Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29606
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมุนี เศรษฐบุตร
dc.contributor.advisorสมภพ ลิ้มพงศานุรักษ์
dc.contributor.authorพันธ์ทิพย์ เพชรมีศรี
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-03-11T03:54:19Z
dc.date.available2013-03-11T03:54:19Z
dc.date.issued2536
dc.identifier.isbn9745827371
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29606
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536en
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝากครรภ์ต่อน้ำหนักและภาวะสุขภาพทารกแรกคลอดในแต่ละกลุ่มมารดาที่มีภาวะเสี่ยงภัยต่างกัน ในมารดาที่ฝากครรภ์และคลอดในโรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 1,540 ราย ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2534-มกราคม 2535 โดยใช้แบบประเมินเกณฑ์เสี่ยงภัยอย่างง่ายของ บุญปรีดี ศิริวงศ์ และสุกัญญา ปาริสัญญากุล แบ่งมารดาเป็น 3 กลุ่ม พบเป็นกลุ่มเสี่ยงต่ำ (คะแนน≤2), กลุ่มเสี่ยงปานกลาง (คะแนน 3-6 คะแนน), กลุ่มเสี่ยงสูง (คะแนน≥7คะแนน) ร้อยละ 44.7, 41.1 และ 14.2 ตามลำดับ ผลการศึกษาพบอัตราทารกน้ำหนักน้อย ร้อยละ 5.2, 8.9 และ 17.3 ในกลุ่มเสี่ยงต่ำ, ปานกลางและสูง ตามลำดับ อัตราทารกน้ำหนักน้อย, น้ำหนักน้อยกว่าอายุครรภ์, คะแนนแอพการ์ต่ำ, อัตราตายปริกำเนิดและอัตราการคลอดผิดปกติพบเพิ่มขึ้นตามภาวะเสี่ยงภัยที่สูงขึ้น ผลการทดสอบทางสถิติพบว่าน้ำหนักและภาวะสุขภาพทารกแรกคลอด ในมารดาทั้ง 3 กลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) แต่ความพิการแต่กำเนิดไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (P>0.05) มารดากลุ่มเสี่ยงต่ำและปานกลางส่วนใหญ่มาฝากครรภ์ในไตรมาสที่ 2 (ร้อยละ 47.7 และ 48.0 ตามลำดับ) กลุ่มเสี่ยงสูงส่วนใหญ่มาฝากครรภ์ในไตรมาสที่ 1 (ร้อยละ 47.0) กลุ่มเสี่ยงต่ำมาฝากครรภ์น้อยกว่า 4 ครั้ง มากที่สุด (ร้อยละ 17.2) ส่วนกลุ่มเสี่ยงสูงมีเพียงร้อยละ 9.6 ที่มาฝากครรภ์น้อยกว่า 4 ครั้ง เมื่อพิจารณาอายุครรภ์เมื่อมาฝากครั้งแรกของมารดาแต่ละกลุ่ม พบว่ามารดาที่ฝากครรภ์ในไตรมาสแรก พบอัตราการคลอดผิดปกติสูงกว่ามารดาที่มาฝากครรภ์ในไตรมาสหลัง ผลการทดสอบทางสถิติพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในมารดาทุกกลุ่ม (P<0.001 ในกลุ่มเสี่ยงต่ำ, ปานกลาง, P<0.05 ในกลุ่มเสี่ยงสูง ส่วนอัตราทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยส่วนใหญ่ พบในมารดาที่ฝากครรภ์ในไตรมาสแรกน้อยกว่ามารดาที่ฝากครรภ์ในไตรมาสหลัง โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เฉพาะกลุ่มเสี่ยงปานกลางเท่านั้น เมื่อพิจารณาจำนวนครั้งที่ตรวจครรภ์ พบอัตราการคลอดผิดปกติเพิ่มขึ้นตามจำนวนครั้งที่ตรวจครรภ์ ผลการทดสอบทางสถิติพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) เฉพาะกลุ่มเสี่ยงต่ำและปานกลาง ส่วนคะแนนแอพการ์เฉลี่ยพบว่าส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นตามจำนวนครั้งที่ตรวจครรภ์ ผลการทดสอบทางสถิติพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เฉพาะในกลุ่มเสี่ยงต่ำเท่านั้น อัตราทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยพบในมารดาที่ตรวจครรภ์น้อยกว่า 4 ครั้งมากที่สุด และพบลดลงเมื่อมีจำนวนครั้งการตรวจครรภ์มากขึ้นในทุกกลุ่ม ผลการทดสอบทางสถิติพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เฉพาะกลุ่มเสี่ยงปานกลาง (P<0.001) และกลุ่มเสี่ยงสูง (P<0.05) แต่ไม่พบในกลุ่มเสี่ยงต่ำ การใช้แบบประเมินภาวะเสี่ยงภัยมีประโยชน์อย่างยิ่งในการคัดกรองมารดาเพื่อค้นหาผู้ที่มีภาวะเสี่ยงภัยปานกลางและสูง เพื่อจัดบริการดูแลขณะตั้งครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยลดผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงภัยที่มีต่อน้ำหนักและสุขภาพทารกแรกคลอด ซึ่งเหมาะสมกับประเทศกำลังพัฒนาในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
