Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30679
Title: | การสร้างมาตรฐานและมาตรการในการจัดเก็บวัตถุอันตรายประเภทก๊าซไวไฟ |
Other Titles: | Establishing standard and countermeasures for hazardous substances storage of flammable gases |
Authors: | ณัฐพล จงเลิศชัย |
Advisors: | จิตรา รู้กิจการพานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jittra.R@Chula.ac.th, fieckp@eng.chula.ac.th |
Subjects: | ก๊าซเชื้อเพลิง -- การเก็บและรักษา -- มาตรฐาน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม -- มาตรฐาน วัตถุอันตราย -- การเก็บและรักษา -- มาตรฐาน |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐานและมาตรการในการจัดเก็บวัตถุอันตราย โดยเริ่มจากการศึกษากฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บวัตถุอันตราย แล้วทำการวิเคราะห์และคัดเลือกประเภทของอุตสาหกรรมกรณีศึกษาจำนวน 5 แห่ง มาทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของความเสี่ยงและการเกิดอุบัติภัยที่อาจเกิดจากการจัดเก็บวัตถุอันตรายโดยใช้แผนผังแสดงเหตุและผล นำสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติภัยจากการจัดเก็บวัตถุอันตรายมาทำการประเมินความเสี่ยงและสร้างมาตรการในการปฏิบัติงานในการจัดเก็บวัตถุอันตรายให้ปลอดภัยโดยอ้างอิงจากมาตรฐานตามข้อกำหนดขององค์การสหประชาชาติและกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผลจากการประเมินความเสี่ยงพบว่า ปัจจัยเสี่ยงอันตรายที่สำคัญในอันดับต้นของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์มี 2 ปัจจัยคือ วิธีการจัดเก็บวัตถุอันตรายไม่ถูกต้องและการจัดเก็บกลุ่มของสารที่เข้ากันไม่ได้ไว้ร่วมกัน อุตสาหกรรมยางอีลาสโตเมอร์เฉพาะส่วนของห้องเก็บวัตถุดิบมี 2 ปัจจัยคือ วิธีการจัดเก็บวัตถุอันตรายไม่ถูกต้องและการจัดเก็บกลุ่มของสารที่เข้ากันไม่ได้ไว้ร่วมกัน เฉพาะส่วนของห้องเก็บอะไหล่มี 1 ปัจจัยคือ มีวิธีการจัดเก็บวัตถุอันตรายไม่ถูกต้อง อุตสาหกรรมสีผงมี 1 ปัจจัยคือ วิธีการจัดเก็บวัตถุอันตรายไม่ถูกต้อง อุตสาหกรรมฟอกย้อมสิ่งทอมี 2 ปัจจัยคือ วิธีการจัดเก็บวัตถุอันตรายไม่ถูกต้อง และการจัดเก็บกลุ่มของสารที่เข้ากันไม่ได้ไว้ร่วมกัน และอุตสาหกรรมเครื่องประดับมี 1 ปัจจัยคือ วิธีการจัดเก็บวัตถุอันตรายไม่ถูกต้อง ผลจากการสร้างมาตรการในการจัดเก็บวัตถุอันตรายแบ่งเป็น 6 ด้าน คือ (1) การควบคุมลักษณะความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย (2) การแยกประเภทของวิธีการจัดเก็บวัตถุอันตราย (3) ระยะห่างของการจัดเก็บวัตถุอันตราย (4) ปริมาณวัตถุอันตรายที่จัดเก็บ (5) การจัดเก็บสารที่เข้ากันไม่ได้ และ (6) การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บวัตถุอันตราย ในการศึกษานี้ยังได้มีการจัดทำขั้นตอนการสร้างมาตรการในการจัดเก็บวัตถุอันตรายสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Work Instruction) ของการจัดเก็บวัตถุอันตราย |
Other Abstract: | The objective of this research was to establish countermeasures for hazardous substances storage. The methodology of this research started from studying laws and standards concerning hazardous substances storage, then analyzing and selecting 5 case studies of industrial factories. The cause & effect diagram was used to analyze causes of risks and accidents that could possibly happen. After assessing the major causes of accidents from storing hazardous substances, safety measures for hazardous substances storage operation were established according to standards regulated by the United Nations and the Department of Industrial Works. According to risk assessment result, it was found that 2 major risk factors for the auto-part industry were inappropriate storage methods and lack of incompatible hazardous substances separation. As for the elastomer industry, 2 major risk factors found in the raw materials store room were inappropriate storage methods and lack of incompatible hazardous substances separation whereas for the spare parts store room, 1 major risk factor was inappropriate storage methods, 1 major risk factor for the powder coating color industry was inappropriate storage methods, 2 major risk factors for the dyeing garment industry were inappropriate storage methods and lack of incompatible hazardous substances separation, 1 major risk factor for the Jewelry industry was inappropriate storage methods. The resulting countermeasures for hazardous substances storage could be classified into six categories; (1) control of characteristic hazardous substances, (2) classification of hazardous materials storage methods, (3) distance of hazardous substances storage, (4) quantity of hazardous materials, (5) storage of incompatible substances, and (6) training sessions on hazardous substances storage for associated employees. This study also created procedures for establishing countermeasures for hazardous substances in industrial factories as well as work instruction documents on hazardous materials storage. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30679 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.292 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.292 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nattapol_ch.pdf | 4.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.