Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28237
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรพล สุดารา-
dc.contributor.authorเยาวรัตน์ พุฒิมานรดีกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-12-30T15:49:24Z-
dc.date.available2012-12-30T15:49:24Z-
dc.date.issued2527-
dc.identifier.isbn9745636932-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28237-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ เรื่องนี้เป็นการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของกรุงเทพฯ และผลกระทบทางสภาวะแวดล้อมต่อประชาชน ในช่วงรัชกาลที่ 5-7 โดยศึกษาถึงสภาพการณ์การเปลี่ยนแปลง สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงภายใต้เงื่อนไขและปัจจัยทางกายภาพและทางสังคม และผลกระทบทางสภาวะแวดล้อมต่อประชาชนจากการเปลี่ยนแปลงนั้น ในการศึกษาถึงสภาพการณ์การเปลี่ยนแปลง ได้แสดงถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยทางเศรษฐกิจต่อการเปลี่ยนแปลงของเมืองกรุงเทพฯ ในช่วงหลังการทำสนธิสัญญาเบาริ่ง ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเมืองในลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ การขยายตัวทางด้าน กายภาพ และการทวีบทบาทหน้าที่ของเมืองในด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม โดยได้แสดงถึงปรากฏการณ์จากการเปลี่ยนแปลงนั้นหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ อัตราความต้องการใช้ที่ดินในเมืองที่ทวีสูงขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การพิจารณาถึงเงื่อนไขและปัจจัยทางกายภาพและทางสังคมต่อการเปลี่ยนแปลงของเมือง อันจะชี้ให้เห็นว่า ต่อกระแสความต้องการใช้ที่ดินที่สูงเช่นนี้ รัฐสามารถพัฒนาเมืองและควบคุมการใช้ที่ดินไค้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด หลังจากได้ภาพของการเปลี่ยนแปลงของเมืองกรุงเทพฯดังกล่าวแล้วข้างต้น ไค้นำมาพิจารณาถึงสาเหตุเบื้องหลังของกระบวนการเปลี่ยนแปลง โดยพิจารณาภายใต้เงื่อนไข และปัจจัยทางกายภาพและทางสังคมที่จะพึงมีต่อการเปลี่ยนแปลงของเมือง ทั้งนี้ได้นำเสนอประเด็นเพื่อพิจารณาหลายประเด็นได้แก่ สถาบันสังคมและระบบกรรมสิทธิ์ในที่ดินกับการขยายตัวของเมือง ความเหลื่อมล้ำของสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมกับการแสวงประโยชน์จากการพัฒนาเมืองโดยรัฐ อำนาจการปกครองของสถาบันสังคมกับการจัดระเบียบชุมชนและการใช้ที่ดิน ปรากฏการณ์สำคัญจากการเปลี่ยนแปลงของกรุงเทพฯ : ปัญหาจากเงื่อนไขทางกายภาพและภาพสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของบทบาทหน้าที่และคุณประโยชน์ใช้สอยของเมือง นโยบายและบทบาทของรัฐในการแก้ปัญหาของเมืองและการจัดการระบบสุขาภิบาล นโยบายและบทบาทของรัฐในการพัฒนาระบบชลประทานเพื่อสนองรับการเปลี่ยนแปลงของเมืองภายใต้ระบบเศรษฐกิจเกษตรกรรมเพื่อการค้า ซึ่งประเด็นต่างๆ ดังกล่าว ล้วนแสดงถึงความเป็นเงื่อนไขที่ทำให้รัฐไม่สามารถพัฒนาเมืองและควบคุมการใช้ที่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสภาวะแวดล้อม อันจะส่งผลกระทบต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านคุณภาพชีวิต จากสภาพการณ์การเปลี่ยนแปลงของเมืองกรุงเทพฯและการพิจารณาถึงเงื่อนไขและปัจจัยทางกายภาพและทางสังคมต่อการเปลี่ยนแปลงของเมืองดังกล่าวข้างต้น ได้นำผลการศึกษาดังกล่าวมาศึกษาต่อสภาพสังคมกรุงเทพ ในช่วง รัชกาลที่ 5-7 โดย พิจารณาถึงความสัมพันธ์เชิงปฏิสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของเมืองและผลกระทบทางสภาวะแวดล้อมต่อประชาชน ผลปรากฏว่า สภาพสังคมที่ชนชั้นสูงและกลุ่มผู้ประกอบการในภาคพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม กับชนสามัญ ได้แก่ กลุ่มกรรมกรและชาวนาในชานเมืองและ ปริมณฑลกรุงเทพฯ มีความเหลื่อมล้ำกันมากทางด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมและการที่ที่ดินซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญตกอยู่ในมือของกลุ่มผู้ครองอำนาจทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการที่เมืองกรุงเทพได้รับการพัฒนาทางวัตถุเป็นแบบเมืองสมัยใหม่ ทำให้วิถีการดำรงชีวิตของประชาชนกรุงเทพฯเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและก่อกำเนิดวัฒนธรรมเมืองที่มีเงินตราเป็นเครื่องเกื้อหนุน โดยมีชนชั้นสูงและกลุ่มผู้ประกอบการเป็นผู้มีบทบาททางวัฒนธรรม ความแตกต่างทางฐานะทางเศรษฐกิจ และช่องว่างทางวัฒนธรรมระหว่างชนชั้นสูงและกลุ่มผู้ประกอบการกับชนสามัญที่บังเกิดขึ้น ทำให้ความสามารถในการปรับตัวของประชาชนสองชนชั้นดังกล่าวภายใต้ระบบเศรษฐกิจและวิถีการดำรงชีวิตแบบใหม่ในสังคมเมืองมีไม่เท่าเทียมกัน โดยที่ฝ่ายชนสามัญ ไท้แก่ กลุ่มกรรมกรและชาวนา จะเป็นฝ่ายได้รับผลกระทบทางสภาวะแวดล้อมทางสังคมและคุณภาพชีวิตในด้านลบ สภาพสังคมดังกล่าวได้ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายของชาวนาจากปริมณฑลกรุงเทพเข้าไปหางานหาในชุมชนเมือง ซึ่งเท่ากับเป็นการสร้างปัญหาชุมชนแออัดและปัญหาสภาวะแวดล้อมอื่นๆ ให้สูงขึ้น อันก่อให้เกิดวิวัฒนาการของปัญหาเมืองกรุงเทพฯถึงในปัจจุบัน-
