Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31594
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนราพงษ์ จรัสศรี-
dc.contributor.authorระวิวรรณ วรรณวิไชย-
dc.contributor.otherจุฒาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2013-05-29T08:52:25Z-
dc.date.available2013-05-29T08:52:25Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31594-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่อง “นาฏยศิลป์เพื่อเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน” นี้ ผู้วิจัยต้องการค้นหาแนวทางในการออกแบบงานนาฏยศิลป์เพื่อส่งเสริมความสุขแก่เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ดังนั้นผู้วิจัยจึงตั้งประเด็นคำถามในการวิจัยเกี่ยวกับผลงานการแสดงจากงานวิจัยเรื่อง “นาฏยศิลป์เพื่อเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน” ควรเป็นอย่างไร และควรมีแนวคิดในการสร้างสรรค์งานอย่างไร ทั้งนี้ผลที่ได้จากการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ คือ ผลงานนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ที่สร้างความสุขทางอารมณ์แก่นักแสดงซึ่งเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6) ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ที่มีค่าเฉลี่ยระดับการฟังเสียงอยู่ในระดับ 90 เดซิเบลขึ้นไป ระดับการสูญเสียการได้ยินอยู่ในระดับ 5 คือ หูหนวก (Profound Hearing Loss) เป็นหลัก ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ความสุข การมีส่วนร่วม นาฏยศิลป์สร้างสรรค์ นาฏยศิลป์บำบัด และความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญกับนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงสร้างสรรค์นี้ประกอบด้วยเครื่องมือ 6 ชนิด คือ การสำรวจข้อมูลภาคสนาม การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินและแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมความสุข การสัมมนา และสื่อสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัย โดยดำเนินการเก็บข้อมูลที่อยู่ในช่วงของเดือนมกราคม 2544 ถึงเดือนสิงหาคม 2554 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้มีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้เชี่ยวชาญทั้งทางด้านศิลปะบำบัด และศิลปะการแสดงโดยเฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างงานนาฏยศิลป์แบบสร้างสรรค์ ข้อมูลทั้งหมดได้ถูกนำมาวิเคราะห์ เพื่อตอบคำถามงานวิจัยสร้างสรรค์ในครั้งนี้ คือ ได้ผลงานการแสดงและแนวคิดในการสร้างสรรค์งาน “นาฏยศิลป์เพื่อเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน” โดยคำนึงถึงองค์ประกอบทางด้านนาฏยศิลป์ที่ประกอบไปด้วย นักแสดง บทการแสดง การออกแบบลีลา การออกแบบสถานที่ การออกแบบแสง การจัดเสียงและดนตรี การออกแบบเครื่องแต่งกาย ตลอดจนการออกแบบอุปกรณ์การแสดง ตรงตามวัตถุประสงค์ทุกประการen
dc.description.abstractalternativeFor this thesis of “Dance for Hearing Impaired Children”, the researcher intends to explore the guideline to Choreography the Dance in order to foster happiness of hearing impaired children. As a result, the researcher addresses the research Question regarding the results of studying “Dance for Hearing Impaired Children” to provide suitable Dance for hearing impaired children as well as find out how the concept of performance would be. The obtained result is the work of Dance that provides happiness to hearing impaired children in Secondary school. (Secondary 4-6), both male and female, with the mean of decibel hearing level higher than 90 dBHL., profound hearing loss at level 5. The research studies on hearing impaired children, happiness, participation of such children, creative Dance, Dance therapy, experts’ comments and creative Dance related to hearing impaired children. There six tools used in this research include field data exploration, documentary data exploration, interview with experts, evaluation model of happiness indicator, observation form of happiness behavior, evaluation model of happiness from Dance for hearing impaired children, seminars and other information media related to the research topic. Data collection is operated between January 2001 – August 2011, both in Thailand and other countries. The subjects of interview include students, experts in Art Therapy and performing art, especially, the persons related to creative Dance. All data are analyzed to obtain the performing art and idea to create “Dance for hearing impaired children” through considering the elements of Dance including actors, script writing, choreographies (dance compositions), location designs (scenic designs), lighting designs, music and sound designs, costumes and props designs according to the thesis objectives completely.en
dc.format.extent9579120 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.302-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการรำ -- ไทยen
dc.subjectเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินen
dc.subjectการบำบัดด้วยการเต้นรำสำหรับเด็กen
dc.subjectการเคลื่อนไหวบำบัดen
dc.subjectความสุขในเด็ก -- การวัดen
dc.subjectDance -- Thailanden
dc.subjectHearing impaired childrenen
dc.subjectDance therapy for childrenen
dc.subjectMovement therapyen
dc.subjectHappiness in children -- Measurementen
dc.titleนาฏยศิลป์เพื่อเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินen
dc.title.alternativeDance for the hearing impaired childernen
dc.typeThesises
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineศิลปกรรมศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.302-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rawiwan_wa.pdf9.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.