Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32089
Title: | การศึกษาของพระสงฆ์ในจิตตภาวันวิทยาลัย |
Other Titles: | The educationa of buddhist monks in Djittbhawan College |
Authors: | พูนสุข เชิดชัย |
Advisors: | ทิพวรรณ เลขะวณิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2532 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพการศึกษา ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการศึกษาของพระสงฆ์ในจิตตภาวันวิทยาลัย ผลการวิจัยพบว่า จิตตภาวันวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาทางพระพุทธศาสนาของพระภิกษุสามเณรได้เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพระภิกษุสามเณรที่มีความรู้ ความสามารถในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่สังคม ปัจจุบันมีการจัดการศึกษาเป็น 4 คณะ ได้แก่ คณะพุทธศาสตร์ คณะภาษาไทย คณะนวกรรมศาสตร์ และคณะสังฆาธิการ แต่ละคณะมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้เรียนแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของคณะนั้น ๆ หลักสูตรการเรียนการสอนในแต่ละคณะก็แตกต่างกันออกไปด้วย การเรียนการสอนมีทั้งการสอนแบบบรรยายและการฝึกปฏิบัติ การวัดและการประเมินผลมีทั้งการใช้แบบทดสอบ การสังเกตพฤติกรรมและการประเมินผลงาน ภายในวิทยาลัยประกอบไปด้วยอาคารสถานที่ต่าง ๆ มีทั้งอาคารเรียน โรงฝึกงาน บ้านพักสำหรับอาจารย์และเจ้าหน้าที่ นับว่าวิทยาลัยมีความพร้อมในด้านอาคารสถานที่เป็นอย่างมาก ประชากรในวิทยาลัยซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 646 รูป/คน นั้นประกอบไปด้วยพระภิกษุสามเณร มีชีและฆราวาส ผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในวิทยาลัย นอกจากการเรียนการสอนตามคณะต่าง ๆ แล้ว วิทยาลัยได้จัดกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ เพื่อเป็นการพัฒนาคนให้มีความรู้ทางธรรมและทางโลก กิจกรรม/โครงการที่วิทยาลัยดำเนินการปัจจุบันที่สำคัญ ๆ ได้แก่ โครงการอบรมพระหน่วยพัฒนาการทางจิต โครงการธนาคารโค-กระบือ โครงการโรงสีข้าวช่วยชาวนา เป็นต้น ปัญหาการศึกษาที่พบได้แก่ การขาดอาจารย์ผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถและความเสียสละที่จะให้ความรู้แก่พระภิกษุสามเณร การขาดสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน ส่วนปัญหาด้านสุขภาพอนามัยที่พบคือนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นโรคผิวหนังกันมาก และวิทยาลัยขาดบุคลากรในการรักษาพยาบาล แนวทางในการแก้ไขปัญหานั้น พบว่า วิทยาลัยควรเพิ่มบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถควรเพิ่มงบประมาณและให้ความสำคัญด้านสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน ตลอดจนควรปรับปรุงการรักษาพยาบาลด้วย |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study the educational state, problems and guidelines for solving the problems of Buddhist monks in Djittbhawan College. The research findings revealed that Djittbhawan College is the educational institution of Buddhist monks and novices which has been organized since B.E. 2510. The objective of the college was to produce monks and novices who have knowledge and capability in promoting Buddhism and rendering service to Thai society. New, Djittbhawan has four faculties: Faculty of Buddhism, Faculty of Thai language, Faculty of Innovation and Faculty of Abbot. The criteria for recruiting students, the curriculum and method of teaching vary according to each faculty’s objectives. Learning and teaching patterns are usually in the form of lecture and practice. The measurement and evaluation applied here were tests, behavior observation, and performance evaluation. The college has buildings, workshops, houses for instructors and personel including dormitories for students. 646 people who reside in this college are monks, novices, nuns, laymen, administrators, instructors, students and other authorities. Besides the instruction in each faculty, this college has provided activities and projects for developing and promoting human growth in worldly knowledge and religious matters. The wellknown projects were spiritual development project, Cattle Bank Project and the Rice-Mill Project. The educational problems found here were the lack of efficient instructors who could sacrifice and devote to teaching monks and novices, instructional materials and equipment. For the students’ health problem, most of the students were suffered from skin diseases, especially personel in health care was found inadeguate. The guidelines for solving the mentioned problems were : the college should provide more capable human resources, budget and put greater emphasis on instructional materials including health care improvement. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สารัตถศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32089 |
ISBN: | 9745769769 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Poonsuk_ch_front.pdf | 6.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsuk_ch_ch1.pdf | 3.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsuk_ch_ch2.pdf | 16.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsuk_ch_ch3.pdf | 3.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsuk_ch_ch4.pdf | 44.96 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsuk_ch_ch5.pdf | 11.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsuk_ch_back.pdf | 23.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.