Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31910
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์-
dc.contributor.advisorณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์-
dc.contributor.authorอานุภาพ พานิชผล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-06-04T09:05:52Z-
dc.date.available2013-06-04T09:05:52Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746367927-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31910-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en
dc.description.abstractการเฝ้าสังเกตการณ์เปลี่ยนโครงสร้างของกลุ่มปะการังบริเวณเกาะค้างคาว จังหวัดชลบุรีโดยการถ่ายภาพใต้น้ำได้ดำเนินการในช่วงเดือนกรกฎาคม 2538 ถึงเดือนกรกฎาคม 2539 ในบริเวณสถานี A C และ D ซึ่งเป็นสถานีเดิมในการศึกษาของโครงการวิจัยร่วมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยริวกิว ประเทศญี่ปุ่น พบองค์ประกอบของปะการังในบริเวณนี้เมื่อแยกออกตามรูปแบบปะการังมีชีวิต ปะการังตาย บริเวณพื้นหินและทรายและกลุ่มของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ปะการัง พบว่าที่สถานี A และ C มี เปอร์เซ็นต์ครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตมากที่สุด โดยมีค่าอยู่ในช่วง 48.17 ถึง 53.85 และ 47.74 ถึง 72.64 ตามลำดับ เปอร์เซ็นต์ของปะการังมีชีวิตเพิ่มขึ้นตามระดับความลึก ส่วนที่สถานี D มีเปอร์เซ็นต์ครอบคลุมปะการังมีชีวิตน้อยมีค่า 10.8 ถึง 21.3 ส่วนองค์ประกอบของปะการังเมื่อแยกตามรูปแบบปะการัง 4 แบบ คือแบบก้อน แบบช่อ แบบแผ่น และแบบโต๊ะ พบว่าปะการังในรูปแบบก้อนมีพื้นที่ครอบคลุมมากที่สุดในทุกสถานี เมื่อศึกษาองค์ประกอบปะการังพบทั้งสิ้น 14 ชนิดโดยมีปะการัง Porites spp. เป็นกลุ่มเด่นซึ่งเป็นปะการังชนิดนี้จัดเป็นปะการังแบบก้อน รองลงมาได้แก่ Pavona spp. และ Pocillopora spp. ปัจจัยที่มีผลต่อความแปรปรวนขององค์ประกอบของปะการังในบริเวณนี้โดยพิจารณาจากเปอร์เซ็นต์ครอบคลุมของปะการังมีชีวิตและปะการังตายปะการังรูปแบบต่าง ๆ และชนิดของปะการังได้แก่ สถานีและความลึก ส่วนการศึกษาคุณภาพน้ำบริเวณเกาะค้างคาวพบว่าค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิ ความเค็ม ปริมาณ ออกซิเจนที่ละลายน้ำและค่าความเป็นกรดด่างมีค่าใกล้เคียงกันทุกสถานีและตลอดช่วงเวลาที่ทำการศึกษาอัตราการตกตะกอนในบริเวณนี้มีปริมาณสูงในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิ่งหาคมในทุกสถานีเนื่องจากเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งบริเวณสถานี C มีค่าสูงสุดโดยมีค่าเท่ากับ 110.60±16.07 มิลลิกรัม/ตารางเมตร/วัน จากการเปรียบเทียบเทคนิคการถ่ายภาพใต้น้ำกับวิธีการอื่น สามารถสรุปได้ว่าการถ่ายภาพใต้น้ำสามารถใช้ได้ดีในการเฝ้าสังเกตการณ์เปลี่ยนโครงสร้างของกลุ่มปะการังซึ่งมีการกำหนดจุดถาวร วิธีการนี้มีความละเอียดและแม่นยำเหมาะสมสำหรับการติดตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกลุ่มปะการังในระยะยาว-
dc.description.abstractalternativeMonitoring of structural change on coral communities around Ko Khang Kao Chon Buri Province was corried out during July 1995 to July 1996 at study sites A C and D which were the same study sites as in the Cooperative Research Project between Chulalongkorn University and University of the Ryukyus, Japan, The coral communities in this area, when divided into percent coverage of living corals, dead corals, rocky and sandy substrates and other forms of living organisms other than corals, consisted of highest coverage of living corals at study sites A and C within the range of 48.17-53.85 and 47.74-72.64 respectively. The study site D has the least percentage of living forms of 10.8 to 21.3 The percentage coverage of living corals increased with depth at all study sites. Among the four growth forms of corals; massive, foliose, branching and tabulate, the massive corals was dominant in Ko Khang Kao. The coral communities comprised of 14 genera with the dominant genera of Porites spp. Corals in the genera Pavona and Pocillopora were next in term of dominance respectively. Depth and study site were found to influence the diversity of corals according to species, growth and percent coverage of living corals. Environmental factors namely; average temperature, salinity, dissolved oxygen and pH at each study sites were similar throughout the study period. From May to August, during the Southwest monsoon period, high sedimentation at Khang Kao occurred in particular at study site C of 110.60±16.07 mg/m2/day. The underwater photogrammetry used in this study is suitable and precise for the monitoring of structural changes on coral communities at fixed quadrats in longer terms.-
dc.format.extent3864061 bytes-
dc.format.extent5440916 bytes-
dc.format.extent5047965 bytes-
dc.format.extent9514034 bytes-
dc.format.extent5376405 bytes-
dc.format.extent937335 bytes-
dc.format.extent5182149 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนโครงสร้างของกลุ่มปะการังบริเวณเกาะค้างคาว จ.ชลบุรี โดยใช้การถ่ายภาพใต้น้ำen
dc.title.alternativeMontoring of structural changes on coral communities around Ko Khang Kao Chon Buri Province by underwater photogrammetryen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์ทางทะเลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arnupap_pa_front.pdf3.77 MBAdobe PDFView/Open
Arnupap_pa_ch1.pdf5.31 MBAdobe PDFView/Open
Arnupap_pa_ch2.pdf4.93 MBAdobe PDFView/Open
Arnupap_pa_ch3.pdf9.29 MBAdobe PDFView/Open
Arnupap_pa_ch4.pdf5.25 MBAdobe PDFView/Open
Arnupap_pa_ch5.pdf915.37 kBAdobe PDFView/Open
Arnupap_pa_back.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.