Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29830
Title: | การประเมินผลการเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา การศึกษาเฉพาะกรณีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
Other Titles: | An evaluation of learning achievement an elelmentary school : a case study in the northeastern region |
Authors: | มนตรี อนันตรักษ์ |
Advisors: | อุทุมพร จามรมาน สุภางค์ จันทวานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2532 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้มุ่งบรรยายสภาพการประเมินผลการเรียนในโรงเรียนและวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการประเมินผลของครูประถมศึกษา ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้วิธีเชิงคุณภาพ และศึกษาเฉพาะกรณีในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดกลางในชนบท จากการเข้าไปสังเกตอย่างมีส่วนร่วมเป็นเวลา 8 เดือน ในโรงเรียนที่ศึกษาพบว่า ครูในโรงเรียนดังกล่าวมีการประเมินผลการเรียนของนักเรียนใน 3 ลักษณะด้วยกันคือ การประเมินผลการเรียน ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนปลายภาคเรียน และการประเมินผลการเรียนเพื่อตรวจสอบมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน การประเมินผลการเรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้นั้น วิธีที่ครูนิยมใช้มากที่สุดได้แก่ การประเมินด้วยการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ทั้งจากความสามารถที่เด็กตอบคำถาม การทำแบบฝึกหัด การอ่านและการเขียน ตลอดจนความรวดเร็วในการทำงาน วิธีรองลงมาซึ่งครูนิยมใช้ คือการทดสอบด้วยแบบทดสอบ และการประเมินผลการเรียนจากผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนตามลำดับ ส่วนการประเมินผลอีก 2 แบบคือ การประเมินผลการเรียนปลายภาคเรียน และการประเมินผลการเรียนเพื่อตรวจสอบมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนนั้น เป็นการประเมินด้วยแบบทดสอบทั้งสิ้น สภาพการประเมินผล ไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตาม ผู้วิจัยพบว่า ไม่สอดคล้องกับหลักการของการประเมินผลการเรียน เพราะไม่ได้มุ่งประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนหรือพัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขึ้น แต่เป็นการประเมินเพื่อเตรียมให้ผู้บริหารตรวจสอบหรือเป็นการประเมินเพื่อให้ผลของการประเมินบรรลุนโยบายและเป้าหมายของผู้บริหารมากกว่า ในด้านการดำเนินการในการประเมินผลที่เกี่ยวกับการใช้แบบทดสอบนั้น ยังขาดระบบและวิธีการในการดำเนินการสอบที่ดี พฤติกรรมการประเมินผลของครูดังกล่าวข้างต้น เป็นผลจากปัจจัยและองค์ประกอบหลายประการ ที่สำคัญคือ นโยบายและเป้าหมายของผู้บริหารที่คาดหวังว่านักเรียนแต่ละคนจะต้องมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างสูง การนิเทศและการติดตามผลของผู้บริหารยังขาดความต่อเนื่อง และไม่กระทำอย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆเช่น ผู้ปกครองไม่สนใจเรื่องการประเมินผล อีกทั้งผู้เรียนขาดความเอาใจใส่ขาดความกระตือรือร้น และขาดแรงจูงใจในการเรียน |
Other Abstract: | This study aimed to describe how elementary school teachers evaluate student performances, and to analyze their evaluating behavior effected by various factors. Using qualitative techniques, this case study was conducted in a middle-size elementary school in the rural area of the Northeast of Thailand. For 8 months of participant-observation of the school staff members and students, the researcher found that there were three types of evaluation employed: an evaluation according to learning objectives, an evaluation for grading such as giving final exams in each term, and an evaluation for classifying learning achievement level. In an evaluation according to learning objectives, it was observed that the most preferred method was observation of students' ability to answer questions, ability to read and write, ability to do exercises, as well as time spent in doing school works. The next most preferable methods were evaluation from testing and evaluation from students practical performance, respectively. The other two types of evaluation were given in the form of testing. It was noted that none of these evaluation methods conformed with learning evaluation principles. This is because they were not aimed to evaluate the improvement of the learning-teaching achievement but to provide the data for the administrators to be examined, as well as to meet administrators' goals and policy. In addition, the findings indicated that, in administering evaluation by testing, teachers showed the lack of good testing procedure. Teachers' evaluating behaviors described above resulted from many factors. The important ones consisted of high expectation in learning achievement from administrators, and the lack of continuing supervision and follow - up programs from supervisors and administrators, other factors included : less attention from parents in evaluating their children's learning achievement, and students' less attention, less enthusiasm and less motivation in learning. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29830 |
ISBN: | 9745768685 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Montree_an_front.pdf | 5.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Montree_an_ch1.pdf | 3.98 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Montree_an_ch2.pdf | 10.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Montree_an_ch3.pdf | 10.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Montree_an_ch4.pdf | 12.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Montree_an_ch5.pdf | 23.94 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Montree_an_ch6.pdf | 12.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Montree_an_back.pdf | 10.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.