dc.description.abstractalternativeThe study of the effects of prenatal care upon birth weight and the health of the new born in various maternal risk groups was carried out on 1,540 mothers who attended the antenatal clinic at Rajavithi Hospital and delivery occurred during November 1991 to January 1992. By using a simplified antepartum risk assessment scoring form of Boonpridi Sirivongs and Sukunya Parisunyakul, the pregnant women were identified into 3 groups. A low risk (score≤2), moderate risk (score 3-6), high risk (score≥7) were found in 41.1, 44.7 and 14.2% respectively. The incidence of Low birth weight in low risk, moderate risk and high risk group are 5.2, 8.9 and 17.3% respectively. The more risk, the more incidence rate of Low birth weight, small for gestational age, low apgar score, perinatal death and abnormal labour rate were found. The difference sowed statistically significant (P<0.001) for birth weight, the health of the new born and abnormal labour rate but not for congenital anomalies. It is surprisingly shown that most of the low risk and the moderate risk group attended first antenatal visit at second trimester (47.7 and 48.0% respectively) while most of the high risk group attended at first trimester. According to first antenatal visit in each group, it reveal that abnormal labour rate was found more in pregnant women who attended first antenatal visit in second and third trimester than the first trimester. The difference showed statistically significant in all groups (P<0.001 in low, moderate group, P<0.05 in high risk group). The incidence of Low birth weight was found less in pregnant women who attended first antenatal visit in first trimester than the mothers who attended in second and third trimester, but the difference showed statistically significant only in the moderate group. The more number of antenatal care visit, the more abnormal labour rate was found, but the difference showed statistically significant in only the low risk and moderate risk group. The mean apgar score was higher in mothers who had more antenatal visits but the difference showed statistically significant in only the low risk group (P<0.05). The incidence rate of Low birth weight was found most in pregnant women who had antenatal care visits less than four. The rate of Low birth weight was found less in group of women who attended more antenatal care visits, the difference showed statistically significant only in the moderate risk group (P<0.001) and the high risk group (P<0.05).
dc.format.extent5333483 bytes
dc.format.extent7534657 bytes
dc.format.extent14203504 bytes
dc.format.extent3808211 bytes
dc.format.extent17941749 bytes
dc.format.extent9605234 bytes
dc.format.extent15501153 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleผลของการฝากครรภ์ต่อน้ำหนักและสุขภาพทารกแรกคลอดในมารดาที่มีเกณฑ์เสี่ยงภัยต่างกัน ในโรงพยาบาลราชวิถีen
dc.title.alternativeThe effects of prenatal care upon birth weight and the health of the new born in different maternal risk groups at Rajavithi hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Punthip_pe_front.pdf5.21 MBAdobe PDFView/Open
Punthip_pe_ch1.pdf7.36 MBAdobe PDFView/Open
Punthip_pe_ch2.pdf13.87 MBAdobe PDFView/Open
Punthip_pe_ch3.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open
Punthip_pe_ch4.pdf17.52 MBAdobe PDFView/Open
Punthip_pe_ch5.pdf9.38 MBAdobe PDFView/Open
Punthip_pe_back.pdf15.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.