Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31013
Title: การพัฒนาตู้เก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
Other Titles: Development of electronic cabinet
Authors: ผกามาศ สุวรรณฑล
Advisors: ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์
สุเมธ วัชระชัยสุรพล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สารสนเทศเป็นทรัพยากรที่สำคัญขององค์กร เพื่อนำไปใช้ในการหาแนวทางแก้ปัญหา ช่วยในการตัดสินใจ วางแผนในอนาคตและเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น งานสารบรรณเป็นงานหนึ่งที่มีความสำคัญในระบบสารสนเทศของสำนักงาน เนื่องจากเป็นงานที่ช่วยสนับสนุนงานอื่นๆ ภายในสำนักงานให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้พัฒนาตู้เก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นเพื่อช่วยในงานนี้ ตู้เก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นนี้ มีโครงร่างพื้นฐานอันประกอบด้วยคอมพิวเตอร์หลัก 1 เครื่องและเวิร์กสเตชั่นหลายๆ เครื่อง ต่อเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายสื่อสารรูปแบบดาว โดยได้มีการออกแบบจอข้อมูลเข้าออก โปรโตคอล และฐานข้อมูล ในคอมพิวเตอร์หลัก มีฐานข้อมูลตู้เก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งถูกจัดการภายใต้ระบบจัดการฐานข้อมูล ส่วนในเวิร์กสเตชั่น ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ปฏิบัติงานโดยตรง อันได้แก่ การเตรียมเอกสาร การตรวจทานเอกสาร และการแสดงรายละเอียดของเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการ ระบบที่ได้ออกแบบนี้ แบ่งออกเป็น 4 ระบบย่อย คือ ระบบจัดเก็บเอกสาร ระบบสืบค้นเอกสาร ระบบอ้างอิงเอกสาร และระบบติดตามเอกสาร ทั้ง 4 ระบบย่อยอยู่ภายใต้การกำหนดสิทธิ ในการเข้าถึงข้อมูล ตามระดับของผู้ใช้เพื่อให้ข้อมูลมีความปลอดภัย ผลการวิจัยสรุปว่า ตู้เก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยให้ระบบงานต่างๆ ในสำนักงานคล่องตัวขึ้น เป็นข้อมูลสำคัญแก่ผู้บริหารในการตัดสินใจ วางแผนงานต่างๆ และช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถสืบคืนอ้างอิง และติดตามเอกสารได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยติดต่อกับระบบผ่านพูลดาวน์เมนู ที่เข้าใจได้ง่าย
Other Abstract: In the Information age, information has become a vital resource of an organization which is used as an important tool in decision making, planning, solving organizational problems which gear to increasing the work productivity and efficiency of the organization. Document filing, as a part of the information system, too plays an important role in the information system of an organization since it supports other major activities thus leading to smooth work flow and efficien y. Therefore this research is to develop the Electronic Cabinet to support this activity. The Electronic Cabinet developed has the basic hardware components of. a host computer and many workstations connected to it forming a star topology. A protocol, a database and input-output screen using a Pull-Down Menu in the Thai Language have also been developed as a part of the Electronic Cabinet. In the host computer, there is a database of the Electronic Cabinet under the host DBMS, the workstations serve as an interface between the user and the host in preparing, editing, veryfying and retrieving documents. The system developed is devided into 4 subsystems namely The Document Storing System, The Document Retrieval System, The Document Reference System and The Document Tracing System. The feature of system user authorization is also provide to ensure data security in all the subsystems. To conclude, it has been observed that the Electronic Cabinet in­ creases the efficiency and smoothens the flow of documents in an organization and can be used to support a variety of user activities listed above which fulfils the major objectives of an organization.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31013
ISBN: 9745781908
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phakamart_su_front.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Phakamart_su_ch1.pdf534.53 kBAdobe PDFView/Open
Phakamart_su_ch2.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open
Phakamart_su_ch3.pdf748 kBAdobe PDFView/Open
Phakamart_su_ch4.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open
Phakamart_su_ch5.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Phakamart_su_ch6.pdf407.45 kBAdobe PDFView/Open
Phakamart_su_back.pdf320.73 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.