Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29706
Title: การศึกษาเพื่อวางแนวทางจัดหาส่วนสาธารณะ ในกรุงเทพมหานครในแง่ของการผังเมือง
Other Titles: A study of urban planning guidelines for public parks development in Bangkok metropolis
Authors: อมรรัตน์ กฤตยานวัช
Advisors: เดชา บุญค้ำ
สุวัฒนา ธาดานิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สวนสาธารณะเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชากรที่อาศัยในสภาพแวดล้อมแบบเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดในประเทศไทย มีการขยายตัวของเมืองเพื่อรองรับกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนก่อให้เกิดปัญหานานาประการ เช่น ปัญหาสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม ปัญหาที่ว่างลดจำนวนลง ฯลฯ ปัญหาที่สำคัญ แต่มักถูกมองข้ามอยู่เสมอ ก็คือ ปัญหาการขาดแคลนสวนสาธารณะสำหรับประชาชนใช้พักผ่อนหย่อนใจ ลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคมในปัจจุบัน เป็นข้อบ่งชี้ให้ทราบว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดหาสวนสาธารณะให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น และตรงกับความต้องการของประชาชน อย่างเร่งด่วน รวมทั้งวางแผนพัฒนาล่วงหน้าเพื่อรองรับจำนวนประชากรในอนาคตด้วย การขาดแคลนสวนสาธารณะเป็นสาเหตุหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับปัญหาอื่น ๆ ในเมือง เช่น ปัญหาเยาวชนเสพยาเสพติด ปัญหาสุขภาพจิตเสื่อมโทรม ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ปัญหาการสูญเสียทรัพยากรที่มีค่า แต่ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต้องแก้ไขปัญหายังมิได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้ การศึกษาครั้งนี้จึงต้องการชี้ให้เห็นว่าสวนสาธารณะเป็นสิ่งจำเป็นต่อประชาชนในเมืองศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันของสวนเพื่อให้ทราบถึง ข้อบกพร่องที่เกิดจากการขาดการวางแผนที่ดีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างสวนสาธารณะกับประชากรและการใช้ที่ดิน จะช่วยให้ทราบถึงปริมาณความขาดแคลน พื้นที่ที่ขาดแคลน จากพฤติกรรมการใช้สวนสาธารณะจะช่วยให้เกิดแนวทางการพัฒนาสวนสาธารณะอย่างเป็นระบบ ตรงกับลักษณะความต้องการของประชาชน นอกจากนี้ปริมาณพื้นที่สวนสาธารณะที่ต้องการในอนาคต ทำให้สามารถกำหนดเป้าหมาย วางแนวทางจัดหา โดยเลือกสรรที่ว่างประเภทต่าง ๆ ที่มีความเป็นไปได้ในแต่ละพื้นที่ที่มีคุณลักษณะสอดคล้องกับสวนสาธารณะแต่ละระดับ การศึกษาประการสุดท้าย คือ ศึกษาวิธีการ หรือเครื่องมือสำคัญเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ว่างนั้น ๆ จากการศึกษาในขั้นตอนข้างต้น ทำให้ทราบว่าการจัดการสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร ในแง่ของการผังเมือง มีหนทางกระทำให้เป็นผลสำเร็จได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จากการศึกษาพบว่า กรุงเทพมหานครมีพื้นที่สวนสาธารณะต่อประชากรในอัตราที่ต่ำกว่ามาตรฐานอย่างมาก ประชาชนในบางเขตไม่มีสวนสาธารณะเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจเลยแม้แต่แห่งเดียว สวนสาธารณะที่มีอยู่ยังไม่เป็นไปตามลำดับขั้น จึงไม่สามารถให้บริการแก่ประชาชนทุกกลุ่มทุกวัยได้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มจำนวนสวนสาธารณะให้กระจายตัวมากขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมหลายประการเป็นตัวกำหนด เช่น สภาพความเป็นเมืองที่สูงขึ้น อาชีพของประชาชนส่วนใหญ่เป็นอาชีพนอกเกษตร ประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้น้อย เป็นต้น เขตชั้นในเป็นเขตที่ประสบปัญหาความขาดแคลนมากที่สุด รองลงมาคือ เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก และจากการศึกษาพบว่า กรุงเทพมหานครยังมีที่ว่างที่จะพัฒนา เป็นสวนสาธารณะได้อีก แต่อาจมีข้อจำกัดบ้างในบางพื้นที่ กล่าวคือ เขตชั้นในจะมีโอกาสพัฒนาสวนสาธารณะจากที่ว่างขนาดเล็ก ๆ เท่านั้น และอยู่ในลักษณะต้องใช้สอยประโยชน์ร่วม (multiple use) กับการใช้ที่ดินประเภทอื่น ๆ เขตชั้นกลางและเขตชานเมือง ยังมีที่ว่างหลายประเภทที่จะพัฒนาเป็นสวนสาธารณะได้ทุกระดับ วิธีการที่จะได้มาซึ่งที่ว่าง รัฐมีเครื่องมือด้านกฎหมายแต่ไม่ได้ปฏิบัติอย่างจริงจัง ด้านงบประมาณก็ไม่สนับสนุน ให้เพียงพอ นอกจากรัฐแล้ว การได้มาซึ่งสวนสาธารณะสามารถได้จากส่วนเอกชน ตลอดจนความร่วมมือกันเองระหว่างประชาชนในชุมชน เกี่ยวกับแนวทางการจัดหาสวนสาธารณะ สรุปได้ว่าจัดหาให้เป็นไปตามระบบ หรือลำดับของสวนสาธารณะ (hierarchy of parks) ทั้งในระดับท้องถิ่น ได้แก่ สวนระดับละแวกบ้าน (neighborhood park) สวนระดับชุมชน (community park) เพื่อการพักผ่อนประจำวัน (daily use) และสวนประจำย่าน (district park) สวนประจำเมือง (city park) เพื่อการพักผ่อนในวันหยุดสุดสัปดาห์ (weekend use) เนื่องจากในแต่ละพื้นที่มีทรัพยากรด้านที่ว่างแตกต่างกัน แนวทางการพัฒนาในเขตชั้นใน จึงเป็นสวนระดับท้องถิ่น เขตชั้นกลาง ยังมีที่โล่งขนาดใหญ่ การพัฒนาจึงมุ่งไปยังสวนระดับย่าน ในขณะเดียวกันเขตชั้นนอกยังมีสภาพเป็นธรรมชาติอยู่มากที่สุด จึงเหมาะที่จะพัฒนาสวนระดับเมือง ระยะเวลาของการพัฒนาแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะปัจจุบัน ปรับปรุงพัฒนาที่ว่างสาธารณะ หรือที่รัฐเป็นเจ้าของ ที่ยังไม่ได้ทำประโยชน์ที่มีอยู่ให้สวนสาธารณะให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แบ่งสรรทรัพยากรที่ว่างที่พัฒนาแล้วในสถาบันต่าง ๆ ให้มีประโยชน์ใช้สอยด้านการพักผ่อนหย่อนใจตามแนวความคิด การใช้สอยประโยชน์ร่วม (multiple use) และแนวความคิด การแบ่งปันให้กับสังคมในระยะสั้น จัดทำแผนพัฒนาสวนสาธารณะโดยหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรง รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดโครงการพัฒนาสวนสาธารณะขึ้นในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทางหนึ่งในระยะยาวพัฒนาและปรับปรุงกฎหมาย การจัดสรรงบประมาณให้เอื้ออำนวยต่อกรจัดหาสวนสาธารณะปรับปรุงโครงสร้างองค์กรที่มีหน้าที่ให้เหมาะสมกับความรับผิดชอบ ตลอดจนเปลี่ยนแปลงทัศนคติค่านิยมในกลุ่มผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในทุกสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองให้ตระหนักถึงคุณค่าของสวนสาธารณะที่มีต่อประชาชนและสังคม การจัดหาสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานครมิใช่เป็นสิ่งที่เกินความสามารถ ขึ้นอยู่กับความเอาจริงเอาจังที่จะแก้ไขปัญหาและร่วมมือกันทุกฝ่าย ข้อเสนอแนะข้างต้นจะเป็นแนวทางให้การพัฒนาสวนสาธารณะประสบความสำเร็จสามารถตอบสนองความต้องการของเมืองและประชาชน
Other Abstract: Park for recreation is a necessity for urban population, particularly those in Bangkok Metropolis where the highest population density of Thailand is present. In the metropolis, the urbanization process is so rampant that it eventually leads several problems like deteriorating environment, decreasing open space, including shortage of public park for population’s recreation whose severity is always overlooked. At present, its physical, economic and social conditions all are indicating neediness of urgent more public park provision to respond population need as well as beforehand development planning to meet the future demand. The public park shortage is a problem interrelating to many other urban problems, namely adolescence drug addict, declining mental health, polluted environment and valuable resources loss. However, the concerned authorities do not realize the problem’s importance yet. Therefore, this study has pointed out public park’s necessity for the urban people by looking into the present parks’ circumstance in order to know some defects generated from lack of sound planning. In details, relations between the public parks, population and land use are studied in order to know the volume and area of public park shortage; behaviors of population using public park is analyzed to find systematic public park development guidelines in accordance to the people need; future demand of public park area is also quantified for setting the targets and guidelines of area provision by choosing feasible types of vacant areas of each zone which possess suitable quality for public park of each hierarchy; and lastly important tools or measures to acquire such vacant land also are studied. After the aforementioned study is through, it is apparent that public park provision in Bangkok, in urban planning wise, could be feasibly carried out in both short and long term. In this study, it is found out that Bangkok has ratio of public part area per number of population much lower than should be standard, in certain zone none of public park for recreation