Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30076
Title: การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นชาย
Other Titles: Intervention activities model development for smoking behaviors change in male adolescent
Authors: จินตนา สรายุทธพิทักษ์
Advisors: ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
เกษม นครเขตต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: thanomwong.k@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การใช้ยาในทางที่ผิด -- การรักษา
การใช้ยาในทางที่ผิด -- การป้องกัน
การสูบบุหรี่
วัยรุ่นชาย -- การใช้ยาสูบ
การติดนิโคติน -- การรักษา
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบกิจกรรมเลิกบุหรี่ สำหรับวัยรุ่นชาย การพัฒนารูปแบบกิจกรรมใช้ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทฤษฎี แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค และทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลได้รูปแบบกิจกรรมประกอบด้วย 10 กิจกรรม คือ สังเกตตนเอง รู้เท่าทันบุหรี่ เสริมแรง คำมั่นสัญญา ปาร์ตี้ไร้ควัน ฝึกจิตสมาธิ ข้อมูลออนไลน์ บัดดี้พาเลิก รับรู้สู่ปฏิบัติ และรับคำปรึกษา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.76 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบกิจกรรมใช้กลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจงจาก 2 โรงเรียน เป็นวัยรุ่นชายจำนวน 40 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมและผ่านเกณฑ์การคัดเข้า ดำเนินการทดลองเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทำการเก็บข้อมูล 3 ครั้ง คือ ระยะก่อนทดลอง หลังทดลอง 6 สัปดาห์ และติดตามผลหลังสิ้นสุดการทดลอง 4 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้ มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปรแบบวัดซ้ำ ทดสอบด้วยสถิติ”ที”และไค-สแควร์ ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ.05 และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการทดสอบพบว่ารูปแบบกิจกรรมการเลิกบุหรี่ที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้คะแนนความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ในระยะหลังทดลองและระยะติดตามผล จำนวนวัยรุ่นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีสารโคตินิน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และวัยรุ่นกลุ่มทดลองมีการปรับเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การสูบบุหรี่จากก่อนการทดลอง ในขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 เป็นขั้นที่ 3 และขั้นที่ 4 ดังนั้นรูปแบบกิจกรรมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่สำหรับวัยรุ่นชายประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า คือ การกระตุ้นให้ รับรู้ถึงอันตรายและความเสี่ยงการประเมินความสามารถของตน การระบายอารมณ์ การสัมพันธ์แบบช่วยเหลือการควบคุมตนเอง และการเสริมแรงจากกลุ่มอ้างอิง โดยมีกระบวนการที่นำไปสู่ผลลัพธ์ ในการเลิกสูบบุหรี่ คือ ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติเรื่องบุหรี่เพิ่มขึ้น การสังเกตตนเอง การรู้เท่าทัน บุหรี่เกิดแรงจูงใจทางบวก สนุกสนานในงานสังสรรค์ การตรวจสารโคตินินในปัสสาวะ สมาธิเพิ่มขึ้น เวปไซด์สำหรับวัยรุ่น และการมีเพื่อนร่วมในการเลิกบุหรี่ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ารูปแบบกิจกรรมมีประสิทธิผลทำให้วัยรุ่นชายเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ได้
Other Abstract: The purposes of this study were to develop and evaluate the effectiveness of the activities model for smoking behavior changes in male adolescents. Activity model is based upon the Trans-theoretical Model, Protection Motivation Theory, and Theory of Reasoned Action. The model consisted of 10 intervention activities: health assessment; smoke-free party; contracting; self-help manual; cessation counseling; buddy support system; social support; tailored messages; web-based information and counseling; and relaxation techniques. The ten activities had an aggregate IOC of 0.76. The effectiveness of the activity model was assessed using 40 purposively selected adolescents from 2 schools, who volunteered and passed the criterion. Data were collected three times, before the experimental, after the experimental 6 weeks and follow-up 4 weeks, and were analyzed by means, standard deviation, MANOVA with repeated measures, and chi-square test at the statistical significance level of 0.05. And then the qualitative data were analyzed. The results showed that the activities model the average scores of knowledge, attitude and practice of the experimental were significantly different at 0.05 level from those of the control groups. Cotinine of the experimental and control groups were different a significantly at the .05 level. Experimental group had smoking behavior change from baseline in step 2 and step 3 to step 3 and step 4 in the posttest and follow-up period. The activities model was consisted of the following inputs; perceived severity of a threatened event and risks, evaluated self-efficacy, emotional arousal, helping relationships, self-control, and norm reinforcement, the process leading to output, for smoking cessation: increasing knowledge, attitudes and practices toward tobacco, health assessment, tailored message, the positive motivation, smoke-free parties, cotinine testing, in increasing concentration, website for adolescents, and having friends need to quit smoking. The research finding suggests that the activities model was effective for smoking behaviors change in male adolescent.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30076
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2036
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.2036
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jintana_sa.pdf2.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.