Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29639
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์-
dc.contributor.authorคานธีชา บุญยาว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-03-12T01:31:33Z-
dc.date.available2013-03-12T01:31:33Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29639-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractงานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุในแต่ละช่วงวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุที่พักอาศัยในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุบ้านบางแค จำนวน 37 คน แบ่งผู้สูงอายุออกเป็น 4 ช่วงวัย ได้แก่ 1) ผู้สูงอายุ อายุ 60-69 ปี 2) ผู้สูงอายุ อายุ 70-79 ปี 3) ผู้สูงอายุ อายุ 80-89 ปี และ 4) ผู้สูงอายุ อายุ 90-99 ปี ระยะเวลา ในการทดลอง 5 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุในแต่ละช่วงวัย จำนวน 17 แผน ซึ่งพัฒนามาจากทฤษฏีกระบวนการทำงานศิลปะของ John A. Michael ทฤษฏีการเห็นคุณค่าในตนเองของ Coopersmith แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ระดับการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ ทุกช่วงวัยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 สรุปว่ากิจกรรมศิลปะเพื่อเสเริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองสามารถนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย การจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองให้ได้ดีนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของศิลปะ การเห็นคุณค่าในตนเอง รวมถึงสมรรถภาพของผู้สูงอายุในแต่ละช่วงวัย เพื่อให้สามารถสร้างกิจกรรมที่เหมาะสม สอดคล้องกับความสนใจของผู้สูงอายุ บรรยากาศขณะปฏิบัติกิจกรรมศิลปะควรมีความสนุกสนานและเป็นกันเอง ทั้งต่อผู้สอนกับผู้สูงอายุ หรือผู้สูงอายุภายในกลุ่มเอง เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกผ่อนคลายรวมถึงกล้าแสดงความคิดเห็นร่วมกัน รวมถึงการจัดนิทรรศการศิลปะเพื่อจัดแสดงผลงานของผู้สูงอายุมีความสำคัญมากเพราะเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเกิดความภาคภูมิใจ รู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่าและเป็นส่วนหนึ่งของสังคมen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the result of art activity designed to enhance self-esteem of the elderly in different age groups. The sample of the study was 37 elderly living in Ban Bang Khae Social Welfare Development. They were categorized into 4 groups which are 60-69 years, 70-79 years, 80-89 years and 90-99 years. The duration of the art activities was 5 weeks. The research instruments were 17 lessons of art activities designed to enhance the elderly self-esteem in different age groups referring to John A. Michael’s theory work of art, and Coopersmith’s self-esteem theory, self-esteem measurement test, the observation inventory, and the questionnaires. The obtained data were analyzed into means, standard deviations compare means and t-test. The research found that self-esteem of all groups of elderly after participating in the art activities were increased at the .05 level of significance. In conclusion, those art activities could be used to promote self-esteem in elderly. The research suggested that: the art activities designed to enhance self-esteem could be effective on the condition that the course instructors need to have the basic knowledge of the art, self-esteem and performance of the elderly in different age groups which finally they would be capable of creating the most appropriate activities in according with their interests. Fun and friendly environment while conducting the activities, moreover, could be considered as an important factor since it could encourage them to express their true ideas and feelings. Furthermore, the art exhibition showing their achievements would be one of the most important factors seeing that it results in the pride among them as being a part of the society.en
dc.format.extent5902152 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1024-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectศิลปะกับผู้สูงอายุen
dc.subjectผู้สูงอายุen
dc.subjectความนับถือตนเองในผู้สูงอายุen
dc.subjectผู้สูงอายุ -- จิตวิทยาen
dc.titleการออกแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุในแต่ละช่วงวัยen
dc.title.alternativeArt activity design to enhance self esteem of the elderly in different age groupsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineศิลปศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPoonarat.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1024-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
gandhicha_bo.pdf5.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.