Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29057
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารกับความรู้เรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The correlation between media exposure and knowledge about value-added tax of value-added tax payer in Bangkok metropolis
Authors: สุภิดา ฉัตราภิรักษ์
Advisors: ปรมะ สตะเวทิน
Other author: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. การเปิดรับสื่อมวลชนและสื่อบุคคล 2. ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อมวลชน, สื่อบุคคลกับความรู้เรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม 3. เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อมวลชนและสื่อบุคคลกับความรู้เรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการใช้สถิติค่าที (t-test) ซึ่งประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSSˣ ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. การเปิดรับสื่อมวลชนเฉพาะที่เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจที่ไม่ใช่รายวัน วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรู้เรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม 2. การเปิดรับสื่อบุคคลเฉพาะที่เป็นบุคคลในครอบครัว ญาติพี่น้องนอกครอบครัว เพื่อนร่วมกลุ่มอาชีพ และเจ้าหน้าที่สรรพากร มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรู้เรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม 3. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อมวลชนกับความรู้เรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มมีค่าสูงกว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อบุคคลกับความรู้เรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม
Other Abstract: The purposes of this research were as follows: 1. To study the exposure of value-added tax payer to mass media and personal media. 2. To study the relationships between the exposure to mass media and personal media and the knowledge about value-added tax. 3. To compare the difference of relationships between mass media and personal media and the knowledge about value-added tax. Questionnaires were used to collect the data from a total of 322 samples. Frequency, percentage, mean, Pearson’s product moment correlation coefficient and t-test were employed for the analysis of data. SPSSˣ program was used for data processing. The results of the study were as follows: 1. Mass media exposure, especially, dailies, economic newspapers, radios and televisions positively correlated with the knowledge about value-added tax. 2. Personal media exposure, especially, members of the family, relatives, colleagues and tax officers positively correlated with the knowledge about value-added tax. 3. The correlation between the exposure to mass media and the knowledge about value-added tax was higher than the correlation between the exposure to personal media and the knowledge about value-added tax.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29057
ISBN: 9745824801
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supida_ch_front.pdf5.9 MBAdobe PDFView/Open
Supida_ch_ch1.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open
Supida_ch_ch2.pdf13.61 MBAdobe PDFView/Open
Supida_ch_ch3.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open
Supida_ch_ch4.pdf6.41 MBAdobe PDFView/Open
Supida_ch_ch5.pdf8.98 MBAdobe PDFView/Open
Supida_ch_back.pdf22.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.