Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29881
Title: การเปิดรับและการใช้ประโยชน์จากสื่อมวลชนของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Mass mdia exposure and uses among University students in Bangkok metropolis
Authors: อรวรรณ วิจักขณะ
Advisors: ระวีวรรณ ประกอบผล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม การเปิดรับสื่อมวลชนของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร เพื่อทราบความสนใจ ความชื่นชอบต่อเนื้อหาของสื่อมวลชน การใช้ประโยชน์และการได้รับความพึงพอใจจากสื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ จำแนกตามสาขาวิชา ที่เรียนและเพศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร ที่เป็นมหาวิทยาลัย ซึ่งจำกัดจำนวนรับนักศึกษา และเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาล 3 แห่ง จำนวน 210 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น ผลการวิจัยพบว่า นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และสาขาวิชาสังคมศาสตร์ ทั้งชายและหญิงส่วนใหญ่เปิดรับสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์รายวันโดยการอ่านค่อนข้างบ่อย อ่านที่บ้านหรือที่พักของตนใช้เวลาอ่านแต่ละครั้ง 20-30 นาที หนังสือพิมพ์รายวันที่อ่านเป็นประจำ คือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คอลัมน์ที่อ่านเป็นประจำ คือ ข่าวบันเทิง ข่าวกีฬา ข่าวต่างประเทศ ข่าวอาชญากรรม บทวิจารณ์ และข่าวการศึกษา เหตุผลสำคัญที่อ่านเพราะต้องการทราบข่าวสาร โดยอ่านพาดหัวข่าวและข่าวหน้าหนึ่ง อ่านเป็นบางเรื่องที่ตนสนใจและเชื่อเนื้อหาในหนังสือพิมพ์รายวันเป็นบางส่วน การเปิดรับสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์ นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ดูโทรทัศน์เป็นประจำทุกวัน เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ดูในระหว่างเวลา 20.00 น.- 22.00น. ดูที่บ้านหรือที่พักของตน ส่วนใหญ่ดูร่วมกับบุคคลในครอบครัว เหตุผลในการดูโทรทัศน์เพื่อติดตามรายการที่ตนชื่นชอบ และดูรายการที่ติดตามอยู่เป็นประจำทุกวัน เพราะจัดทำรายการได้น่าสนใจ ส่วนการเปิดรับสื่อมวลชนประเภทภาพยนตร์และวิดีโอ ส่วนใหญ่นานๆ ดูครั้งหนึ่ง ประเภทของภาพยนตร์และวิดีโอ เป็นภาพยนตร์เรื่องยาวจากกลุ่มประเทศตะวันตก นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และสาขาวิชาสังคมศาสตร์ ทั้งชายและหญิง มีการนำเนื้อหาจากสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์รายวัน วิทยุ และโทรทัศน์มาเป็นหัวข้อในการสนทนากับเพื่อนอยู่เสมอ และสื่อมวลชนดังกล่าวมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ค่านิยม ความคิดเห็น และพฤติกรรมพอสมควร
Other Abstract: The purpose of this study is to find out about the behavior of the university students in Bangkok metropolis: their exposure to mass media and their uses of them. The sample used in this study consisted of 210 full-time student, male and female, studying in science and social science, in three state universities in Bangkok metropolitan area. Questionnaires devised by the researcher were employed. Finding are: Most science and social science student in Bangkok, male and female, exposed themselves to daily newspapers rather frequently. The newspaper reading was normally carried on at home on at their living-quarters, each time covering a period of 20-30 minutes. The most- widely-read newspaper was the Thai Rath, and the sections commonly read were entertainment news, sports news, criminal news, critiques and news on education. The main purpose of the reading was to gain information. The students’ common practice was going over the headlines and selectively picking up the news on the first page that they were interested in. Generally the students partially trusted the news that they read. Regarding television, most students watched television everyday, between 8-10 p.m., at home or at their living-quanters. In most case, they watched together with the members of their family. The main purpose of their watching TV was for entertainment. They often kept pursuing the daily continuous programs that they enjoyed. As to cinema films and video-tape, most students went to the cinema and watched video-tape very infrequently. Their favourite films were western movies. University students in Bangkok in the areas of science and social science, both male and female, picked up the topics from newspapers, radio and television, to be the topics of their daily talks among their fellow students. These three types of media exposure, to a moderate degree, bore influence on the shaping of the students’ value judgment, ways of thinking and behavior.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29881
ISBN: 9745783765
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orawan_vi_front.pdf5.78 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_vi_ch1.pdf6.77 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_vi_ch2.pdf7.17 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_vi_ch3.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_vi_ch4.pdf48.81 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_vi_ch5.pdf2.75 MBAdobe PDFView/Open
Orawan_vi_back.pdf7.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.