Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29874
Title: การศึกษาระบบชุมชนเพื่อรองรับการพัฒนาจังหวัดเชียงราย
Other Titles: A study of Chiang Rai urban systems for development
Authors: ปรีพงษ์ เลิศพรลักษณา
Advisors: จารุวรรณ ลิมปเสนีย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนาพื้นที่จังหวัดเชียงรายทั้งในเขตเมืองและชนบท จำเป็นต้องอาศัยชุมชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา เพื่อประสานบทบาทหน้าที่ของชุมชนเมืองและชุมชนชนบทให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกันต่อแนวทางการพัฒนาพื้นที่ การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงลำดับความสำคัญของชุมชนศูนย์กลางและศักยภาพในการพัฒนาของจังหวัดเชียงรายทั้งในระดับชุมชนและระดับพื้นที่อำเภอ ตลอดจนความสัมพันธ์ของระบบชุมชน ผลการศึกษาพบว่าระดับการพัฒนาของชุมชนและศักยภาพการพัฒนาของพื้นที่มีความสัมพันธ์กันโดยตรง คือ อำเภอที่มีศักยภาพการพัฒนาสูงก็จะมีชุมชนศูนย์กลางหลักที่มีระดับการพัฒนาสูงด้วย ส่วนอำเภอที่มีศักยภาพการพัฒนาต่ำก็จะมีชุมชนศูนย์กลางหลักที่มีระดับการพัฒนาต่ำเช่นเดียวกัน ชุมชนที่มีศักยภาพในการพัฒนาสูง ได้แก่ เทศบาลเมืองเชียงราย สุขาภิบาลแม่สาย สุขาภิบาลแม่จัน และสุขาภิบาลเมืองพาน ซึ่งชุมชนเหล่านี้จะตั้งอยู่ตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ส่วนชุมชนที่มีระดับการพัฒนาต่ำจะเป็นชุมชนศูนย์กลางที่มีลักษณะคล้ายชุมชนชนบท มีกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนที่น้อยชนิด และลักษณะของกิจกรรมไม่ซับซ้อนเหมือนชุมชนเมือง สำหรับตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ตัวแปรที่มีความสำคัญต่อการวัดค่าการพัฒนาในระดับชุมชนเป็นตัวแปรทางเศรษฐกิจ คือ ธนาคาร และตลาด ส่วนในระดับพื้นที่เป็นตัวแปรทางเศรษฐกิจและทางกายภาพ คือ ภาษีรายได้ เงินลงทุนอุตสาหกรรม และจำนวนชุมชนศูนย์กลาง แนวทางการพัฒนาชุมชนศูนย์กลางของจังหวัดเชียงราย คือ การกำหนดบทบาทหน้าที่ของชุมชนต่างๆ ให้มีความเชื่อมโยงทางกายภาพ เศรษฐกิจ และทรัพยากรในพื้นที่ให้สอดคล้องสัมพันธ์กันเพื่อให้ชุมชนเหล่านี้เป็นศูนย์กลางในการส่งต่อการพัฒนาจากเมืองเชียงรายไปยังพื้นที่ชนบท โดยผลการวิจัยพบว่า สุขาภิบาลแม่สาย ซึ่งเป็นชุมชนการค้าชายแดนมีแนวโน้มของการเติบโตสูงที่สุด
Other Abstract: In the development of Chieng Rai Province both in urban and rural area, urban communities are needed to the centers for development in order to weld the roles and functions of urban and rural communities to be in line with the spatial development guideline. This research aims to study about the hierarchy of urban centers and the development potential of Chieng Rai both in communities level and districts level as well as the relation of urban system. The result of the study revealed that the level of communities development is directly related to the spatial development potential, that is, the major urban centers of high development level are in the districts of high development potential and also the major urban centers of low development level are in the districts of low development potential. The communities of high development potential are, namely, Muang Chieng Rai Municipality, Mae Sai Sanitary District, Mae Chan Sanitary District and Muang Phan Sanitary District. These communities are located long the National Highway No.1. The communities of low development potential are similar to the rural communities which compose of few activities and are less complicated that in urban communities. It was found that the economic variables are the significant variables to measure the development value in the urban level, namely, banks and markets. In the spatial level, the significant variables are economics and physical, namely, income tax, industrial cost and numbers of urban centers. The guideline of Chieng Rai’s urban centers development is to stipulate the roles of the urban communities in relation with physical, economics and local resources, in order to transfer the development from Muang Chieng Rai to rural areas. The results of the research found that Mae Sai Sanitary Districts is the frontier commercial center which are likely to be the highest growth urban center.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29874
ISBN: 9745823287
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preepong_le_front.pdf6.28 MBAdobe PDFView/Open
Preepong_le_ch1.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open
Preepong_le_ch2.pdf4.95 MBAdobe PDFView/Open
Preepong_le_ch3.pdf30.19 MBAdobe PDFView/Open
Preepong_le_ch4.pdf29.82 MBAdobe PDFView/Open
Preepong_le_ch5.pdf12.01 MBAdobe PDFView/Open
Preepong_le_ch6.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open
Preepong_le_ch6.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open
Preepong_le_back.pdf10.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.