Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30022
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ | - |
dc.contributor.author | มนิษฐา ไรแสง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-03-19T02:48:11Z | - |
dc.date.available | 2013-03-19T02:48:11Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30022 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำกัดเซาะที่อยู่อาศัยริมน้ำ : กรณีศึกษาชุมชนซอยวัดหลังบ้านเทศบาลเมือง สมุทรสงคราม นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากน้ำกัดเซาะตลิ่ง รวมถึงศักยภาพความสามารถ และความต้องการในการซ่อมแซมหรือป้องกันของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ชุมชนซอยวัดหลังบ้าน ต.แม่กลอง อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม มีพื้นที่ตั้งอยู่บริเวณปากคลองแม่กลองที่เป็นพื้นที่ประสบปัญหาน้ำกัดเซาะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชนเป็นอย่างมาก และจากการศึกษาต่อเนื่องจากงานวิจัยนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมเคหะชุมชน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ทำการศึกษาในพื้นที่ 14 ชุมชนในเขตเทศบาลจังหวัดสมุทรสงคราม และการจัดกิจกรรมร่วมกับชาวชุมชนภายใต้ชื่อโครงการ “บ้านที่มีคุณค่า” ได้ร่วมมือกับเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) และตัวแทนชุมชนทั้ง 14 ชุมชน ร่วมกันคัดเลือกและเสนอชุมชนที่สามารถร่วมมือ และมีความพร้อมที่จะเป็นต้นแบบในการปรับปรุงฟื้นฟูที่อยู่อาศัย ซึ่งได้แก่ ชุมชนซอยวัดหลังบ้าน โดยทำการศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะ ใช้ระเบียบวิจัย ทบทวนวรรณกรรม ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และลงพื้นที่สำรวจและสังเกต สัมภาษณ์ผู้อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากน้ำกัดเซาะ สัมภาษณ์ผู้มีความรู้ความชำนาญ ในประเด็นปัญหา และวิธีการป้องกัน ปรับปรุง หรือซ่อมแซม เพื่อนำมาวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางเลือกในการป้องกันหรือแก้ไขที่อยู่อาศัย ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจของผู้อยู่อาศัย ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ชุมชนซอยวัดหลังบ้าน เป็นพื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะทางกายภาพที่มีสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในพื้นที่ริมตลิ่ง มีที่ดินที่ที่มีขอบเขตริมน้ำจำนวนทั้งหมด 40 แปลงที่ดิน 31 หลังคาเรือน โดยทำการสำรวจจดบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลักษณะครัวเรือน ทัศนคติต่อที่อยู่อาศัย ข้อมูลของปัญหาน้ำกัดเซาะ วิธีการปรับปรุงซ่อมแซม และทัศนคติต่อการฟื้นฟูชุมชน สามารถจัดกลุ่มปัญหาได้ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.ด้านสภาพแวดล้อม 2.ด้านที่อยู่อาศัย 3.ด้านสังคม และเศรษฐกิจ ในด้านสภาพแวดล้อมจากการศึกษาพบว่าลักษณะทางกายภาพของสภาพแวดล้อมที่มีความสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำในพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง(floodplain) คือปริมาณการไหลของน้ำสูง ความเร็วกระแสน้ำก็จะสูงขึ้นตาม อัตราการกัดเซาะตลิ่งหรือท้องน้ำเป็นไปอย่างรุนแรง ในด้านที่อยู่อาศัยพบว่า มีลักษณะการกัดเซาะที่แตกต่างกันอยู่ 3 ลักษณะคือ 1.ลักษณะการกัดเซาะเฉพาะพื้นที่ดิน 2. ลักษณะการกัดเซาะเฉพาะที่อยู่อาศัย 3.ลักษณะการกัดเซาะทั้งพื้นที่ดิน และที่อยู่อาศัย และในด้านกลุ่มปัญหาสังคมและเศรษฐกิจ พบว่ามีกลุ่มที่มีระดับรายได้ 5,000-15,000 บาท มีมากถึง 63.65 % ซึ่งเป็นระดับรายได้ที่ต่ำสุด ส่งผลต่อการจัดการแก้ไขและป้องกันปัญหา รวมถึงสิทธิในการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน และการประกอบอาชีพที่ส่งผลต่อรายได้ ที่จะนำมาใช้จัดการค่าใช้จ่ายต่างๆ ในครอบครัว โดยเฉพาะในกลุ่มที่อยู่อาศัยที่มีอาชีพรับจ้างหรือว่างงาน จะประสบปัญหาการป้องกันปัญหาน้ำกัดเซาะเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ที่อยู่อาศัยมีสภาพทรุดโทรม ข้อเสนอแนะในการวิจัย จากลักษณะของกลุ่มปัญหา สามารถหาแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำกัดเซาะได้ 3 ส่วน คือ 1.