time management, open heart, and supportive facilitator and the practitioners are able to learn and practice the skills to become good facilitators. (2) The result of the implementation was higher than before attending the program at .05 level of significance. It showed that the participants have enhanced their intra-familial communication, Bohm’s dialogue and NVC. The skills of the intra-familial communication included 1) the basis for personal understanding, 2) active listening, 3) I-message, and 4) no-lose method. (3) The factors concerning the developed training model were 1) organizational support, 2) training contents, and 3) learning activities. The conditions effecting the model implementation were 1) the ability in reading and writing, 2) effort and the intention of NVC and dialogue practicing, and 3) trust between the facilitators and the learners.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28213
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1501
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1501
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chamaiporn_di.pdf7.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.