dc.description.abstractalternativeThis thesis is aimed at studying the changes of Bangkok in the reigns of King Rama vth - VIIth and its subsequent environmental impacts on the people. The study will emphasize the changing situations, the causes of the changes under the geographical and social conditions and factors, and the subsequent environmental impacts on the people due to those changes. The study of the changing situations had revealed that there were relationships between the economic factors and the changes of Bangkok after the Bowring Act. This brought about two types of the changes: the geographical expansion and the increasing role of the city in terms of commerce and industry. The most important cause of the changes was the increasing rate of land demand in the city which led to the consideration of the geographical and social conditions and factors that affected the changes of the city. These would prove how efficiently the government could develop the city and control the land exploitation when there was such a high demand. After that, the causes behind the changing process under the geographical and social conditions and factors are brought into consideration. These causes are: the social institutions, the system of land proprietary right and the expansion of the city; the inequality of socio-economic status and the benifits of the government from the city development; the bargaining power of the social institutions and the community regulations and the land exploitation, the important phenomena resulted from the changes of Bangkok, the problems of geographical conditions and the reflection of the changes in the role and the utilization of the city; the policy and role of the government in solving the city problems and the management of the sanitary system; and the government's policy and role in developing the irrigation system in order to comply with the changes of the city under the system of economic - agriculture for commerce. These mentioned causes brought into picture the conditions under which the government was unable to develop the city and efficiently control the land exploitation. Therefore, it led to the environmental problems which had the effects upon the people's way of life especially in terms of the quality of life. Based on the changing situations of Bangkok and the consideration of the geographical and social conditions and factors mentioned above, this thesis has continued to study about the society in Bangkok in the reigns of King Rama vth - VIIth by aiming at the interaction on the changes of the city, and the subsequent environmental impacts on the people. The result of the study is that there were factors which changed the people's way of life in Bangkok and created urban culture which had money support by having the aristocrats and the business groups took the leading role in the culture, These factors were: a wider gap in the socio-economic status between a group of the aristocrats and the commercial and industrial class and a group of the common men such as workers and peasants in suburban areas, the land which was the important factor was in the hands of the powerful economic groups, and the development in materials that changed Bangkok into a modern city. The differences in economic and cultural gap between the aristocrats, the business groups and the common men caused the difference in the adaptation of these two classes of people under the new economic system and way of life in the city. The common men, workers and peasants, were the ones who received negative effects from this new social environment and quality of life. This sort of society caused the peasants from the suburban areas to migrate to urban areas in order to seek jobs. Hence, it increased the problems of community congestion and other surroundings problems which led to the growing of problems in Bangkok up till now.-
dc.format.extent9444255 bytes-
dc.format.extent33224413 bytes-
dc.format.extent68905689 bytes-
dc.format.extent18975218 bytes-
dc.format.extent19850316 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการเปลี่ยนแปลงของกรุงเทพในช่วงรัชกาลที่ 5-7 และผลกระทบทางสภาพแวดล้อมต่อประชาชนen
dc.title.alternativeThe changes of Bangkok during the reigns of King Rama Vth-VIIth and Its subsequent enviromental impact on the peopleen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yawarat_ph_front.pdf9.22 MBAdobe PDFView/Open
Yawarat_ph_ch1.pdf32.45 MBAdobe PDFView/Open
Yawarat_ph_ch2.pdf67.29 MBAdobe PDFView/Open
Yawarat_ph_ch3.pdf18.53 MBAdobe PDFView/Open
Yawarat_ph_back.pdf19.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.