Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29647
Title: การวิเคราะห์การแสดงออกทางศิลปะตามทฤษฎีของวูลฟ์ฟลินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
Other Titles: An analysis of artistic expression of upper seconary school students with hearing deficiency based on wolfflin's theory
Authors: เอมอัชฌา สิลมัฐ
Advisors: ขนบพร วัฒนสุขชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Khanobbhorn.W@Chula.ac.th
Subjects: คนพิการกับศิลปะ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กหูหนวก
เด็กพิการ
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแสดงออกทางศิลปะตามทฤษฎีของวูลฟ์ฟลินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 5 ด้าน คือ 1) เส้น 2) มิติ 3) รูปทรง 4) องค์ประกอบ และ 5) รายละเอียด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินของโรงเรียนโสตศึกษา 4 โรงเรียน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งหมด 53 คน คือ 1) เศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์ 2) โสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ 3) โสตศึกษาจังหวัดนนทบุรี และ 4) โสตศึกษาจังหวัดนครปฐม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเอง ประกอบด้วยแบบประเมินการแสดงออกทางศิลปะ และแบบสังเกตพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีการแสดงออกทางศิลปะตามทฤษฎีของวูลฟ์ฟลินทั้ง 5 ด้าน โดยมีการแสดงออกและวิเคราะห์ภาพวาดได้ดีกว่าภาพที่เป็นรูปประติมากรรม แตกต่างกันตามความรู้พื้นฐานทางศิลปะและประสบการณ์รายบุคคล นอกจากนี้นักเรียนทั้งหมดยังมีการแสดงออกในรายละเอียดเกี่ยวกับภาพศิลปะที่เป็นรูปแบบตะวันออกและตะวันตกทั้งหมด จำนวน 4 ภาพ ตามทฤษฎีของวูลฟ์ฟลินในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1) เส้น (Liner) พบว่านักเรียนส่วนใหญ่สามารถแสดงออกทางศิลปะด้านเส้นและพื้นภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ได้ 1 ภาพ คือ ภาพกู่ร้อง (The Scream) 2) มิติ (Dimension) พบว่านักเรียนส่วนใหญ่สามารถแสดงออกทางศิลปะด้านระนาบและความลึกตามเกณฑ์มาตรฐานได้ 1 ภาพ คือ ภาพกู่ร้อง 3) รูปทรง (Form) พบว่านักเรียนส่วนใหญ่สามารถแสดงออกทางศิลปะด้านรูปทรงปิดและรูปทรงเปิดตามเกณฑ์มาตรฐานได้ 2 ภาพ คือ ภาพ กู่ร้อง และภาพคลื่นยักษ์แห่งคานากาวะ (The Great Wave off Kanagawa) ส่วนด้านรูปทรงปิด นักเรียนสามารถแสดงออกทางศิลปะได้ 2 ภาพ คือ ภาพขลุ่ยทิพย์ (Musical Rhythm) และภาพดาวิด (David) 4) องค์ประกอบ (Composition) พบว่านักเรียนส่วนใหญ่สามารถแสดงออกทางศิลปะด้านเอกภาพและพหุภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐานได้ 1 ภาพ คือ ภาพกู่ร้อง 5) รายละเอียด (Details) พบว่านักเรียนส่วนใหญ่สามารถแสดงออกทางศิลปะด้านความชัดเจนทั้งภาพตามเกณฑ์มาตรฐานได้ 3 ภาพ คือ ภาพขลุ่ยทิพย์ ภาพคลื่นยักษ์แห่งคานากาวะ และภาพดาวิด ด้านการแสดงออกทางพฤติกรรมในภาพรวมพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่จะให้ความสนใจในรายละเอียดและรู้จักภาพที่นำมาวิเคราะห์มากกว่าความสามารถในการตอบคำถามเรื่องความแตกต่างระหว่างศิลปะตะวันออกและตะวันตกที่มีผลต่อผลงานทัศนศิลป์
Other Abstract: The objective of research was to study of artistic expression of upper secondary school students with Hearing Deficiency based on Wolfflin’s Theory 5 parts are 1) Liner 2) Dimension 3) Form 4) Composition and 5) Details. The participants was 53 Hard of Hearing high school students of 12 grades from 4 different schools for the deaf in Bangkok and peripheral which are Setsatian School for the Deaf Under the Royal Patronage of His Royal Highness Crown Prince Maha Vajiralongkorn, Thungmahamek School for the Deaf, Nonthaburi School for the Deaf and Nakhon Pathom School for the Deaf. Equipment used in the evolution of artistic expression and observation skills. The equipment could be analyzed by finding average values and standard deviations. From the results, it was found that all students could perceive and express the artistic expression based on Wolfflin’s Theory 5 parts are better painting than sculpture. Their knowledge of art was varied; depend on their basic knowledge and their experience. The results were as follow; 1) Liner; it was found that most student could perceive linear and painterly expression only one picture (The Scream). 2) Dimension; it was found that most student could perceive plane and recession expression only one picture (The Scream). 3) Form; most students could perceive the opened form in 2 pictures (The Scream and The Great Wave off Kanagawa) and the closed form in 2 pictures (Musical Rhythm and David) 4) Composition; most students could perceive unity and multiplicity expression only one pictures (The Scream). 5) Details; most students could perceive the absolute clarity 3 pictures (Musical Rhythm, The Great Wave off Kanagawa and David) In addition, behavior of expression shown that most students were interested in details of artworks and analyzed the artworks. Moreover, they could answer the different questions of the artworks between Eastern art and Western art.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29647
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1027
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1027
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
aime-acha_si.pdf5.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.