ด้านที่อยู่อาศัย จากลักษณะเฉพาะของชุมชนริมน้ำสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทสภาพแวดล้อม และสังคมเศรษฐกิจในปัจจุบันของชาวชุมชนได้ เพื่อให้เป็นการอนุรักษ์ หรือซ่อมแซมของเดิมให้คงสภาพดี 2.ด้านพื้นที่ริมตลิ่ง ในการป้องกันการกัดเซาะพื้นที่ดินริมตลิ่ง มีวิธีการทำพนังกั้นน้ำแบบธรรมชาติผสมกับพนังกั้นน้ำที่มีโครงสร้างแบบถาวร ซึ่งวิธีการดังกล่าวเพื่อเป็นการรักษาระบบนิเวศริมตลิ่ง ให้ทั้งพืชและสัตว์ดำรงชีวิตและอยู่อาศัยได้ 3.ด้านด้านการจัดการ ควรที่จะนำกระบวนการที่ก่อให้เกิดความเข้มแข็งและสามัคคีโดยผ่านกระบวนการวิจัย และให้ความรู้จากนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ถึงปัญหาในชุมชนที่กำลังเกิดขึ้น โดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม เพื่อกระตุ้นให้ชาวชุมชนได้ตระหนัก และเห็นความสำคัญของการพัฒนาและปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้มีสภาพดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งมีขั้นตอนและกระบวนการในการแก้ไขปัญหาที่สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ 1.รุนแรงมาก 2.รุนแรง 3.รุนแรงน้อย และมีแนวทางการแก้ไขปัญหาออกเป็น 2 วิธีคือ 1.การแก้ไขปัญหาแบบชั่วคราว(ระยะสั้น) 2.การแก้ไขปัญหาแบบถาวร(ระยะยาว) ส่งผลให้ในแต่ละกลุ่มที่ได้รับผลกระทบในระดับที่แตกต่างกัน จะมีวิธีการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน ตามศักยภาพของกลุ่มบ้านในแต่ละกลุ่ม และจากการสอบถามหน่วยงานในพื้นที่ทำให้ทราบว่าทางกลุ่มบ้านที่ได้รับผลกระทบจากน้ำกัดเซาะในพื้นที่ชุมชนซอยวัดหลังบ้านนั้น สามารถรวมกลุ่มกันเพื่อรวบรวมข้อมูลของปัญหา และทำประชาพิจารณ์ สรุปเป็นข้อมูลรายงานส่งไปยังเทศบาลเพื่อขออนุมัติเงินงบประมาณจากทางภาครัฐมาใช้แก้ไขปัญหาพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบบริเวณริมตลิ่งได้ ดังนั้นสรุปได้ว่า ในการหาแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำกัดเซาะที่อยู่อาศัยนั้น จะต้องเป็นการร่วมมือกันของกลุ่มบ้านที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำกัดเซาะโดยรวมก่อนที่จะทำการแก้ไขในส่วนของส่วนบุคคล เพราะจะเป็นการเพิ่มอำนาจในการต่อรองและเสนอให้หน่วยงานในภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ชาวชุมชนได้ นอกจากนั้นยังเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมโดยรวมของระบบนิเวศริมน้ำ และที่อยู่อาศัยพื้นที่ริมน้ำ ให้ยังคงอยู่อย่างยั่งยืน | en |
dc.format.extent | 13734925 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1061 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ชุมชนริมน้ำ -- ไทย -- สมุทรสงคราม | en |
dc.subject | การกัดเซาะ (วิศวกรรมชลศาสตร์) | en |
dc.subject | การกร่อนของดิน | en |
dc.subject | ชุมชนซอยวัดหลังบ้าน (สมุทรสงคราม) | en |
dc.title | แนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำกัดเซาะที่อยู่อาศัยริมน้ำ : กรณีศึกษาชุมชนซอยวัดหลังบ้านเทศบาลเมือง สมุทรสงคราม | en |
dc.title.alternative | Erosiondisaster mitigation of waterfront housing : a case of Soi Wat Lang Baan community, Mueang Samut Songkhram municipality | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Kundoldibya@hotmail.com, Kundoldibya.P@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.1061 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
manitthar_ra.pdf | 13.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.