Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30962
Title: | ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตการศึกษา 5 เกี่ยวกับวิธีการตัดสินใจสั่งการในการบริหารโรงเรียน |
Other Titles: | Opinions of secondary school administrators in educational region five concerning the decision making strategies in school administration |
Authors: | ธานี กาทอง |
Advisors: | วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนแต่ละขนาด เกี่ยวกับวิธีการตัดสินใจสั่งการในงานบริหารการศึกษาของโรงเรียน ตามที่ปฏิบัติจริงและตามความคาดหวัง 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนแต่ละขนาดเกี่ยวกับวิธีการตัดสินใจสั่งการในงานบริหารการศึกษาของโรงเรียน ตามที่ปฏิบัติจริงและตามความคาดหวัง 3. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการตัดสินใจสั่งการในงานบริหารการศึกษาของโรงเรียนแต่ละขนาด สมมุติฐานของการวิจัย ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนแต่ละขนาด เกี่ยวกับวิธีการตัดสินใจสั่งการในงานบริหารการศึกษาของโรงเรียน ตามที่ปฏิบัติจริงและตามความคาดหวังไม่แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับงานบริหารการศึกษาของโรงเรียน 5 ประเภท ได้แก่ งานวิชาการ งานบุคลากร งานกิจการนักเรียน งานธุรการ การเงิน อาคารสถานที่ และงานความสัมพันธ์กับชุมชน โดยใช้วิธีการตัดสินใจสั่งการตามแนวความคิดของ วิคเตอร์ เอช วรูม และฟิลลิป ดับบลิว เยตตอน (Victor H. Vroom and Philip W Yetton) แบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 สอบถามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม และข้อมูลทั่วไปของโรงเรียนมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ ตอนที่ 2 สอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนเกี่ยวกับวิธีการตัดสินใจสั่งการในงานบริหารการศึกษา มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ ตอนที่ 3 สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคของการตัดสินใจสั่งการในงานบริหารการศึกษาของโรงเรียน มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามนี้ สอบถามกลุ่มประชากรซึ่งเป็นผู้บริหารโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตการศึกษา 5 จำนวน 110 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลกระทำโดยการส่งและรับแบบสอบถามคืนทั้งด้วยตนเองและทางไปรษณีย์ จำนวนแบบสอบถามที่ได้รับคืนเพื่อใช้ในการวิจัย 99 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 90 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมุติฐานใช้การทดสอบแบบไค-สแควร์ สรุปผลการวิจัย 1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการตัดสินใจสั่งการในงานบริหารการศึกษาของโรงเรียนขนาดใหญ่ ปรากฏว่าในด้านที่ปฏิบัติจริง ผู้บริหารโรงเรียนใช้วิธีการตัดสินใจสั่งการด้วยวิธีที่ 4 (ผู้บริหารอภิปรายปัญหาร่วมกับกลุ่มผู้ใต้บังคับบัญชา แล้วพิจารณาตัดสินใจด้วยตนเอง) ในงานบริหารการศึกษาด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน และใช้วิธีที่ 5 (ผู้บริหารประชุมอภิปรายปัญหา ประเมินทางเลือกร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาแล้วทำการตัดสินใจโดยใช้ความเห็นสอดคล้องกัน) ในงานบริหารการศึกษาด้านกิจการนักเรียน และด้านธุรการ การเงิน อาคารสถานที่ ส่วนในด้านความคาดหวัง ผู้บริหารโรงเรียนใช้วิธีการตัดสินใจสั่งการด้วยวิธีที่ 4 ในงานบริหารการศึกษาด้านบุคลากร และใช้วิธีที่ 5 ในงานบริหารการศึกษาด้านวิชาการ ด้านกิจกานักเรียน ด้านธุรการ การเงิน อาคารสถานที่ และด้านความสัมพันธ์กับชุมชน การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน เกี่ยวกับวิธีการตัดสินใจสั่งการในงานบริหารการศึกษา ตามที่ปฏิบัติจริงและตามความคาดหวัง ปรากฏว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกันทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ 2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการตัดสินใจสั่งการในงานบริหารการศึกษาของโรงเรียนขนาดกลาง ปรากฏว่าทั้งในด้านที่ปฏิบัติจริงและด้านความคาดหวัง ผู้บริหารโรงเรียนใช้วิธีตัดสินใจสั่งการด้วยวิธีที่ 4 ในงานบริหารการศึกษาด้านบุคลากร และใช้วิธีที่ 5 ในงานบริหารการศึกษาด้านวิชาการ ด้านกิจการนักเรียน ด้านธุรการ การเงิน อาคารสถานที่ และความสัมพันธ์กับชุมชน การเปรียบเทียบความคิดเป็นของผู้บริหารโรงเรียน เกี่ยวกับวิธีการตัดสินใจสั่งการในงานบริหารการศึกษา ตามที่ปฏิบัติจริงและตามความคาดหวัง ปรากฏว่ามีความคิดเป็นแตกต่างกันทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ 3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการตัดสินใจสั่งการในงานบริหารการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ปรากฏว่าในด้านที่ปฏิบัติจริง ผู้บริหารโรงเรียนใช้วิธีตัดสินใจสั่งการด้วยวิธีที่ 1 (ผู้บริหารตัดสินใจด้วยตนเอง โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่) ในงานบริหารการศึกษาด้านบุคลากร และใช้วิธีที่ 5 ในงานบริหารการศึกษาด้านวิชาการ ด้านกิจการนักเรียน ด้านธุรการ การเงิน อาคารสถานที่ และด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ส่วนในด้านความคาดหวัง ผู้บริหารโรงเรียนใช้วิธีการตัดสินใจสั่งการด้านวิธีที่ 5 ในงานบริหารการศึกษาทุกด้าน การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน เกี่ยวกับวิธีการตัดสินใจสั่งการในงานบริหารการศึกษา ตามที่ปฏิบัติจริงและตามความคาหวัง ปรากฏว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกันทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ 4. ปัญหาและอุปสรรคของการตัดสินใจสั่งการในงานบริหารการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้ง 3 ขนาด ที่ผู้บริหารโรงเรียนระบุเป็นปัญหาลำดับที่ 1 คือ ปัญหาเกี่ยวกับระบบราชการที่ล่าช้า และมีระเบียบกฎเกณฑ์มาก สำหรับปัญหาลำดับสุดท้ายของโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดกลาง คือ ปัญหาเกี่ยวกับอิทธิพลของบุคคลภายนอกโรงเรียน แต่ปัญหาลำดับสุดท้ายของโรงเรียนขนาดเล็ก คือ ปัญหาเกี่ยวกับอิทธิพลจากผู้ร่วมงาน |
