Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30565
Title: พฤติกรรมการเดินทางของผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดที่ตั้งอยู่ในและนอกระยะการเดินถึงสถานีรถไฟฟ้าสุทธิสาร : กรณีศึกษา โครงการไลฟ์เอทสุทธิสาร, ไอวี่รัชดา และรัชดาออร์คิด
Other Titles: The travel behavior of residents in condominium close to Suthisan station : a case study of Life@Suthisan, Ivy Ratchada and Ratchada Orchid
Authors: อนุเทพ ศิริสิทธิ์
Advisors: กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
พนิต ภู่จินดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kundoldibya@hotmail.com, Kundoldibya.P@Chula.ac.th
Subjects: อาคารชุด
รถไฟฟ้า
การเดินทาง
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันการพัฒนาที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดตามแนวรถไฟฟ้า MRT มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในแต่ละโครงการมีการจัดเตรียมที่จอดรถยนต์ส่วนบุคคลตามที่กฏหมายกำหนดเท่ากับอาคารพักอาศัยในทุกพื้นที่ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพฤติกรรมการเดินทางของผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า MRT ที่ตั้งอยู่ในและนอกระยะการเดินถึงโดยวิเคราะห์ความจำเป็นในการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อเป็นข้อมูลนำไปสู่การทบทวนจำนวนที่จอดรถที่ต้องจัดให้มีตามกฏหมาย ในช่วงต้นปี 2554 การขยายตัวของอาคารชุดที่มีอัตราการขยายตัวมากที่สุดจะอยู่ในเขตห้วยขวาง จตุจักร บางนา ซึ่งในเขตห้วยขวางจะเป็นเส้นทางรถไฟฟ้า MRT ดังนั้นผู้วิจัยจึงเลือกกลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าสุทธิสาร โดยกลุ่มประชากรมีทั้งหมด 3 โครงการได้แก่ โครงการไลฟ์เอทสุทธิสาร ไอวี่รัชดา และรัชดาออร์คิด โดยทั้ง 3 โครงการมีระยะห่างจากสถานีรถไฟฟ้าสุทธิสารประมาณ 50ม. 250ม. และ 950 ม. ตามลำดับ โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาและเก็บข้อมูลโดยใช้การสำรวจ และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง จากผลของการศึกษาพบว่าลักษณะทางเศรษฐกิจ และสังคมของครัวเรือนของผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดที่ตั้งอยู่ใน และนอกระยะเดินถึงสถานีรถไฟฟ้า MRT มีลักษณะคล้ายกันคือ เป็นครัวเรือนขนาดเล็ก มีรายได้ปานกลาง และโครงการที่ตั้งอยู่ในระยะสามารถเดินถึงสถานีรถไฟฟ้า MRT มีการครอบครองรถยนต์ส่วนบุคคลร้อยละ 45.6 และโครงการที่ตั้งอยู่นอกระยะสามารถเดินถึงสถานีรถไฟฟ้า MRT มีการครอบครองรถยนต์ส่วนบุคคลร้อยละ 61.3 ผู้อยู่อาศัยมีพฤติกรรมการเดินทางดังนี้ โครงการที่ตั้งอยู่ในระยะสามารถเดินถึงสถานีรถไฟฟ้า MRT ผู้อยู่อาศัยที่มีวัตถุประสงค์ของการเดินทางเพื่อไปทำงานในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ด้วยรถไฟฟ้า MRT มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 43.1 ซึ่งมีปริมาณมากกว่าโครงการที่ตั้งอยู่นอกระยะสามารถเดินถึงสถานีรถไฟฟ้า MRT โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 25.0 และในวันเสาร์กับอาทิตย์ผู้อยู่อาศัยมีวัตถุประสงค์ในการเดินทางเพื่อไปซื้อสินค้ามากกว่าการเดินทางเพื่อวัตถุประสงค์อื่น โครงการที่ตั้งอยู่ในระยะสามารถเดินถึงสถานีรถไฟฟ้า MRT มีการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า MRT มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 45.3 ซึ่งมีปริมาณมากกว่าโครงการที่ตั้งอยู่นอกระยะสามารถเดินถึงสถานีรถไฟฟ้า MRT โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 26.9 และจากผลการศึกษาพบว่าโครงการที่ตั้งอยู่ในระยะสามารถเดินถึงสถานีรถไฟฟ้า MRT ผู้อยู่อาศัยที่มีความจำเป็นในการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 32.0 และ โครงการที่ตั้งอยู่นอกระยะสามารถเดินถึงสถานีรถไฟฟ้า MRT มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 52.6 ดังนั้นจากผลการศึกษาแสดงให้เห็นแนวโน้มว่าผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดที่ตั้งอยู่ในระยะสามารถเดินถึงสถานีรถไฟฟ้า MRT น่าจะมีความจำเป็นในการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลน้อยกว่าอาคารชุดที่ตั้งอยู่นอกระยะสามารถเดินถึงสถานีรถไฟฟ้า MRT จึงมีข้อเสนอแนะให้มีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันในข้อสรุปนี้ และนำไปสู่การพิจารณาปรับลดจำนวนที่จอดรถในอาคารชุดที่อยู่ตามแนวรถไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้ต้นทุนค่าก่อสร้าง และราคาขายอาคารชุดลดลงได้
Other Abstract: [ต้นฉบับไม่มีบทคัดย่อภาษาอังกฤษ]
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาที่อยู่อาศัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30565
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1214
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1214
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
anuthep_si.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.