Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31611
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorองอาจ วิพุธศิริ
dc.contributor.advisorเติมศรี ชำนิจารกิจ
dc.contributor.authorอรุณี ศุภนาม
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-05-29T09:36:11Z
dc.date.available2013-05-29T09:36:11Z
dc.date.issued2539
dc.identifier.isbn9746342428
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31611
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en
dc.description.abstractเยาวชนเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศในอนาคตและเป็นกลุ่มผู้บริจาคโลหิตสำรองที่สำคัญที่สุด เนื่องจากอายุยังน้อยสามารถบริจาคโลหิตได้นานกว่ากลุ่มอื่นๆ นอกจากนั้นเยาวชนยังเป็นกลุ่มที่มีอัตราการติดเชื้อโรคในโลหิตที่บริจาคน้อยที่สุด การศึกษาครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการบริจาคโลหิตของเยาวชน จากสถาบันการศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ปีพ.ศ. 2538 รูปแบบการวิจัยเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง สุ่มตัวอย่างเยาวชนที่มีอายุ 17-24 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในสถาบันต่าง ๆ โดยใช้หลักของความน่าจะเป็น ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 3,082 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามให้เยาวชนตอบด้วยตนเองภายหลังการชี้แจง ระหว่างเดือน ธันวาคม 2538 ถึง มกราคม 2539 ผลการศึกษา พบว่าเยาวชนผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง17-20 ปี (ร้อยละ 87.6) สัดส่วน ชาย:หญิง เท่ากับ 2:3 น้ำหนักตัวโดยเฉลี่ย 53.3 กก. เยาวชนครึ่งหนึ่งทราบหมู่โลหิตของตน ไม่เคยได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบริจาคโลหิตร้อยละ 22.3 เยาวชนร้อยละ 80 ไม่มีความรู้เรื่องปริมาณโลหิตในร่างกาย การสร้างโลหิตของไขกระดูก และการผลิตสารทดแทนโลหิต เยาวชนครึ่งหนึ่งไม่มีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต ปริมาณโลหิตที่บริจาค ช่วงห่างของการบริจาคหมู่โลหิตที่พบน้อย และสถานที่บริจาค สำหรับทัศนคติเกี่ยวกับการบริจาคโลหิต พบว่าเยาวชนมากกว่าร้อยละ 75 มีทัศนคติที่ถูกต้อง ยกเว้นเพียง 3 ประเด็นซึ่งไม่ถูกต้อง ได้แก่ โลหิตซื้อ-ขายกันได้ (ร้อยละ 45.8) การบริจาคโลหิตทำให้ติดเชื้อเอดส์ (ร้อยละ 59.3) และถ้าบริจาคโลหิตปีละ 4 ครั้งนั้นมากเกินไป (ร้อยละ 68.6)ในสองประเด็นหลัง พบว่าเยาวชนที่เคยกับไม่เคยบริจาคโลหิตมีทัศนคติแตกต่างกันอย่างมีสำคัญทางสถิติ (P<.05) ส่วนพฤติกรรมการบริจาคโลหิต พบว่าเยาวชนเคยบริจาคโลหิตร้อยละ 21.5 ส่วนใหญ่เวลาไปบริจาคจะชวนเพื่อนไปด้วย (ร้อยละ77.7) ในปี 2538 เยาวชนบริจาคโลหิตร้อยละ 59.6 ของผู้ที่เคยบริจาค และบริจาคเพียง 1 ครั้ง/ปี (ร้อยละ 61) แต่ในปีต่อ ๆ ไป เยาวชนร้อยละ 71.2 ตั้งใจจะบริจาคปีละ 2 ครั้งหรือมากกว่า เหตุผล 3 อันดับแรกที่ทำให้ตัดสินใจบริจาคโลหิต คือ อยากบริจาค ช่วยชีวิตคน และตรวจสุขภาพ ผู้ที่ไม่เคยบริจาคโลหิตระบุสาเหตุสำคัญเป็นเพราะ กลัวเข็ม/กลัวเจ็บ (ร้อยละ 55.7) กลัวติดเชื้อโรค (ร้อยละ 42.8) แต่ในอนาคตผู้ไม่เคยบริจาคร้อยละ 69.7 ตั้งใจจะบริจาคโลหิต จากการศึกษาพบความแตกต่างระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่เคยและไม่เคยบริจาคโลหิตบริจาคโลหิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P<.05) เกือบทุกปัจจัย ยกเว้นสถาบันการศึกษาของรัฐกับเอกชน และการให้สิ่งตอบแทน/ของสมนาคุณแก่ผู้บริจาคโลหิต โดยสรุป การศึกษาครั้งนี้แสดงถึงคุณลักษณะทั่วไป ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม ความยินดี และตั้งใจที่จะบริจาคโลหิตของเยาวชน กลุ่มเพื่อนและครูเป็นกุญแจสำคัญที่มีอิทธิพลและแรงผลักดันต่อการบริจาคโลหิตของเยาวชน การให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารและการสร้างแรงจูงใจโดยใช้กลวิธีที่เหมาะสมจะทำให้เยาวชนเห็นความสำคัญของการบริจาคโลหิต และขจัดความหวาดกลัวต่อการบริจาคโลหิตให้หมดไปได้
