Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28528
Title: การใช้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์เพื่อเปลี่ยนภาพพจน์ธนาคารทหารไทย (2517-2533)
Other Titles: The use of corparate advertising on television for the image improvement of the Thai Military Bank, Ltd. (1970-1990)
Authors: เอมอร ณรงค์
Advisors: พนา ทองมีอาคม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาถึงการใช้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ของธนาคารทหารไทยในการเปลี่ยนภาพพจน์ของธนาคาร จากธนาคารที่ประชาชนเข้าใจว่าให้บริการเฉพาะข้าราชการ - ทหาร สู่ธนาคารที่บริการประชาชนทั่วไป โดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาและความหมายของบทภาพยนตร์และตัวภาพยนตร์โฆษณาของธนาคารที่ออกอากาศเผยแพร่ทางโทรทัศน์ รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องและศึกษาจากข้อมูลวิจัยเป็นระยะๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 - 2533 ทั้งนี้วิธีการศึกษาเป็นการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า เนื้อหาสาระและความหมายรวมทั้งวิธีการเปลี่ยนภาพพจน์ของธนาคารทหารไทย สามารถแบ่งได้ 3 ยุคด้วยกัน คือ ยุคแรกเป็นยุคที่ธนาคารเปิดตัวออกสู่สาธารณชน จึงมีการโฆษณาด้วยการสื่อความหมายโดยการนำบริการต่างๆ ของธนาคารมาบอกกล่าวและนำเสนอให้ประชาชนรับทราบ ยุคที่สองเป็นยุคที่โฆษณาด้วยการสื่อความหมายในแนวของภาพยนตร์ในรูปแบบต่างๆ กัน และยุคที่สามซึ่งเป็นยุคของธนาคารพาณิชย์สมบูรณ์แบบ มีการโฆษณาไปตามบริบททางสังคม และสื่อความหมายด้วยการนำความทันสมัยของการให้บริการประชาชนเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ จากผลของการศึกษาวิจัยสรุปได้ว่าปัจจุบันประชาชนยอมรับภาพพจน์ใหม่ของธนาคารทหารไทย มีประชาชนมาใช้บริการที่ธนาคารทหารไทยมากขึ้น ธนาคารก้าวขึ้นมาเป็นธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศ แสดงให้เห็นว่าสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์มีบทบาทและมีส่วนสำคัญที่ทำให้ประชาชนยอมรับธนาคารทหารไทย อีกทั้งเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนในการส่งเสริมให้ธนาคารขยายสาขาเพิ่มมากขึ้นกว่า 200 แห่ง เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกในการมาใช้บริการของประชาชน
Other Abstract: This study examines the use of television corperate advertising by the Thai Military Bank to improve its image. Having long been perceived as serving only government and military personnel, the bank found it necessary to make itself known instead as a bank for the general public. As a qualitative research, data were based on critical analysis of commercial scripts and film texts, interviews with the people involved, and research on literature from 1976 to 1990.Results indicate that the bank’s use of T.V. corperate advertising can be divided into three phases according to the commercials, the meaning they conveyed, and their approach to image improvement. During the first phase the bank aimed at introducing itself to the public. The commercials would therefore informed people about available services. During the second phase the commercials focused on improving the image of the bank using culture - related themes. During the third phase, to project an image of a fully developed commercial bank, the commercials would informed people about modern and advanced services in styles congruent with the social context. Results also suggest that, at present, the new image of the bank has been widely accepted. More and more people come to the bank for services and, consequently, the bank is now ranked among the country’s leading financial institutions. These indicate that the television commercials have played a major role in raising public acceptance. Also, as an important supporting factor, the television commercials have facilitated the expansion of over 200 branches to enhance customer service.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2535
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28528
ISBN: 9745813753
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Emorn_na_front.pdf7.49 MBAdobe PDFView/Open
Emorn_na_ch1.pdf4.73 MBAdobe PDFView/Open
Emorn_na_ch2.pdf11.66 MBAdobe PDFView/Open
Emorn_na_ch3.pdf8.17 MBAdobe PDFView/Open
Emorn_na_ch4.pdf37.45 MBAdobe PDFView/Open
Emorn_na_ch5.pdf29.44 MBAdobe PDFView/Open
Emorn_na_ch6.pdf31.83 MBAdobe PDFView/Open
Emorn_na_ch7.pdf4.41 MBAdobe PDFView/Open
Emorn_na_back.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.