Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29291
Title: | การศึกษาการจัดงานด้านวิชาการของฝ่ายวิชาการวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกองงานวิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข |
Other Titles: | A study of academic organization of academic departments in nursing colleges under the jurisdiction of the Nursing Colleges Division, Ministry of Public Health |
Authors: | มัณฑนา เหมชะญาติ |
Advisors: | วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2534 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการจัดและปัญหาในการจัดงานด้านวิชาการของฝ่ายวิชาการวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกองงานวิทยาลัยพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โดยผู้วิจัยส่งแบบสอบถมไปยังผู้บริหารและหัวหน้าแผนกวิชาในวิทยาลัยพยาบาล 21 แห่ง จำนวน 252 ฉบับ ได้รับกลับคืน 219 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 86.90 และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า การจัดงานเกี่ยวกับแผนการปฏิบัติงานด้านวิชาการ ฝ่ายวิชาการของวิทยาลัยพยาบาลทุกแห่งมีการจัดทำแผนงาน โครงการ จัดทำแผนปฏิบัติงาน จัดทำปฏิทินการศึกษา และแผนกวิชา ส่วนใหญ่มีการจัดทำแผนงาน โครงการด้านวิชาการของแผนกวิชา ส่วนปัญหาสำคัญที่พบคือ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการนำนโยบายไปจัดทำเป็นแผน การจัดงานเกี่ยวกับหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ฝ่ายวิชาการของวิทยาลัยพยาบาลทุกแห่งมีการกำหนดโปรแกรมการศึกษา จัดตารางการเรียนการสอน จัดอาจารย์เข้าสอน จัดสื่อการสอน จัดการประสานงาน และแผนกวิชา ส่วนใหญ่มีการจัดทำประมวลการสอน บันทึกการสอน จัดอาจารย์เข้าสอน จัดสื่อการสอน จัดทำคู่มือการฝึกภาคปฏิบัติ จัดการสอนซ่อมเสริม และทุกแผนกวิชาจัดให้มีการประสานงาน ส่วนปัญหาสำคัญที่พบคือ อาจารย์มีจำนวนจำกัด ทำให้ต้องรับภาระด้านการสอนมาก การจัดงานเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอน ฝ่ายวิชาการของวิทยาลัยพยาบาลทุกแห่งและแผนกวิชาส่วนใหญ่มีการควบคุมการจัดการเรียนการสอน สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาการสอนของอาจารย์ ส่วนปัญหาสำคัญที่พบคือ อาจารย์มีภาระด้านการสอนมาก ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมพัฒนาการสอนได้เท่าที่ควร การจัดงานเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล ฝ่ายวิชาการของวิทยาลัยพยาบาลทุกแห่ง มีการกำหนดระเบียบวิธีการปฏิบัติของการวัดและประเมินผลการศึกษา กำหนดตารางสอบ มอบหมายงาน รวบรวมจัดเก็บข้อสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานด้านวิชาการของฝ่ายวิชาการ สำนักแผนกวิชาทุกแผนกวิชา มีการมอบหมายงานด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา และส่วนใหญ่มีการประเมินผลการปฏิบัติงานด้านวิชาการของแผนกวิชา แต่มีการจัดทำข้อสอบมาตรฐานเป็นส่วนน้อย ส่วนปัญหาสำคัญที่พบคือ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการจัดงานเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study the organization and problems of academic departments in nursing colleges under the Jurisdiction of the Nursing College Dinision, Ministry of Public Health. Two hundred and fifty-two questionaires were sent to the nursing college administrators and heads of subject divisions. Two hndred and nineteen questionaires were returned which accounted for 86.90 percent. Data analysis was made by means of frequency count and percentage. Research findings were as follows : Concerning academic planning, all academic departments organized instructional plan, operation plan and annual instructional plan. Most subject division organized their own operation plan and program. The main problem was insufficient personnel in planning. In terms of curricular and instructional organization, all academic departments organized educational programs, instructional schedules, placement of instructors, instructional materials and academic co-ordination. Most subject divisions organized courses of study, lesson plans, manual for students’ practicum and remedial teaching. The main problem was insufficient instructors, it caused the overburden to the personnel. According to instructional development, all academic departments and most subject divisions controlled instructional standards, supported instructional activities and promoted instructor’s professional development. The main problem was that the instructors were overburden in teaching which affected their performance, and the difficulty of upgrading instructional standard. As for evaluation, all academic departments issued evaluation regulations concerning instructional evaluation, collected and storage test, assigned staff and evaluated academic performance. All subject divisions assigned evaluation tasks to instructors. Most of them evaluated their academic tasks. The subject divisions had done few standardized test. The main problem was insufficient experienced personnel to conduct evealuation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29291 |
ISBN: | 9745791121 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Monthana_he_front.pdf | 4.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Monthana_he_ch1.pdf | 4.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Monthana_he_ch2.pdf | 19.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Monthana_he_ch3.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Monthana_he_ch4.pdf | 34.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Monthana_he_ch5.pdf | 16.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Monthana_he_back.pdf | 18.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.