dc.description.abstractalternativeYouth are the most valuable resources for future development of a country as well as the most important group of voluntary nonremunerated blood donors because they are young and have longer period for blood donation than others. Furthermore, youth are the safest group in terms of blood-borne pathogen infections. The objective of the study was to determine knowledge, attitude and behavior regarding blood donation among youth of educational institutes in Bangkok Metropolitan Areas in1995. The study design was cross-sectional study. According to probability random sampling, 3,082 student samples age between 17-24 year were randomly selected from various educational institutes. Data collection through self-administration questionnaire after instruction was implemented during December 1995 to January 1996. The results of the study demonstrated that the majority of youth respondents were between 17-20 year old (87.6%) with male and female ratio 2:3 and average weight was 53.3 kilograms. Half of the youth could tell their blood groups. The youth respondents reported that 22.3% have never received any blood donation information. Eighty percent of the respondents were lack of knowledge, especially about amount of body blood, blood building process of bone marrow, and artificial blood. Half of the youth respondents demonstrated inadequate blood knowledge for the rest of the selected items. For attitudes related to blood donation, 75% of youth have the right attitudes except three items: blood is for sales, AIDS can be transmitted through blood donation, and four-time donations per year are too often. Blood donation rate of the youth respondents was 21.5%. Donor respondents indicated that they usually donated blood at the institutes (72.3%) and accompanied by their friends (77.7 %). In 1995, donor youth respondents donated 59.6% and 61.0% donated once a year. Next year, 71.2% intended to donate two or more times. The top three main reasons for donor youth were: willingness, saving other lives, and blood testing. The main reasons of the non-donor youth were: fear of needle/pain (55.7%) and infections (42.8%) but 69.7% will donate in the future. In focus on differences between the donor and non-donor youth respondents, statistical significant differences (P<.05) were found in almost all specified variables except no differences on public and private educational institutes and the gifts provision. In conclusion, the findings of this study demonstrated the donors demographics, willingness and potential of youth in blood donation. Friends and teachers were the key persons who had high influence and reinforcement for blood donation in youth. Relevant information and motivation should be tactically provided to overcome the fears of youth.
dc.format.extent5975449 bytes
dc.format.extent6408141 bytes
dc.format.extent6334830 bytes
dc.format.extent3827107 bytes
dc.format.extent22780407 bytes
dc.format.extent6705798 bytes
dc.format.extent13568453 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม เกี่ยวกับการบริจาคโลหิตของเยาวชนจากสถาบันการศึกษา ในกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeKnowledge, attitude and behavior regarding bolld donation among youth of educational institutes in Bangkok metropolitan areasen
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arunee_su_front.pdf5.84 MBAdobe PDFView/Open
Arunee_su_ch1.pdf6.26 MBAdobe PDFView/Open
Arunee_su_ch2.pdf6.19 MBAdobe PDFView/Open
Arunee_su_ch3.pdf3.74 MBAdobe PDFView/Open
Arunee_su_ch4.pdf22.25 MBAdobe PDFView/Open
Arunee_su_ch5.pdf6.55 MBAdobe PDFView/Open
Arunee_su_back.pdf13.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.