Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30430
Title: | การจำลองการแตกหักของส่วนหัวและส่วนปลายของกระดูกต้นขาและกระดูกต้นแขนที่เกิดจากอุบัติเหตุ |
Other Titles: | Simulation of femur bone and humerus bone metaphyseal fracture caused by accident |
Authors: | นพชณรรจน์ โลหรัตน์ |
Advisors: | ธันวา ตันสถิตย์ ยุทธนา กุลวิทิต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | tansatit@yahoo.com Youthana.K@chula.ac.th |
Subjects: | กระดูก -- โรค -- การป้องกันและควบคุม กระดูกพรุน กระดูกหัก |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัญหากระดูกพรุนหรือกระดูกโปร่งบาง (Osteoporosis) เป็นภาวะที่อาจพบได้ในทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหญิงวัยหมดประจำเดือนและผู้สูงอายุ โรคกระดูกพรุนเป็นปัญหาหนึ่งของผู้สูงอายุเพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมมีปัญหาซับซ้อนตามมา ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายมนุษย์มีทั้งการสร้างและการทำลายเนื้อกระดูกไปพร้อมกันตลอดเวลาอย่างสมดุลและข้อมูลที่น่าสนใจ คือ อัตราผู้เสียชีวิตจากกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนสูงกว่าอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูกและเต้านมรวมกัน โดยการศึกษานี้จะใช้กระดูกต้นขาและกระดูกต้นแขนของอาจารย์ใหญ่ อย่างละ 60 ข้าง อายุเฉลี่ย 76.6 ±9.3ปี แล้วทำการกดจุดเพื่อวัดค่าความแข็งของแต่ละตำแหน่งนั้น จะพบว่า ค่าความแข็งของกระดูกต้นขาส่วนหัวในช่วงการวัดตำแหน่งที่ 5, 6, 7, 8ซึ่งเป็นบริเวณส่วนคอของกระดูก จะมีค่าเฉลี่ยของค่าความแข็งในแบบระนาบมากที่สุด เท่ากับ 28.8±13.5 นิวตัน/ตร.มม.เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นช่วงที่มีการรับน้ำหนักร่างกายมากที่สุด จึงทำให้มีความแข็งแรงมากกว่าบริเวณอื่น และในตำแหน่งที่ 9, 10, 11, 12ซึ่งเป็นบริเวณส่วนหัวของกระดูกนั้นจะมีค่าเฉลี่ยค่าความแข็งในแบบระนาบน้อยที่สุด เท่ากับ 20.8±10.1นิวตัน/ตร.มม. เป็นบริเวณที่มีความอ่อนนุ่มมาก เพราะเป็นช่วงที่ต้องมีการสัมผัสและเข้าไปอยู่ในส่วนของเบ้าของกระดูกสะโพกจึงทำให้มีความอ่อนนุ่มเพื่อลดการเสียดสีและรับกับรูปเบ้าของกระดูกสะโพกได้ ส่วนค่าความแข็งของกระดูกต้นแขนส่วนหัวในช่วงการวัด จะได้ว่า ในตำแหน่งที่ 1, 2, 3, 4 ซึ่งเป็นบริเวณส่วนฐานคอของกระดูกนั้น จะมีค่าเฉลี่ยของค่าความแข็งในแบบระนาบมากที่สุด เท่ากับ 25.3±11.9 นิวตัน/ตร.มม.เป็นเพราะบริเวณดังกล่าวเป็นช่วงที่มีการรับน้ำหนักร่างกายมากที่สุด จึงทำให้บริเวณดังกล่าวมีความแข็งแรงมากกว่าบริเวณอื่น และในตำแหน่งที่ 5, 6, 7, 8เป็นบริเวณส่วนคอของกระดูกนั้นจะมีค่าเฉลี่ยของค่าความแข็งในแบบระนาบน้อยที่สุด เท่ากับ 18.3±9.7นิวตัน/ตร.มม.เป็นบริเวณที่มีความอ่อนนุ่มมาก เพราะเป็นช่วงที่ต้องมีการสัมผัสและเข้าไปอยู่ในส่วนเบ้าของกระดูกหัวไหล่จึงทำให้บริเวณดังกล่าวมีความอ่อนนุ่มเพื่อลดการเสียดสีและรับกับรูปเบ้าของกระดูกหัวไหล่ได้ ซึ่งข้อมูลในงานวิจัยนี้จะช่วยแนะแนวทางแก่ศัลยแพทย์ ในการรักษา ป้องกันและลดปัญหาต่างๆก่อนที่กระดูกจะเกิดการแตกหักได้ และอาจเป็นข้อมูลพื้นฐานช่วยเสริมในงานทางด้าน Finite Element เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการสร้างข้อมูลที่ไม่ได้มาจากกระดูกต้นขาและกระดูกต้นแขนได้ |
Other Abstract: | Osteoporosis, a disease of bones that leads to an increased risk of fracture, It is a very serious condition that may occur in every elderly people especially in women after menopause. Once happen to elderly people, it causes more complication than many other. Interesting information, the mortality rate of osteoporosis is higher than that of cervical and breast cancer combined. The aim of this research is to measure the hardness of bone using femur and humerus bones of cadavers as models. The hardness of sixty femur and humerus bones from female and male with an average age of 73.2±9.3 years old were tested. The test results show that, The first plane of head femur bone consisting of position 5, 6, 7, and 8 is considered to be the neck areas, has the highest hardness value of 28.8±13.5 Newton/mm2. This region is responsible for supporting most of the body mass, it is therefore harder than any other regions. The second plane of head femur bone consisting of position 9, 10, 11 and 12 is considered to be the head areas, has the lowest hardness value of 20.8±10.1 Newton/mm2. These areas are very soft and used for friction reduction of ilium. While the first plane of humerus bone consisting of position 1 2 3 and 4, is considered to be a surgical neck area, has the highest hardness value of 25.3±11.9 Newton/mm2. This region is responsible for supporting most of the body mass, it is therefore harder than any other areas. The second plane of humerus bone consisting of position 5,6,7 and 8 is considered to be an anatomic neck area, has the lowest hardness value of 18.3±9.7 Newton/mm2. This areas is very soft and used for reducing the friction of glenoid. These data maybe used as guideline for surgeon so that appropriate precaution can be taken during to reduce bone fracture In addition, they may be used as experimental data for the validation of theoretical analysis using finite element computer software. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมชีวเวช |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30430 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1085 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1085 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nopchanat_lo.pdf | 2.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.