is available. Besides, the existing public parks cannot render services to all groups or ages of population because it is not arranged in hierarchy. Hence, it is indispensable to increase number of public parks by distributing them more evenly according to the social and economic determinants, e.g. higher urbanization, majority of population engaging in non-agricultural occupation, population’s low income, etc. The inner zone of Bangkok is facing the problem of park shortage most severely, and the middle and outer zones is lesser affected respectively, though there is a lot of vacant lands that could be turned into public parks. However there are some constraints of each zone. That is to say, only small pieces of land could be developed into public parks by sharing the land utilization with other activities in the inner zone, while the middle and outer zones are still have vast vacant lands that could be turned into various level of public parks. To acquire the vacant lands, it is also found out that the government possesses many legal tools to implement, but there is no serious enforcement and adequate budgetary support. The private sector and local people’s cooperation also have a role in turning the vacant lands into public parks. For park provision guidelines, it is summed up that the provision should be systematized according to hierarchy of parks. The first order is local park for daily use and the others are district park and city park, both of which are for weekend use As each zone of Bangkok had different resource of vacant lands, the inner zone is recommended to develop local park while the middle zone having large piece for vacant lands should develop district park and the outer zone which appears mostly natural should be viable for city park. The development period should be divided into 3 phases—present, short and long. In present phase, it should concentrate on developing the unutilized government owned vacant lands into public parks as much as possible, and allocating some parts of developed land in various institutions for recreational public park purpose which conforming to the concept of multiple use and sharing land utilization to society. Within the short-termed phase, public park development plan should be land down by the directly responsible authorities and, at the mean time, public park development projects should be stimulated to be carried out by the concerned agencies. For the long-run phase, law and regulations improvement, budget allocation responsive to park provision, responsible organization structure overhaul, as well as changing attitude of all urban development-related officers in multi-discipline, both executive and technician level, to realize the value of parks for people and society. It can be concluded that park provision in Bangkok is not a thing beyond our capability but up to our resolute determination and cooperation from all sided instead to make it materialized. All recommendations in this study are perceived to be a guideline for successful public park development responsive to urban and population’s need.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29706
ISBN: 9745622257
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amornrat_gr_front.pdf15.3 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_gr_ch1.pdf7.39 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_gr_ch2.pdf7.87 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_gr_ch3.pdf23.13 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_gr_ch4.pdf52.14 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_gr_ch5.pdf12.66 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_gr_ch6.pdf21.81 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_gr_ch7.pdf48.9 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_gr_back.pdf11.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.