Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28367
Title: ความคาดหวังและความพึงพอใจในการเปิดรับข่าวสารจากสื่อ เพื่อการประชาสัมพันธ์ภายในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ของนักศึกษาและบุคลากร
Other Titles: Students and staff's expectancy and gratification from exposure to Ramkhamhaeng University's internal public relations media
Authors: ลีนา ลิ่มอภิชาต
Advisors: พีระ จิรโสภณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: มหาวิทยาลัยรามคำแหง -- การประชาสัมพันธ์
การสื่อสารในองค์การ
การประชาสัมพันธ์
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา กรรมการ เปิดรับข่าวสารความคาดหวัง และความพึงพอใจในการเปิดรับข่าวสารของนักศึกษาและบุคลากรจากสื่อประชาสัมพันธ์ภายในมหาวิทยาลัยรามคำแหง 5 ชนิด คือ หนังสือพิมพ์ข่าวรามคำแหง เสียงตามสาย เอกสารข่าวประชาสัมพันธ์ วิทยุการศึกษา ม.ร. และโทรทัศน์การศึกษา ม.ร. โดยสุ่มตัวอย่างศึกษาจากนักศึกษาและบุคลากร จำนาน 400 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มนักศึกษาที่มาฟังคำบรรยาย กลุ่มนักศึกษาที่ศึกษาด้วยตนเอง และกลุ่ม บุคลากร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยในการเปิดรับข่าวสาวจากสื่อประชาสัมพันธ์ทั้ง 5 ชนิด เท่ากับ 2.52 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าปานกลางเล็กน้อย สื่อประชาสัมพันธ์ที่กลุ่มตัวอย่าง เปิดรับบ่อยที่สุด เรียงตามลำดับ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ข่าวรามคำแหง เสียงตามสาย เอกสาวข่าวประชาสัมพันธ์ โทรทัศน์การศึกษา ม. ร. และวิทยุการศึกษา ม. ร. 2. กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความคาดหวังในการเปิดรับข่าวสาวจากสื่อประชาสัมพันธ์ทั้ง 5 ชนิด เท่ากับ 3.62 ซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างมาก สื่อประชาสัมพันธ์ที่กลุ่มตัวอย่างมีความคาดหวังสูงสุด เรียงตามลำดับ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ข่าวรามคำแหง เอกสาวข่าวประชาสัมพันธ์ เสียงตามสาย โทรทัศน์ การศึกษา ม.ร. และวิทยุการศึกษา ม.ร. 3. กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการ เปิดรับข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์ทั้ง 5 ชนิด เท่ากับ 3.12 ซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่าปานกลางเล็กน้อย สื่อประชาสัมพันธ์ที่กลุ่มตัวอย่างมีความ พึงพอใจสูงสุด เรียงตามลำดับ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ข่าวรามคำแหง เอกสาวข่าวประชาสัมพันธ์ เสียงตามสาย โทรทัศน์การศึกษา ม.ร. และวิทยุการศึกษา ม.ร. 4. กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาวจากสื่อประชาสัมพันธ์ทั้ง 5 ชนิด แตกต่างกัน โดยกลุ่มบุคลากรมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการ เปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์สูงกว่าทุกกลุ่ม รองลงมาได้แก่ กลุ่ม นักศึกษาที่ศึกษาด้วยตนเอง และกลุ่มนักศึกษาที่มาฟ้งคำบรรยาย 5. กลุ่มนักศึกษากับกลุ่มบุคลากรมีความคาดหวังและความพึงพอใจในการเปิดรับข่าวสาวจาก สื่อประชาสัมพันธ์ทั้ง 5 ชนิดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 6. ความคาดหวังในการ เปิดรับข่าวสาวจากสื่อประชาสัมพันธ์ทั้ง 5 ชนิด ของนักศึกษาและ บุคลากรไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับ แต่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจ โดยความคาดหวัง ในการเปิดรับสื่อเสียงตามสายมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจสูงสุด และความคาดหวังในการเปิดรับสื่อวิทยุการศึกษา ม.ว. มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่ำสุด
Other Abstract: The main propose of this research is to study the exposure, the expectation and the gratification of Ramkhamhaeng University's students and staffs from the 5 internal public relations media: (1) RU. Newsletter, (2) Public Address, (3) News Release, (4) RU. Educational Radio Program, and (5) RU. Educational Television Program. The respondents are 400 Ramkhamhaeng's students and staffs classified into 3 groups: (1) classroom-attending student group, (2) self-studying student group, and (3) personnel group (lecturers and administrative staffs). Questionnaires were used to collect the data. Statistical procedures used for data analysis were percentage and mean computations, Pearson product moment correlational analysis and ANOVA. Results of the study are as follows: 1. The respondents were exposed to the 5 internal public relations media at below the moderate level. The internal public relations media which respondents got highest exposure were: (1) RU. Newsletter, (2) Public Address, (3) News Release, (4) RU. Educational Television Program, and (5) RU. Educational Radio Program, respectively. 2. The respondents had an expectancy at relatively high level on the 5 internal public relations media. The internal public relations media which respondents got highest expectancy were: (1) RU. Newsletter, (2) News Release, (3) Public Address, (4) RU. Educational Television Program, and (5) RU. Educational Radio Program, respectively. 3. The respondents were gratified by the 5 internal public relations media at above the moderate level. The internal public relations media which respondents got highest gratification were: (1) RU. Newsletter, (2) News Release, (3) Public Address, (4) RU. Educational Television Program, and (5) RU. Educational Radio Program, respectively. 4. There was a significant difference between student group and personnel group in media exposure. Personnel group had highest exposure followed by self-studying student group and classroom-attending student group 5. There was no significant difference between student group and personnel group in expectancy and gratification on the 5 internal public relations media. 6. The expectancy from the 5 internal public relations media did not significantly correlate with media exposure but significantly correlate with the gratification. The highest correlation found in Public Address media and the lowest correlation in RU. Educational Radio Program.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28367
ISBN: 9745843113
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Leena_li_front.pdf6.4 MBAdobe PDFView/Open
Leena_li_ch1.pdf5.36 MBAdobe PDFView/Open
Leena_li_ch2.pdf18.01 MBAdobe PDFView/Open
Leena_li_ch3.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open
Leena_li_ch4.pdf33.76 MBAdobe PDFView/Open
Leena_li_ch5.pdf8.2 MBAdobe PDFView/Open
Leena_li_back.pdf6.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.