Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30251
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อมรชัย ตันติเมธ | - |
dc.contributor.author | บรรหาร ราชมณี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2013-03-24 | - |
dc.date.available | 2013-03-24 | - |
dc.date.issued | 2529 | - |
dc.identifier.isbn | 9745670243 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30251 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนตัวกับความพึงพอใจในงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 3 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจเนื่องจากความคาดหวังในงานกับความพึงพอใจในงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 3 สมมติฐานของการวิจัย 1. ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตการศึกษา 3 ที่มีลักษณะส่วนตัวแตกต่างกันมีความพึงพอใจในงานแตกต่างกัน 2. แรงจูงใจเนื่องจากความคาดหวังในงานมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความพึงพอใจในงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 3 วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูฝ่ายปฏิบัติการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 3 สุ่มตัวอย่างโรงเรียนจากโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน 4 ขนาด โดยวิธีแบ่งเป็นพวกหรือชั้น หาขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของมอร์แกนและทำการสุ่มตัวอย่างครูปฏิบัติการสอนโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดาจากโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง รวมกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 332 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามซึ่งมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ แบบเติมคำลงในช่องว่าง แบบมาตราส่วนประเมินค่า ผู้วิจัยได้วิเคราะห์แบบสอบถามตอนที่ 2 ซึ่งเป็นแบบสอบถามวัดแรงจูงใจเนื่องจากความคาดหวังในงานโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวน ได้สัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่นของแบบสอบถามส่วนนี้เท่ากับ .91 การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีส่งและรับคืนด้วยตนเองและทางไปรษณีย์ ในจำนวนแบบสอบถามที่ส่งไป 332 ฉบับ ได้รับคืนเป็นฉบับที่สมบูรณ์ 302 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 90.96 การวิเคราะห์ใช้การหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน เป็นสถิติที่ใช้อธิบายถึงระดับของความสัมพันธ์ ผลการวิจัย 1. ระดับของแรงจูงใจเนื่องจากความคาดหวังในงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 3 อยู่ในระดับปานกลาง 2. ระดับของความพึงพอใจในงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 3 อยู่ในระดับปานกลาง 3. ผลลัพธ์หรือผลตอบแทนที่เป็นสาเหตุให้เกิดแรงจูงใจเนื่องจากความคาดหวังอยู่ในระดับมาก 7 ประการคือ ได้ความภาคภูมิใจในตัวเอง ได้ความเป็นมิตรจากเพื่อนร่วมงาน ได้พัฒนาทักษะและความสามารถของตัวเอง ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น ได้รับความสำเร็จของงาน การยอมรับเชื่อถือจากเพื่อนร่วมงาน ได้อิสระในการทำงาน อยู่ในระดับน้อย 4 ประการคือ ได้รับตำแหน่งการงานที่มั่นคง ได้รับการยกย่องจากผู้บังคับบัญชา ได้ทำงานที่ดีกว่าเดิม และได้เลื่อนเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ 4. ไม่พบว่ามีตัวแปรลักษณะส่วนตัวด้านใดที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 5. องค์ประกอบทั้งสามประการของแรงจูงใจเนื่องจากความคาดหวังในงานต่างมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความพึงพอใจในงาน โดยองค์ประกอบในด้านความคาดหวังในโอกาสที่จะได้รับผลลัพธ์หรือผลตอบแทน มีค่าสหสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงที่สุด 6. แรงจูงใจเนื่องจากความคาดหวังในงานมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความพอใจในงาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 แต่ค่าสหสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ | - |
dc.description.abstractalternative | Purposes of the Study 1. The study the relationships between personal characteristics and job satisfaction of secondary school teachers in Educational Region Three. 2. To study the relationships between work expectancy motivation and job satisfaction of secondary school teachers in Educational Region Three. Hypotheses 1. The job satisfaction secondary school teachers in Educational Region Three which different in personal characteristic are significantly different. 2. The work expectancy motivation correlates positively to job satisfaction of secondary school teachers in Educational Region Three. Procedures The samples of this study were drawn at random from teachers in secondary schools, stratified sampling from four school sizes in Educational Region Three. The sample size was 332. Questionnaires were administered and 302 (90.96%) were returned. The instrument used in this research was a questionnaire consisting of a check list, fill in the blank and rating scale. The second part of questionnaire was constructed based on the Expectancy Motivation Theory of Hackman, Lawler III and Perter. Using the analysis of variance to determine the reliability, the coefficient of this part was .91. Data were analyzed and presented in terms of percentages, mean, standard diviation, one-way analysis of variance and Pearson Product Moment Correlation Coefficient. Findings 1. The level of work expectancy motivation of secondary school teachers in Educational Region Three was found to be at average level. 2. The level of job satisfaction of secondary school teachers in Educational Region Three was found to be at average level. 3. The level of work expectancy motivation was found to be high on the following seven outcomes: (1) feeling better about himself as a person, (2) friendliness of co-workers, (3) opportunity to develop skills and abilities, (4) chances to learn new thing, (5) chances to accomplish something worthwhile, (6) respect from co-workers, (7) freedom on the job, and the four outcomes; (1) job security, (2) praise from supervisor, (3) chances to get a better job, (4) salary increase, were found to be low. 4. No document supports that the variable of personal characteristics correlated to job satisfaction of secondary school teachers in this study (p > .05). 5. Each of the three concepts of work expectancy motivation correlated positively to job satisfaction of secondary school teachers. The correlation coefficient was highest to performance-outcome expectancy. 6. The work expectancy motivation correlated positively to job satisfaction of secondary school teachers, but the coefficient was found to be low. | - |
dc.format.extent | 6671292 bytes | - |
dc.format.extent | 5577550 bytes | - |
dc.format.extent | 22956766 bytes | - |
dc.format.extent | 7112317 bytes | - |
dc.format.extent | 13335909 bytes | - |
dc.format.extent | 8685334 bytes | - |
dc.format.extent | 10288707 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนตัวและแรงจูงใจเนื่องจากความคาดหวังในงานกับความพึงพอใจในงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตการศึกษา 3 | en |
dc.title.alternative | Relationships between personal characteristics, work expectancy motivation and job satisfaction of secondary school teachers in educational region three | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Banhan_ra_front.pdf | 6.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Banhan_ra_ch1.pdf | 5.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Banhan_ra_ch2.pdf | 22.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Banhan_ra_ch3.pdf | 6.95 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Banhan_ra_ch4.pdf | 13.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Banhan_ra_ch5.pdf | 8.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Banhan_ra_back.pdf | 10.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.