Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28572
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชนกพร จิตปัญญา | - |
dc.contributor.advisor | สุชาต ไชยโรจน์ | - |
dc.contributor.author | พูลสุข หิรัญสาย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-01-20T04:35:58Z | - |
dc.date.available | 2013-01-20T04:35:58Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28572 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของการโปรแกรมจัดการปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจต่อ ระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยหลังการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจครั้งแรก ที่เข้ารับการรักษา ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 40 รายแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 20 ราย และกลุ่มทดลอง 20 ราย โดยคำนึงถึงความคล้ายคลึงกันในเรื่องอายุ เพศ ระดับไขมันในเลือด ยาลดไขมัน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมจัดการปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและการพยาบาลตามปกติ ซึ่งโปรแกรมนี้ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแนวคิด บทบาทพยาบาลในการจัดการปัจจัยเสี่ยงของหลอดเลือดของSol et al. (2005) โดยใช้แนวทางการจัดการตนเองตามพื้นฐานของสมรรถนะแห่งตนของแบนดูรา(Bandura,1997)โดยมีกิจกรรมคือ การประเมิน การเพิ่มสมรรถนะในการจัดการตนเอง การเป็นที่ปรึกษา การกำหนดเป้าหมาย การกำหนดรูปแบบ การติดตามผู้ป่วย การป้อนกลับและประเมินความก้าวหน้า โดยจะติดตามผู้ป่วยตั้งแต่ก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลจนกระทั่งมาติดตามการรักษาหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลทางสรีรวิทยา แบบบันทึกการติดตามทางโทรศัพท์ แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจและระดับไขมันในเลือด และแบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองในการจัดการปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งผ่านการตรวจสอบค่าความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจและระดับไขมันในเลือดมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่า KR 20 ได้เท่ากับ 0.71 สำหรับแบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองในการจัดการปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.972 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจภายหลังได้รับโปรแกรมจัดการปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมีการลดลงของระดับไขมันในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (mean =181.90 ) 2. ผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจภายหลังได้รับโปรแกรมจัดการปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมีระดับไขมันในเลือดแตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t =2.262) | en |
dc.description.abstractalternative | This quasi - experimental research was to compare the effect of vascular risk management program on cholesterol level in patients after coronary artery bypass graft. The 40 subjects were patients undergoing coronary artery bypass graft at Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, and were selected by a purposive sampling. Subjects were randomized into control and the experimental group, and were matched in terms of age, gender, and total cholesterol level. The control group received routine nursing care while the experimental group received the vascular risk management program with routine nursing care. This program, was based on the concept of self-management (Sol et al., 2005) which was based on self-efficacy theory (Bandura,1997). The instruments for collecting data were the demographic data form, physiological data form, knowledge questionnaire, and perceived self-efficacy of coronary artery disease risk management questionnaire. The content validity of the research instruments were reviewed by the panel of experts. The reliability of knowledge questionnaire with KR20 = .71, and self-efficacy of coronary artery disease risk management questionnaire with Cronbach's alpha coefficient =.927. Data were analyzed using mean, standard deviation and t-test statistic. Results were as follows: 1. The total cholesterol level of experimental group after receiving vascular risk management program were statistically significant reduced at the level of .05 (mean =181.90 ) 2. The mean of total cholesterol level were significantly difference between the experimental group and the control group at level of .05 (t =2.262 ) | en |
dc.format.extent | 19542999 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.2173 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | หัวใจ -- ศัลยกรรม -- ผู้ป่วย | en |
dc.subject | หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- ปัจจัยเสี่ยง | en |
dc.subject | โรค -- ปัจจัยเสี่ยง -- การจัดการ | en |
dc.subject | ภาวะโคเลสเตอรอลสูงในเลือด | en |
dc.title | ผลของโปรแกรมจัดการปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจต่อระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ | en |
dc.title.alternative | The effect of vascular risk management program on cholesterol level in patients after coronary artery bypass graft | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Sureeporn.T@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.2173 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phunsuk_Hi.pdf | 19.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.