Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28880
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุชาติ ตันธนะเดชา-
dc.contributor.advisorปทีป เมธาคุณวุฒิ-
dc.contributor.authorวิไลวรรณ ทองเจริญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-02-17T07:26:24Z-
dc.date.available2013-02-17T07:26:24Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28880-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนามาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินมาตรฐานวิชาชีพอาจารย์ พยาบาล สังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่ม ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง กลุ่มผู้บริหารและกลุ่มอาจารย์พยาบาลสายวิชาการ ระดับปฏิบัติการ จำนวน 250 คน และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานวิชาชีพการศึกษาและวิชาชีพการพยาบาล จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย ประกอบด้วย 1) แบบการวิเคราะห์เนื้อหา 2) แบบสอบถาม ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่าดัชนีความ สอดคล้องระหว่างคำถาม เท่ากับ .91 และหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค เท่ากับ .96 3) แนวคำถามในการประชุมสนทนากลุ่ม และ 4) แบบรวบรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสาร วิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) อันดับที่หนึ่งและอันดับที่สอง วิเคราะห์เนื้อหาจากการประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจสอบ ความเหมาะสมของมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ประเมินวิชาชีพอาจารย์พยาบาลโดยผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบที่สกัดได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจมี 8 องค์ประกอบ 83 ตัวบ่งชี้ โดยองค์ประกอบสมรรถนะวิชาชีพการพยาบาลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรได้มากที่สุด ร้อยละ 31.508 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง พบว่า โมเดลการวัดตัวแปรแฝงทุกองค์ประกอบ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มาก (X² = 6.67, df = 6, P-value = 0.35216, RMSEA = 0.021, GFI = 0.99, AGFI = 0.96) และองค์ประกอบที่มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) สูงมากกว่าร้อยละ 60 คือ องค์ประกอบสมรรถนะวิชาชีพการพยาบาล (R² = 0.87) องค์ประกอบการสอน (R² = 0.77) และองค์ประกอบ คุณวุฒิและความรู้ (R² = 0.62) ตามลำดับ ผลการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพอาจารย์พยาบาล พบว่า มาตรฐานวิชาชีพ อาจารย์พยาบาล ประกอบด้วย มาตรฐานหลัก 3 มาตรฐาน 7 องค์ประกอบ 57 ตัวบ่งชี้ คือ องค์ประกอบที่ 1 คุณวุฒิ ประสบการณ์ และความรู้ 8 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 สมรรถนะวิชาชีพการพยาบาล 13 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 การสอน 12 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 การวิจัยและงานวิชาการ 5 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 5 การ บริการวิชาการ 3 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 6 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม 4 ตัวบ่งชี้ และ องค์ประกอบที่ 7 จริยธรรมและจรรยาบรรณ 12 ตัวบ่งชี้ ลักษณะเกณฑ์ประเมินเป็นแบบ Rubric Score 5 ระดับ กำหนดค่าน้ำหนักการประเมินตามความสำคัญขององค์ประกอบในแต่ละสถาบัน และให้นำมาใช้ประเมินเพื่อการ รับรองมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพอาจารย์พยาบาล ทุก 5 ปีen
dc.description.abstractalternativeObjectives of this descriptive study were to develop and validate factors and indicators of professional standards for nursing faculty under autonomous universities. The samples were the related documents, 250 nursing faculty, and 10 experts. Five level Likert's scale questionnaires were tested for validity (IOC = .91) and reliability (Cronbach's Alpha Coefficient = .96). Data were obtained from content analysis, questionnaire survey, focus group and connoisseurship. The data analysis included exploratory factor analysis by SPSS program and determining confirmatory factors by LISREL program. Research findings from exploratory factor analysis revealed the model of eight factors and 83 indicators. Nursing Competency factor accounted for the largest percentage of variance (31.508 %). The measurement model with second confirmatory factor analysis was validated and best fitted to empirical data (X² = 6.67, df = 6, P-value = 0.35216, RMSEA = 0.021, GFI = 0.99, AGFI = 0.96). Three of the eight factors had higher Squared Multiple Correlations (R²) than .60. They were Nursing Competency (R²= .87), Teaching (R²= .77), Education and Knowledge (R²= .62) respectively. The professional standards for nursing faculty were found to consist of seven factors and 57 indicators: 1) Education Experience and Knowledge 8 indicators, 2) Nursing Competency 13 indicators, 3) Teaching 12 indicators, 4) Research and Academic Work 5 indicators, 5) Academic Service 3 indicators, 6) Art-Culture and Environment 4 indicators and 7) Ethic 12 indicators. The five level rubric score is recommended to be used with these standard measures for nursing faculty evaluation every five years.en
dc.format.extent5776428 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1975-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอาจารย์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectวิชาชีพ -- มาตรฐานen
dc.subjectพยาบาล -- อาจารย์en
dc.titleการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพอาจารย์พยาบาล สังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐen
dc.title.alternativeThe development of professional standards for nursing faculty under autonomous universitiesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuchart.T@Chula.ac.th-
dc.email.advisorPateep.M@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1975-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
vilaivan_th.pdf5.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.