Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3310
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนราทิพย์ ชุติวงศ์en_US
dc.contributor.authorชนิกานต์ ภู่สว่าง, 2518-en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2007-01-07T04:14:27Zen_US
dc.date.available2007-01-07T04:14:27Zen_US
dc.date.issued2543en_US
dc.identifier.isbn9741307659en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3310en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en_US
dc.description.abstractศึกษาถึงวิธีการที่สถานประกอบการเลือกตอบสนองต่อวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2540 และศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกแนวทางในการปรับตัวของสถานประกอบการที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งในการศึกษาได้สำรวจสถานประกอบการเฉพาะหมวดอุตสาหกรรมการผลิตที่คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และวิเคราะห์ผลโดยใช้แบบจำลองมัลติโนเมียลโลจิต การศึกษาครั้งนี้พบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่เลือกตอบสนองด้วยการปรับทางด้านแรงงานเป็นหลักซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.43 ของจำนวนสถานประกอบการที่สำรวจทั้งหมด โดยแบ่งเป็น การปรับทางด้านจำนวนแรงงานร้อยละ 30.43 และปรับทางด้านชั่วโมงการทำงานคิดเป็นร้อยละ 25.00 นอกจากนี้ มีสถานประกอบการที่เลือกตอบสนองต่อวิกฤตโดยการปรับทางด้านผลผลิตคิดเป็นร้อยละ 29.35 ของสถานประกอบการรวม ทั้งนี้มีสถานประกอบการเพียงร้อยละ 7.61 ที่เลือกตอบสนองต่อวิกฤตโดยการปรับทางด้านราคา ผลจากการใช้แบบจำลองมัลติโนเมียลโลจิตเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลในการกำหนดการเลือกแนวทางการปรับตัว พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลในการกำหนดการเลือกแนวทางการปรับทางด้านจำนวนแรงงานอย่างมีนัยสำคัญได้แก่ สัดส่วนต้นทุนแรงงานต่อต้นทุนทั้งหมด และสัดส่วนต้นทุนที่ต้องนำเข้าต่อต้นทุนทั้งหมด ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อการกำหนดการเลือกปรับทางด้านจำนวนชั่วโมงการทำงานได้แก่ ทุนจดทะเบียน ประเภทอุตสาหกรรม และสัดส่วนต้นทุนเครื่องจักรต่อต้นทุนทั้งหมด สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกปรับทางด้านผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญได้แก่ ทุนจดทะเบียน ประเภทอุตสาหกรรม สัดส่วนต้นทุนทางด้านแรงงานต่อต้นทุนทั้งหมด สัดส่วนต้นทุนที่ต้องนำเข้าต่อต้นทุนทั้งหมด และสัดส่วนผลผลิตที่ส่งออกต่อผลผลิตทั้งหมด โดยสรุป ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีการตอบสนองต่อการเกิดวิกฤตโดยการปรับทางด้านแรงงานซึ่งแสดงให้เห็นว่าต้นทุนในการปรับแรงงานน้อยกว่าต้นทุนจากการปรับทางด้านอื่น ดังนั้น แรงงานจึงเป็นปัจจัยหลักที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงควรมีนโยบายให้ความช่วยเหลือต่อแรงงานอันจะมีส่วนช่วยบรรเทาความรุนแรงจากปัญหาดังกล่าวลงได้en_US
dc.description.abstractalternativeAssesses how the Thai industrial sector responded to the economic crisis of 1997. Analyses the validity of those factors which influenced the decisions industries made to cope with the rapidly changing economic climate. This research surveys manufacturing industries, selected by multi-stage random sampling method, and analyzes data using the multinomial logit model. The outcome indicates that 50.43% of those industries selected chose to reduce their labour force in response to the crisis. Of this 30.43% reduced the total number of employees and 25.00% cut their total production output and 7.61% adjusted the price of their product. Use of the multinomial logit model indicates two main factors which influenced industries to reduce the total number of people in their employ. The first is the ratio of labour costs to total production costs and the second is the ratio of import costs to total production cost. The factor which greatly influenced decisions to reduce the total number of working hours include the amount of registered capital, industry type and the ratio of machinery capital costs to that of total costs. Factors leading to reduced production output include registered capital, industry type, the ratio of labour cost to total costs, ratio of import costs to total production costs and the ratio of exports to total production. In conclusion this research indicates that the majority of industries made adjustments to their labour force to deal with the economic crisis. This then indicates that the cost involved in doing this were less than the costs involved in making adjustments in other areas. It could be suggested therefore that to avoid further exacerbation of the economic crisis government policies should be targeted at employment assistance programs to both lessen and counter the adverse affects the crisis has on the economy.en_US
dc.format.extent1011493 bytesen_US
dc.format.extent1843 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.format.mimetypetext/plain-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2000.397-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวิกฤติการณ์การเงิน -- ไทย -- 2540en_US
dc.subjectอุตสาหกรรมการผลิต -- ไทยen_US
dc.subjectการจัดการอุตสาหกรรม -- ไทยen_US
dc.subjectอุตสาหกรรม -- แง่สังคมen_US
dc.subjectภาวะเศรษฐกิจen_US
dc.subjectการพัฒนาอุตสาหกรรมen_US
dc.subjectไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ -- 2540en_US
dc.titleการปรับตัวของอุตสาหกรรมเพื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงen_US
dc.title.alternativeIndustrial adjustment after economic shocken_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2000.397-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanikan.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.