Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32121
Title: การวิเคราะห์แบบการเชื่อมโยงการเรียนการสอนกับการวิจัยตามการรับรู้ของอาจารย์และนิสิตบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: An analysis of research-teaching nexus patterns as perceived by instructors and graduate students at the Faculty of Education, Chulalongkorn University
Authors: สุชาดา สวัสดี
Advisors: สุชาดา บวรกิติวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: bsuchada@chula.ac.th
Subjects: การศึกษา -- วิจัย
การสอนอย่างมีประสิทธิผล
ระบบการเรียนการสอน -- การออกแบบ
การวางแผนหลักสูตร
การเรียนรู้โดยการค้นพบ
Education -- Research
Effective teaching
Instructional systems -- Design
Curriculum planning
Learning by discovery
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการเชื่อมโยงการเรียนการสอนกับการวิจัยในสภาพที่เป็นอยู่และที่พึงประสงค์ตามการรับรู้ของอาจารย์กับนิสิตบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างคืออาจารย์และนิสิตบัณฑิตศึกษาจาก 6 ภาควิชา จำนวน 100 และ 350 คน โดยใช้วิธีกำหนดโควตาตามสัดส่วนของประชากร เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย วิเคราะห์แบบการเชื่อมโยงการเรียนการสอนกับการวิจัยตามแนวคิดของ Healey และวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนาม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) จากการวิเคราะห์การเชื่อมโยงการเรียนการสอนกับการวิจัยตามแนวคิดของ Healey พบว่าสภาพที่เป็นอยู่ บทบาทผู้สอนและผู้เรียนอาจารย์และนิสิตทุกภาควิชามีความคิดเห็นว่าผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้ปฏิบัติมากกว่าเป็นผู้ฟัง ด้านลักษณะการวิจัยที่นำไปใช้อาจารย์ภาควิชาหลักสูตรฯ นิสิตภาควิชาศิลปะฯ และนิสิตภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิตมีความคิดเห็นว่าการเรียนการสอนมีการเชื่อมโยงกับการวิจัยแบบเน้นใช้ผลการวิจัย ในขณะที่อาจารย์และนิสิตภาควิชาอื่นมีความคิดเห็นว่าการเรียนการสอนเป็นแบบเน้นกระบวนการวิจัย สำหรับสภาพที่พึงประสงค์ในด้านบทบาทผู้สอนและผู้เรียน อาจารย์และนิสิตทุกภาควิชามีความคิดเห็นว่าผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้ปฏิบัติมากกว่าเป็นผู้ฟัง ในด้านลักษณะการวิจัยที่นำไปใช้ อาจารย์ในทุกภาควิชาและนิสิตส่วนใหญ่ต้องการให้การเรียนการสอนเป็นแบบเน้นที่กระบวนการวิจัย ยกเว้นนิสิตภาควิชาศิลปะฯ ที่ต้องการให้การเรียนเป็นแบบเน้นการใช้ผลการวิจัย 2) เมื่อเปรียบเทียบด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามเกี่ยวกับการเรียนการสอนตามแนวคิดการเชื่อมโยงการเรียนการสอนกับการวิจัยระหว่างอาจารย์กับนิสิตพบว่าสภาพที่เป็นอยู่อาจารย์กับนิสิตภาควิชาหลักสูตรฯ ภาควิชาวิจัยฯ และภาควิชาเทคโนโลยีฯ มีความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกัน นอกนั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับสภาพที่พึงประสงค์พบว่าอาจารย์กับนิสิตในทุกภาควิชามีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามเปรียบเทียบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเชื่อมโยงการเรียนการสอนกับการวิจัยของอาจารย์ที่ต่างภาควิชากัน และระหว่างนิสิตที่ต่างภาควิชากัน ทั้งในสภาพที่เป็นอยู่และสภาพที่พึงประสงค์พบว่าอาจารย์ทั้ง 6 ภาควิชาและนิสิตทั้ง 6 ภาควิชามีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this study were to analyze and compare the teaching-learning administration based on research-teaching nexus in current state and desired state as perceived by instructors and graduate students at the Faculty of Education, Chulalongkorn University. The sample consisted of 100 instructors and 350 graduate students from 6 departments. Data were collected by a questionnaire and were analyed by using descriptive statistics, Healey’s research-teaching patterns and MANOVA. The research findings were as follow: 1) Based on Healey’s patterns, it was found that the opinions of the instructors in department of curriculum and instruction, graduate students in department of art and department of lifelong education were emphasis on research results while other instructors and graduate students were emphasis on research processes. In desired state instructors in every departments and most graduate students’ opinions were emphasis on research processes except graduate students in department of art opinions were emphasis on research result. 2) In current state it was found that instructors and graduate students in department of curriculum and instruction, department of educational research and department of technology were no different opinions, but the rests were significant difference at .05 level. In desired state instructors and graduate students in every departments were significant difference at .05 level. 3) In current and desired state it was found that 6 departments of instructors and graduate students were significant difference at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32121
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.350
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.350
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suchada_sa.pdf4.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.