Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32878
Title: การวางแผนพื้นที่สีเขียวของเมืองเพื่อบรรเทาผลกระทบทางอุทกวิทยา : กรณีศึกษาเทศบาลเมือง จังหวัดจันทบุรี
Other Titles: Urban green space planning as mitigation measure from hydrological effect : case study the municipality of Chanthaburi province
Authors: พิศุทธ์ วิเชียรฉันท์
Advisors: ดนัย ทายตะคุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Danai.Th@Chula.ac.th
Subjects: อุทกวิทยา
การเกิดเป็นเมือง -- ไทย -- จันทบุรี
นิเวศภูมิทัศน์ -- ไทย -- จันทบุรี
อุทกวิทยาเมือง -- ไทย -- จันทบุรี
Hydrology
Urbanization -- Thailand -- Chanthaburi
Landscape ecology -- Thailand -- Chanthaburi
Urban hydrology -- Thailand -- Chanthaburi
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความเป็นเมือง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบและลักษณะทางกายภาพของภูมิทัศน์ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมให้ตอบสนองต่อการอยู่อาศัยของมนุษย์ ในขณะที่กระบวนการทางอุทกวิทยา (Hydrological process) ซึ่งเป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในภูมิทัศน์ ยังคงดำเนินตามวิถีทางเดิม จึงได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงนี้ เช่น การตัดหน้าดิน การถมดิน หรือการเปลี่ยนแปลงความชันของผืนดิน ทำให้ทางน้ำและลักษณะการไหลเปลี่ยนไป การวิจัยนี้จึงศึกษาหาวิธีการเพื่อการวางแผนภูมิทัศน์ ให้เกิดความสัมพันธ์ของสองกระบวนการนี้ ด้วยเป้าหมายเพื่อการบรรเทาผลกระทบที่มีต่อกระบวนการทางอุทกวิทยา โดยมีกรณีศึกษาตัวอย่างคือ บริเวณเทศบาลเมืองจันทบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบปัญหาอุทกภัยแทบทุกปี จากปริมาณฝนตกเฉลี่ยมากถึง 3,900 มม. ในจำนวนวันที่ตกเฉลี่ย 162 วันต่อปี การศึกษานี้เสนอแนะวิธีการเพื่อการวางแผนภูมิทัศน์ ขั้นแรก-ขั้นตอนการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ ถึงกระบวนการทางอุทกวิทยาที่สัมพันธ์กับภูมิทัศน์ โดยมีเครื่องมือ ระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศ (GIS) ในการวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างแผนที่ผนวกกับ การประยุกต์ใช้วิธีการจากพื้นฐานวิชาอุทกวิทยา เช่น การสร้างแผนภูมิชลภาพ เพื่อศึกษาคุณลักษณะทางอุทกวิทยาของพื้นที่ โดยผลการวิเคราะห์พบความไม่สอดคล้องกันระหว่างรูปแบบการไหลกับองค์ประกอบต่างๆ ที่ปรากฏในภูมิทัศน์เมือง เช่น เส้นทางถนนและอาคารที่ขวางเส้นทางการไหลของน้ำ ประกอบกับลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ศึกษาที่เป็นแอ่งกระทะ เหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาการระบายน้ำของพื้นที่ศึกษา และจากการศึกษาคุณลักษณะในบทบาทเชิงพื้นที่ พบว่า พื้นที่ศึกษานี้ยังคงมีพื้นที่ที่มีโอกาสพัฒนา เพื่อรองรับผลกระทบจากกระบวนการทางอุทกวิทยาได้ ฉะนั้น ในขั้นที่สอง-ขั้นตอนการวางแผนภูมิทัศน์ จึงใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้างต้น เพื่อกำหนดตำแหน่งและลักษณะของพื้นที่สีเขียวที่เกิดขึ้น ให้เป็นแนวทางสู่การออกแบบภูมิทัศน์ ที่มีบทบาทรองรับผลกระทบจากกระบวนการทางอุทกวิทยา อีกทั้งยังเป็นโอกาสเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เกิดขึ้นในพื้นที่ศึกษาอีกด้วย
Other Abstract: Urbanization causes changes in elements and physical characteristics of landscape. It affects hydrological patterns and process which is a part of natural system by changing topography of the landscape which effectively change drainage pattern and flow direction. This research intend to lay the ground work for building a method of landscape planning to build the coherence between urbanization and hydrological process using the municipality of Chanthaburi province as a case study. The first step of the method is a spatial analysis of landscape’s hydrological patterns and functions in term of hydrological zone classification and characterization using GIS. The results of the analysis found an incongruence of drainage patterns and urban landscape elements and patterns, and the topographical characteristic (low elevation basin) of study areas are the factors of hydrological characteristics of study areas. Also, this study indicated potential areas for hydrological mitigation and management. The second step of the method is integrating the areas for hydrological mitigation and management with an opportunity to develop the areas as green spaces. As a result, the areas for hydrological mitigation and management can be simultaneously developed with the integration of the building of green space for the areas.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิสถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32878
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.960
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.960
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pisoot_vi.pdf9.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.