Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32380
Title: สภาพและปัญหาการบริหารประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเอกชน ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The state and problems of internal quatily assurance manegement of private schools in Bangkok
Authors: นราจันทร์ กิตติคุณ
Advisors: เอกชัย กี่สุขพันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การควบคุมคุณภาพ
โรงเรียน -- การบริหาร
โรงเรียนเอกชน -- การควบคุมคุณภาพ
โรงเรียนเอกชน -- การจัดการ
โรงเรียนเอกชน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ประกันคุณภาพ
Quality control
School management and organization
Private schools -- Quality control
Private schools -- Management
Private schools -- Thailand -- Bangkok
Quality assurance
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบแรกของ สมศ. (พ.ศ. 2544 - 2548) ระดับดีทุกมาตรฐาน ประชากรที่เป็นผู้บริหารจำนวน 32 คน และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูจำนวน 323 คน รวมประชากรและกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 355 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า สภาพสภาพการบริหารงาน ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สถานศึกษาทุกแห่งมีการเตรียมการก่อนการประกันคุณภาพโดยการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้บุคลากร และแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อรับผิดชอบ สำหรับการบริหารงาน ทั้ง 8 ด้าน มีสาระสำคัญดังนี้1)การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ มีการจัดโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจนและเอื้อต่อการประกันคุณภาพ และจัดระบบสารสนเทศให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานของสถานศึกษาในระดับมากที่สุด 2)การพัฒนามาตรฐานการศึกษา มีการศึกษาทำความเข้าใจและใช้มาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้คุณภาพของสมศ.เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนและจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติงานประจำปี มากที่สุด 3)การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา สถานศึกษาทุกแห่งมีการเตรียมการมีการจัดทำแผนโดยการปฏิบัติที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือ กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย ดัชนีวัดความสำเร็จ จัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม แผนงบประมาณ ของสถานศึกษาอย่างชัดเจน วิเคราะห์สภาพและปัญหา จุดเด่นจุดด้อย ความต้องการจำเป็น อุปสรรค และกำกับติดตาม ประเมินผล รายงานผลตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างชัดเจน และเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผน 4)การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษามีการนำแผนไปปฏิบัติโดยการจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี ปฏิทินปฏิบัติงาน โครงการต่างๆประจำฝ่าย/หมวด/งาน และแผนงานประจำฝ่าย/หมวด/งาน มากที่สุด 5)การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา มีการจัดประชุมชี้แจงเพื่อให้บุคลากรเข้าใจวิธีการทำงานที่สถานศึกษาต้องมีการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในสถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อรับผิดชอบการประเมินและจัดทำปฏิทินปฏิบัติงานเพื่อจัดระบบการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาภายใน 6)การประเมินคุณภาพการศึกษา สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร่วมกับ สทศ. และผลการประเมินทำให้ทราบปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษาและสามารถนำไปปรับปรุงประสิทธิภาพในการสอนให้ดีขึ้นมากที่สุด 7)การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี สถานศึกษารายงานผลต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 8)การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา โดยการสร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจในเรื่องคุณภาพแก่บุคลากร เพื่อบุคลากรทุกคนเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือ ปัญหาการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ส่วนใหญ่สถานศึกษามีปัญหาอยู่ในระดับน้อยที่สุดแต่ก็ยังพบปัญหาบ้าง ซึ่งปัญหาที่มีอยู่ในระดับน้อยคือ บุคลากรในสถานศึกษาไม่ได้นำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ความร่วมมือในการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากผู้ปกครอง-ชุมชนมีน้อย บุคลากรไม่เข้าใจเกี่ยวกับขอบเขตและเนื้อหาของแบบทดสอบที่จะใช้ประเมินผลสัมฤทธิ์นักเรียน และบุคลากรส่วนใหญ่ขาดความตื่นตัวในการรักษาการบริหารงานประกันคุณภาพภายใน
Other Abstract: The purpose of this research was to study status and problems of quality assurance management of private schools in Bangkok under Office of the Private Education Commission (OPEC) which acknowledged as good-rating in all standards to first-round external quality assessment (2001-2005) of The Office for National Education Standards and Quality Assessment (ONESQA). The population and samples consisted of 32 administrators and 323 teachers. The total of population and samples were 355. The research aimed to study the state and problems of internal quality assurance management of private schools in Bangkok. The findings revealed that: The schools had preparation processes before quality assurance by promoting knowledge and understanding development to personnel and set up a specific committee in charge of it. For 8 aspects of Q.A. Management ,there were some critical details as follows: 1) The management of information system was well structured to facilitate quality assurance and the management of information system was suitable for using in schools at the highest level, 2) The educational standards development was studied and education standard indicators and quality indicators from ONESQA most were used as guidelines for developing school quality and preparing for education quality development plan and annual plan 3) For education quality development plan, the most taken actions were identifying vision, mission, targets, success indicators, plan/project/activities, budget plan for school, an analysis of problems, strengths, weaknesses, needs, obstacles, monitoring and evaluation, and reporting, where by parents and community get involved most in planning. 4) For the implementation of an education quality development plans the following actions were most taken preparing annual plans, work calendars, department projects and division projects 5) The education quality monitoring and review were announced to personnel so that they understood working processes of monitoring and review as part of internal quality assurance, for which the specific committee was set up to be responsible for evaluation and preparation work of plans to set monitoring and review internal education quality, 6) For school evaluation, schools cooperated in education achievement measured by the National Institute of Educational Testing Service (NIETS) of which the results showed problems and obstacles and could be used to improve teaching efficiency, 7) For annual education quality report, schools reported to OPEC and Educational Service Area Office. 8) The educational quality assurance was supported by making it to be realized and developed through knowledge and understanding in areas of quality by all personnel concerned. For the problems, it was found that all the problems were rated at a low to the lowest level in all aspects.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32380
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1545
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1545
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
narajan_ki.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.