Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32599
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชัยรัตน์ เอี่ยมกุลวัฒน์ | - |
dc.contributor.author | ญาดา รอดสำราญ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-07-01T12:40:45Z | - |
dc.date.available | 2013-07-01T12:40:45Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32599 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายรายได้และรายจ่าย และศึกษาผลกระทบของนโยบายรายได้และรายจ่าย ด้วยวิธีการวัดแรงกระตุ้นทางการคลัง ของ 4ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ โดยอาศัยวิธีการศึกษาเชิงสถิติพรรณาและใช้แบบจำลองที่ดัดแปลงมาจากการวิเคราะห์ของ The German Council of Economic Expert :GCEE ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งใช้ข้อมูลทุติยภูมิรายปี ตั้งแต่ ปี 1987-2009 ผลการศึกษาในส่วนแรก พบว่า ทั้ง 4 ประเทศมีโครงสร้างทางการคลังแบบต่อต้านวัฎจักรเศรษฐกิจ แต่ในบางกรณีที่เศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลมีข้อจำกัดในการดำเนินนโยบายการคลัง เนื่องจากมีความล่าช้าในกระบวนการอนุมัติโครงการ และความเสี่ยงจากการรั่วไหล โครงสร้างทางการคลังจึงมีลักษณะผันผวนตามวัฏจักรเศรษฐกิจ ส่วนผลการศึกษาในส่วนที่สอง พบว่า ช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 1997 (ปี 1987-1996) เศรษฐกิจในแต่ละประเทศขยายตัวในระดับสูง ทำให้ค่าแรงกระตุ้นทางการคลังโดยเฉลี่ยมีค่าเป็นลบ ยกเว้น อินโดนีเซียที่มีเป็นบวก ต่อมา ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย ปี 1997 ค่าแรงกระตุ้นทางการคลังใน ปี 1998 ของไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์มีค่าเป็นบวก ในขณะที่ อินโดนีเซียมีค่าเป็นลบ ทั้งนี้เนื่องจากประเทศต่างๆจำเป็นต้องดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว ในขณะที่อินโดนีเซียประสบกับปัญหาหนี้สาธารณะทำให้ต้องตัดทอนรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป ส่วนช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินสหรัฐอเมริกา พบว่า ในปี 2009 ไทยมีค่าแรงกระตุ้นทางการคลังสูงสุด อันเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ จากงบไทยเข้มแข็ง รองลงมา ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ตามลำดับ โดยรัฐบาลสิงคโปร์ เน้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจ ส่วนมาเลเซียและอินโดนีเซียมีค่าแรงกระตุ้นทางการคลังใกล้เคียงกัน โดยผลในทางขยายตัวของอินโดนีเซีย เกิดจากด้านรายได้ ส่วนมาเลเซียเกิดจากด้านรายจ่าย เนื่องจากอินโดนีเซียประสบกับปัญหาความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The study of fiscal impulses in four Asian countries aims to study government expenditure and revenue policies and to assess their impacts using fiscal impulse indicators in four Asian countries, namely, Thailand, Malaysia, Indonesia and Singapore. Data used are secondary data from 1987 to 2009. This study employs the fiscal impulse model developed by The Council of Economic Expert (GCEE) to determine the impact of policy. The study of government expenditure and revenue policy showed that the behaviors of fiscal policy in four Asian countries were countercyclical. However, in some cases, fiscal policy in four Asian countries had constraints such as delay in project approval process and withdrawal risk. Therefore, in some cases, fiscal policy in four Asian countries was pro-cyclical. The study fiscal impulse showed that before Asian financial crisis of 1997, rapid growth of the Asian economy fiscal impulses were negative, except for Indonesia. After the Asian financial crisis in 1998, fiscal impulse values were positive for Thailand, Malaysia and Singapore indicating that the government used expansionary fiscal policies in order to counter recession; however, it was negative for Indonesia since the government decreased government expenditure to lower its public debt. In the US financial crisis, in 2009, the positive fiscal impulse of Thailand was largest because of the First Stimulus Package, called “Patibudkarn Thai Kem-Kaeng”. Singapore used fiscal policy to help business to whether the external shock. The fiscal impulses were roughly equal for Malaysia and Indonesia. Malaysia adopted the expenditure approach to help the economy while Indonesia used revenue side because of delay in government disbursement. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.374 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | นโยบายการคลัง -- ไทย | en_US |
dc.subject | นโยบายการคลัง -- มาเลเซีย | en_US |
dc.subject | นโยบายการคลัง -- อินโดนีเซีย | en_US |
dc.subject | นโยบายการคลัง -- สิงคโปร์ | en_US |
dc.subject | Fiscal policy -- Thailand | en_US |
dc.subject | Fiscal policy -- Malaysia | en_US |
dc.subject | Fiscal policy -- Indonesia | en_US |
dc.subject | Fiscal policy -- Singapore | en_US |
dc.title | แรงกระตุ้นทางการคลังของ 4 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | en_US |
dc.title.alternative | Fiscal impulse in four Asian countries | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Chairat.A@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.374 | - |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
yada_ro.pdf | 6.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.