Other Abstract: | Objectives of the Research : 1. To study about school administrators’ opinions in a different size (large, medium and small) of schools on the strategies of decision making in actual performance and expected performance. 2. To compare the school administrators’ opinions in a different size of schools on the strategies of decision making in actual performance and expected performance. 3. To study the problems in decision making about administration of a different size of schools. Hypothesis : The school administrators’ opinions in a different size of schools on the strategies of decision making of both in actual performance and expected performance are not different. Research Procedures : This is a survey research. The questionnaire about the decision making strategies of Victor H. Vroom and Phillip W. Yetton on school administration concerning academic administration, personnel administration, student personnel administration, school business, finance, school plant and school community relations was used to collect data on the opinions of total of 110 school administrators in Educational Region Five. Ninety percent of the administrators answered the questionnaire. The percent, mean and standard deviation were used to analyse the data. The chi-square also used to test the hypothesis. Findind and Conclusion : 1. In the large size secondary school, it was found that the administrators made the decision making by using the fourth strategy (administrators share the problem with their subordinates as a group, obtaining their collective ideas and suggestions. Then they make the decision, which may or may not reflect their subordinate’s influence.) concerning the academic administration, personnel administration, and school community relations and they used the fifth strategy (Administrators share the problem with their subordinates as a group. Together they generate and evaluate alternatives and attempt to reach agreement (consensus) on a solution.) concerning student personnel administration and school business, finance, school plant in their actual performance. But in the expected performance they considered that they should use the fourth strategy concerning the personnel administration and the fifth strategy concerning the academic administration, student personnel administration, school business, finance, school plant and school community relations. The school administrators’ opinions in the large size on the strategies of decision making of both in actual performance and expected performance were at atistically significant different at the .01 level. So the hypothesis was rejected. 2. In the medium size secondary school, it was found that the administrators made the decision making of both in actual performance by using the fourth strategy concerning the personnel administration and the fifth atrategy concerning the academic administration, student personnel administration, school business, finance, school plant, and school community relations. The school administrators’ opinions in the medium size on the strategies of decision making of both in actual performance and expected performance were statistically significant different at .01 level. So the hypothesis was rejected. 3. In the small size secondary school, it was found that the administrators made the decision making by using the first strategy (Administrators solve the problem or making the decision themselves, using information available to them at the time.) concerning the personnel administration and the fifth strategy concerning the academic administration, student personnel administration, school business, finance, school plant and school community relations. But in the expected performance all the administrators considered that they should use the fifth strategy in decision making. The school administrators’ opinions in the small size on the strategies of decision making of both in actual performance and expected performance were statistically significant different at the .01 level. So the hypothesis was rejected. 4. The major problem relating to decision making was a show working of the government system and a lot of rules. The minor problem relating to decision making of the administrators of both large and medium schools was influence of the outsider to the schools. The minor problem relating to decision making of the administrators of small schools was the influence of school staff. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30962 |
ISBN: | 9745677302 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thani_ka_front.pdf | 6.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thani_ka_ch1.pdf | 3.66 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thani_ka_ch2.pdf | 17.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thani_ka_ch3.pdf | 5.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thani_ka_ch4.pdf | 21.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thani_ka_ch5.pdf | 6.89 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thani_ka_back.pdf | 11.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.